ประชากรเมียนมากว่า 37.1 ล้านคน ได้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19 แล้ว

กระทรวงสาธารณสุขเมียนมาเปิดเผยว่า ปัจจุบันประชาชนเมียนมาได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 แล้วกว่า 37.1 ล้านคน ประกอบไปด้วยกลุ่นผู้มีอายุ 18 ปีขึ้นไป มากกว่า 30.5 ล้านคน และเป็นกลุ่มผู้มีอายุต่ำกว่า 18 ปี อีก 6.6 ล้านคน โดยกระทรวงสาธารณสุขเมียนมายืนยันกรณีมีผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ ณ วันพุธที่ผ่านมา (28 ก.ย.) จำนวน 381 ราย ทำให้มียอดผู้ป่วยสะสมจำนวน 622,423 คน ในขณะที่ยอดผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 ในประเทศพุ่งถึง 19,457 คน ซึ่งจำนวนผู้ป่วยที่หายจากโรคโควิด-19 ในประเทศมีทั้งหมด 597,671 คน

ที่มา : https://english.news.cn/asiapacific/20220928/a162d0ad44df4a8aa742c973d2f570a4/c.html

กัมพูชาเร่งฉีดวัคซีนให้กับประชนชนครอบคลุมแล้วกว่าร้อยละ 90 ของประชากร

สถิติใหม่จากกระทรวงสาธารณสุขกัมพูชาแสดงให้เห็นว่ากว่าร้อยละ 89.78 ของประชากร 16 ล้านคนของกัมพูชาได้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19 อย่างน้อยหนึ่งโดส ซึ่งยังคงสูงที่สุดในโลก โดยในจำนวนนี้รัฐบาลได้บรรลุเป้าหมายในการฉีดวัคซีนให้กับประชากรกลุ่มผู้ใหญ่จำนวน 10 ล้านคน แล้วร้อยละ 102.08 ของเป้าหมาย ส่วนในกลุ่มผู้เยาว์อายุระหว่าง 12-17 ปี จำนวนเกือบ 2 ล้านคน ได้รับวัคซีนเกือบครบเต็มจำนวน ในขณะที่กลุ่มอายุระหว่าง 6-12 ปี และ 3-5 ปี รัฐบาลกัมพูชาได้ฉีดวัคซีนบรรลุเป้าหมายไปแล้วกว่าร้อยละ 106.05 และร้อยละ 106.88 ตามลำดับ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501021130/almost-90-percent-of-cambodian-received-covid-jabs/

เวียดนามเร่งฉีดวัคซีนโควิดรับปลดล็อกดาวน์ปลายเดือนนี้

กระทรวงสาธารณสุขของเวียดนาม ระบุว่า สามารถฉีดวัคซีนให้ประชาชนในกรุงฮานอยได้มากกว่า 1 ล้านคนในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา คิดเป็นเกือบ 20% ของจำนวนวัคซีนทั้งหมดที่ฉีดในกรุงฮานอยตั้งแต่เดือนมี.ค. ทั้งนี้ นาย”ชู ง็อก อันห์” นายกเทศมนตรีกรุงฮานอย กล่าวว่า ทางการจำเป็นต้องเร่งการฉีดวัคซีนเพื่อที่จะสามารถเปิดธุรกิจต่าง ๆ ได้อีกครั้ง จนถึงตอนนี้ ประชากรในกรุงฮานอยประมาณ 80% จากทั้งหมด 5.7 ล้านคน ได้รับวัคซีนโควิดอย่างน้อยหนึ่งโดส และทางการหวังว่าตัวเลขคนฉีดวัคซีนจะเพิ่มขึ้นเป็น 100% ภายในสัปดาห์นี้

ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/world/959943

ชาวเวียดนามแห่กักตุนสินค้า ก่อนล็อกดาวน์เข้ม

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า กระทรวงสาธารณสุขของเวียดนามรายงานสถิติผู้ป่วยโรคโควิด-19 สะสมในประเทศอย่างน้อย 348,059 คน เพิ่มขึ้น 11,346 คน นับเป็นวันที่ 4 ติดต่อกันแล้ว ซึ่งเวียดนามรายงานผู้ป่วยยืนยันมากกว่าวันละ 10,000 คน โดยชาวเวียดนามแตกตื่นกักตุนอาหารและของใช้ที่จำเป็น ก่อนที่นครโฮจิมินห์จะเข้าสู่มาตรการล็อกดาวน์ในวันวันจันทร์ ที่ 23 ส.ค 64 และมีประชาชนบางส่วนเร่งเดินทางออกจากเมือง โดยสถานีโทรทัศน์ VTV รายงานว่าประชาชนจำนวนมากต่อแถวเพื่อซื้อสินค้า ขณะที่ห้างสรรพสินค้าหลายแห่งสินค้าหมดเกลี้ยง

