การขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิงในเมียนมาร์ทำให้ต้นทุนการขนส่งสินค้าพุ่งสูงขึ้น

จากการสำรวจต้นทุนการขนส่งสินค้าจากคนขับรถบรรทุก และพ่อค้า พบว่าต้นทุนการขนส่งเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องมาจากความท้าทายในการจัดหาเชื้อเพลิง แม้ว่าค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้าระหว่างย่างกุ้งและพะสิมจะเพิ่มขึ้น ในขณะเดียวกันต้นทุนระหว่างย่างกุ้งและฮีนตาดายังคงทรงตัว อย่างไรก็ดี ปัญหาดังกล่าวได้ส่งผลต่อต้นทุนการขนส่งสินค้า โดยเฉพาะสินค้าเกษตร เช่น การขนส่งอ้อยจากรัฐฉานไปยังย่างกุ้งมีค่าใช้จ่ายระหว่าง 130-170 จ๊าดต่อ viss ขึ้นอยู่กับระยะทาง ในทางกลับกันการจัดส่งสินค้าที่เน่าเสียง่าย เช่น กะหล่ำปลีและมะเขือเทศมีราคาอยู่ที่ 200 จ๊าดต่อ viss เพื่อการจัดส่งที่รวดเร็วค่าใช้จ่ายในการขนส่งหัวหอมจากมยี่นชานไปยังย่างกุ้งได้เพิ่มขึ้นเป็น 155 จ๊าดต่อ viss เพื่อการจัดส่งที่รวดเร็ว ในทางกลับกันการขนส่งหัวหอมจากเซะพยูไปยังย่างกุ้งจะมีราคาอยู่ที่ 120 จ๊าดต่อ viss สำหรับการจัดส่งแบบมาตรฐาน นอกจากนี้ ค่าใช้จ่ายในการขนส่งพริกจากย่างกุ้งไปยังเมียวดี เพิ่มขึ้นอย่างมากจาก 175 จ๊าดต่อ viss เป็น 550 จ๊าดต่อ viss เนื่องจากมีการปิดถนน และมีสิ่งกีดขวางถนนตลอดเส้นทาง ทำให้มีเพียงยานพาหนะขนาดเล็กเท่านั้นที่สามารถผ่านสถานการณ์ดังกล่าวได้ ส่งผลให้มีข้อจำกัดในรอบการจัดส่งพริก

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/fuel-shortage-drives-commodity-transport-costs-upsurge/

‘การท่าเรือเวียดนาม’ ชี้ 10 เดือนแรกปีนี้ ปริมาณขนส่งสินค้าผ่านท่าเรือฟื้นตัว

กรมเจ้าท่าเวียดนาม (VMA) เปิดเผยว่าในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2566 มีปริมาณการขนส่งสินค้าผ่านท่าเรือเวียดนาม มากกว่า 624.55 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยปริมาณการส่งออกสินค้าลดลงเล็กน้อย 1% แต่การนำเข้ามีการเติบโตที่แข็งแกร่งราว 5%

ทั้งนี้ ในช่วงเดือน ม.ค.-ก.ย. ปริมาณการขนส่งสินค้าที่ผ่านท่า 565 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 3% การส่งออก 132 ล้านตัน ลดลง 1% ในขณะที่การนำเข้า 165 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 5%

ที่มา : https://en.nhandan.vn/vietnams-seaport-throughput-rebounds-in-10-months-post130835.html

กัมพูชา พร้อมเปิดท่าอากาศยานนานาชาติ เสียมเรียบ-อังกอร์

สนามบินนานาชาติ เสียมเรียบ-อังกอร์ (SAI) พร้อมเปิดดำเนินการเที่ยวบินเชิงพาณิชย์อย่างเป็นทางการในวันนี้ (16 ต.ค.) หลังผ่านการทดสอบในขั้นตอนที่จำเป็นต่างๆ โดยสนามบินนานาชาติ SAI มีสะพานเทียบเครื่องบิน 38 แห่ง และสามารถรองรับผู้โดยสารได้ 7 ล้านคนต่อปี หรือคิดเป็น 65,800 เที่ยวบินต่อปี ซึ่งคาดว่าในปี 2040 เป็นต้นไปจะสามารถรองรับผู้โดยสารได้ถึง 12 ล้านคนต่อปี หรือเพิ่มขึ้นเป็น 112,700 เที่ยวบินต่อปี

นอกจากนี้ สนามบินสามารถรองรับการขนส่งสินค้าทางอากาศได้ถึง 10,000 ตันต่อปี และจะเพิ่มขึ้นเป็น 26,000 ตันต่อปีหลังปี 2040 สำหรับการก่อสร้างสนามบินดังกล่าวเริ่มขึ้นในเดือนมีนาคม 2020 ด้วยเม็ดเงินลงทุนประมาณ 1.1 พันล้านดอลลาร์ โดย Angkor International Airport Investment (Cambodia) Co., Ltd.

ขณะที่สำนักเลขาธิการการบินพลเรือนแห่งรัฐบาลกัมพูชา ได้รายงานถึงปริมาณผู้โดยสารทางอากาศในช่วง 8 เดือนแรกของปีที่มีกว่า 3.4 ล้านคน เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 180 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับภาคการท่องเที่ยวถือเป็นหนึ่งในสี่เสาหลักที่สำคัญ ในการสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจของกัมพูชา โดยกระทรวงการท่องเที่ยวได้ระบุว่าในช่วงปี 2019 ก่อนเกิดสถานการณ์โควิด กัมพูชาให้การต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติมากถึง 6.61 ล้าน สร้างรายได้เข้าประเทศถึง 4.92 พันล้านดอลลาร์

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501376475/siem-reap-angkor-intl-airport-to-start-official-commercial-operation-today/