ที่มา : https://www.naewna.com/inter/596875

กระทรวงสาธารณสุขสปป.ลาวแนะประชาชนควรเฝ้าระวัง COVID -19 ต่อไปถึงแม้ยอดผู้ติดเชื้อจะต่ำ

กระทรวงสาธารณสุขของสปป.ลาวเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่และประชาชนทั่วประเทศปฏิบัติตามแนวทางของรัฐบาลต่อการป้องกันการแพร่ระบาด COVID -19 การปฏิบัติตามมาตรการป้องกันอย่างต่อเนื่องเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการควบคุม COVID -19 อย่างมีประสิทธิภาพ คณะกรรมการงานแห่งชาติเพื่อการป้องกันและควบคุม COVID -19 แนะนำให้ประชาชนอย่านิ่งนอนใจหลังจากผู้ป่วย COVID -19 รายสุดท้ายออกจากโรงพยาบาลเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ทุกคนควรปฏิบัติตามมาตรการของรัฐบาลที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมไวรัสต่อไป โดยเฉพาะพื้นที่ตามแนวชายแดนของสปป.ลาวที่ติดกับไทย เวียดนาม เมียนมาร์และจีน ซึ่งปัจจุบันการแพร่ระบาดยังอยู่ในระดับที่น่ากังวล ทำให้พื้นที่ชายแดนจำเป็นต้องปฏิบัติตามมาตรการที่กำหนดอย่างเคร่งครัด

ที่มา : https://www.thestar.com.my/aseanplus/aseanplus-news/2021/01/19/low-numbers-but-laos-health-ministry-urges-continued-vigilance-against-covid-19

มหาชัยพบแรงงานเมียนมาติดเชื้อโควิด กว่า 1,700 คน

จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขประเทศไทย พบแรงงานเมียนมากว่า 1,700 คนติดเชื้อโควิด -19 ในอำเภอมหาชัย จังหวัดสมุทรสาคร จนถึงวันที่ 3 มกราคม 64 สมุทรสาครมีผู้ป่วยกว่า 1,900 คนในจำนวนนี้เป็นแรงงานต่างชาติชาวเมียนมามากกว่า 1,700 คน มหาชัยมีประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวเมียนมาและมีเพียง 10% เท่านั้นที่เป็นคนไทย ขณะนี้มีการกักตัว การตรวจสอบที่เข้มงวดรวมถึงการห้ามเดินทางระหว่างจังหวัด มีแรงงานเมียนมากว่า 4,000 คนติดอยู่ในจังหวัดสมุทรสาคร ทั้งนี้จะอนุญาตจะให้แรงงานเมียนมาที่ไม่มีเอกสารได้รับการตรวจสุขภาพอีกด้วย จากรายงานของบางกอกโพสต์ไทยวางแผนที่จะตรวจเชื้อโควิด -19 ในแรงงานเมียนมาประมาณ 10,000 คนและตอนนี้กำลังมีแผนจะเพิ่มจำนวนเป็นประมาณ 40,000 คน จากข้อมูลขององค์กรช่วยเหลือบางแห่งระบุว่าแรงงานเมียนมากำลังเผชิญกับการถูกเลือกปฏิบัติในและบางส่วนถูกไล่ออกจากงาน

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/mahachai-sees-over-1700-myanmar-migrant-workers-infected-with-covid-19

รัฐบาลสปป.ลาวผ่อนปรนมาตรการป้องกัน COVID-19

รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขรองศาสตราจารย์ดร. Bounkong Syhavong ในนามของคณะกรรมการแห่งชาติเพื่อการป้องกันและควบคุม COVID-19 ให้รายละเอียดเกี่ยวกับการประกาศใหม่ที่ออกโดยสำนักนายกรัฐมนตรีในงานแถลงข่าวในเวียงจันทน์เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา โดยในรายละเอียดระบุไว้ว่ารัฐบาลจะมีการผ่อนปรนให้กิจกรรมต่างๆเริ่มกลับมาดำเนินการได้ เช่นกีฬาต่างๆ คาสิโน การชุมนุมทางสังคมบางอย่างจะได้รับอนุญาตให้ดำเนินการต่อภายใต้การตัดสินใจของรัฐบาล หรือกิจกรรมต่างๆ โดยประกาศจะมีผลนับตั้งแต่ 1 ถึง 31 กรกฎาคม ในขณะที่ด่านชายแดนรัฐบาลได้ตัดสินใจที่จะปิดการข้ามชายแดนแบบต่อไปอย่างไรก็ตามการขนส่งสินค้ายังสามารถทำได้นอกจากนี้รัฐบาลจะระงับวีซ่านักท่องเที่ยวประเทศที่สถานการณ์ COVID-19 ยังมีการระบาดต่อไป

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Govt125.php

เขตซะไกง์ประกาศเคอร์ฟิว 10:00 น. ถึง 04:00 น.

ประชาชนในเขตซะไกง์จะไม่อนุญาตให้ออกจากบ้านระหว่างเวลา 22.00 น. ถึง 04.00 น. แต่อนุญาตให้ออกไปสถานที่สำคัญ เช่น การซื้ออาหารหรือรักษาพยาบาล เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการป้องกันการระบาดของ COVID-19 ตามเมื่อประกาศ 13 เมษายน 2563 หากละเมิดกฎเหล่านี้จะดำเนินคดีโดยทันที ทั้งนี้ยังไม่ให้ประชาชนฉลองเทศกาลตะจาน (ปีใหม่ของเมียนมา) และหลีกเลี่ยงการชุมนุมโดยไม่มีเหตุผล เขตซะไกง์เป็นหนึ่งในเขตที่มีประชากรแรงงานอพยพสูงสุด ตามรายงานสถานการณ์ของ COVID-19 ของกระทรวงสาธารณสุขระหว่างวันที่ 31 มกราคมถึงวันที่ 11 เมษายน 2563 มีแรงงานกว่า 17,000 คนถูกกักตัวจำนวน 6,889 ซึ่งไม่ชัดเจนว่าตัวเลขเหล่านี้รวมถึงผู้ที่ถูกกักกันที่บ้านหรือไม่

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/sagaing-imposes-10pm-4am-curfew.html

กระทรวงสาธารณสุขร่วมหน่วยงานรัฐหาแนวทางปฏิรูประบบสุขภาพ

กระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานภาครัฐอื่น ๆ ได้จัดประชุมระดมสมองเรื่องร่างยุทธศาสตร์การปฏิรูประบบสุขภาพระยะที่ 3 ขึ้นเพื่อให้ประชาชนทุกกลุ่มชาติพันธุ์สามารถเข้าถึงการรักษาพยาบาลได้ โดยการจัดประชุมดังกล่าวเพื่อส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่ทุกคนที่เกี่ยวข้องแบ่งปันความคิดเกี่ยวกับกลยุทธ์การปฏิรูปสุขภาพเพื่อให้ครอบคลุมทุกเรื่องที่เกี่ยวข้องมากที่สุด รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขกล่าวว่า “การปฏิรูประบบสุขภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อตอบสนองต่อความกังวลของรัฐบาลและสมัชชาแห่งชาติต่อสถานะสุขภาพของประชาชนสปป.ลาว ถึงการเข้าถึงบริการที่ดีด้วยต้นทุนและคุณภาพที่เหมาะสม” นอกจากการปฎิรูปบุคลากรร่วมถึงระบบการให้บริการที่ดี ยังมีเรื่องของสิ่งอำนวยความสะดวกด้านสุขภาพจะได้รับการกระจายไปทั่วประเทศอย่างเพียงพอต่อความต้องการ ในระยะยาวของการปฏิรูประบบสุขภาพคือการสร้างระบบที่มีประสิทธิภาพเพื่อสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าสำหรับประชาชนทั้งหมดและสร้างหลักประกันสุขภาพที่ดีให้กับประชาชนสปป.ลาว

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Ministry.php