เรือคอนเทนเนอร์จำนวน 50 ลำมีกำหนดเทียบท่าในเดือนพฤศจิกายน

การท่าเรือเมียนมาระบุว่า เรือคอนเทนเนอร์ทั้งหมด 50 ลำ มีกำหนดจะมาถึงในเดือนพฤศจิกายนที่ท่าเรือย่างกุ้ง ในปีนี้ท่าเรือย่างกุ้งรองรับเรือคอนเทนเนอร์ไปแล้วทั้งหมด 620 ลำ โดยมีเรือคอนเทนเนอร์ที่เดินทางมาถึงท่าเรือย่างกุ้ง 52 ลำ ในเดือนมกราคม 51 ลำ ในเดือนกุมภาพันธ์ 55 ลำ ในเดือนมีนาคม 50 ลำ ในเดือนเมษายน 56 ลำ ในเดือนพฤษภาคม 57 ลำ ในเดือนมิถุนายน 53 ลำ ในเดือนกรกฎาคม 54 ลำ ในเดือนสิงหาคม 53 ลำ ในเดือนกันยายน และ 49 ลำ ในเดือนตุลาคม ซึ่งการค้าทางทะเลถือเป็นร้อยละ 75 ของการค้าต่างประเทศของเมียนมา ทั้งนี้ ตามคำแถลงของการท่าเรือเมียนมาเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2565 หลังจากพบช่องทางเดินเรือใหม่ (Kings Bank Channel) ที่เข้าถึงแม่น้ำย่างกุ้งตอนใน และมีการเร่งดำเนินงานขยายร่องน้ำ ทำให้ท่าเรือสามารถรองรับเรือขนาดใหญ่ได้แล้ว โดยมีเรือคอนเทนเนอร์ (LOA 185.99 เมตร, Beam 35.25 เมตร, 29,232 GRT และ 2,698 TEU) SITC Shipping Line จากฮ่องกงเข้าเทียบท่าที่ท่าเทียบเรือ Asia World Port เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน ซี่งนับเป็นเรือที่ใหญ่ที่สุดที่ท่าเรือ (Asia World Port Terminal : AWPT) รองรับ โดยก่อนหน้านี้ เรือขนาดใหญ่ประสบปัญหาไม่สามารถแล่นในแม่น้ำย่างกุ้งได้ ทำให้ร่องน้ำถูกขยายออกไปไกลถึง 10 เมตร เพื่อให้เรือเดินสมุทรขนาดใหญ่สามารถเข้าสู่ท่าเรือทีละวาได้

อย่างไรก็ดี ชายฝั่งของเมียนมามีความยาว 2,228 กิโลเมตร (1,260 ไมล์ทะเล) รวมถึงแนวชายฝั่งยะไข่ (713 กิโลเมตร) พื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำ (437 กิโลเมตร) และแนวชายฝั่งตะนาวศรี (1,078 กิโลเมตร) ซึ่งทอดยาวจากชายแดนบังกลาเทศตอนเหนือไปจนถึงพื้นที่ชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย นอกจากนี้ยังมีท่าเรือตามแนวชายฝั่งทั้งหมด 10 แห่ง ได้แก่ ท่าเรือย่างกุ้ง ท่าเรือน้ำลึกทีละวา ท่าเรือน้ำลึกเจ้าผิวก์ ท่าเรือซิตตเว ท่าเรือตานต่วย ท่าเรือปะเตง ท่าเรือมะละแหม่ง ท่าเรือน้ำลึกทวาย ท่าเรือเมก และท่าเรือก้อตาว (เกาะสอง) อย่างไรก็ตาม ท่าเรือย่างกุ้ง รวมทั้งท่าเทียบเรือน้ำลึกทีละวาเป็นท่าเรือระหว่างประเทศเพียงแห่งเดียว และท่าเรือที่เหลือใน 8 เมือง ถูกกำหนดให้เป็นท่าเรือภายในประเทศเท่านั้น

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/fifty-container-vessels-scheduled-to-call-in-november/#article-title

ส่งออกทางทะเลของเมียนมาผ่านท่าเรือย่างกุ้งเพิ่มมากขึ้น

ตั้งแต่เดือนตุลาคมเป็นต้นไป ฤดูมรสุมได้สิ้นสุดลงการค้าระหว่างประเทศของเมียนมาผ่านทางทะเล ณ ท่าเรือย่างกุ้งกลับสู่ภาวะปกติและพบว่าปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้น โดยพบว่ามีเรือทั้งหมด 23 ลำ จอดที่ท่าเรือย่างกุ่งเมื่อวานนี้ (17 ตุลาคม 2565) ส่วนใหญ่เมียนมานำเข้าปุ๋ยต่างๆ เสื้อผ้าและสิ่งทอ ยาและเวชภัณฑ์ อาหาร อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักร วัสดุก่อสร้าง และโพลิโพรพิลีน ส่วนการส่งออกจะประกอบไปด้วยผลิตภัณฑ์ทางทะเล เสื้อผ้าสำเร็จรูป พืชผล ผลิตภัณฑ์จากป่า และยาง โดยใช้เรือคอนเทนเนอร์ในการขนสินค้า ปัจจุบันประเทศส่งออกสินค้าจะใช้เรือขนส่งสินค้าทั่วไปจำนวน 15 ลำ รวมถึงเรือบรรทุกข้าว 3 ลำ และเรือบรรทุกข้าวโพด 4 ลำไปยังกลุ่มประเทศอาเซียนและยุโรป นอกจากนี้ เรือที่ใช้บรรทุกปุ๋ย ซีเมนต์ เครื่องจักรหนัก น้ำมันเชื้อเพลิง และน้ำมันประกอบอาหาร ยังเทียบท่าที่ท่าเรือติละวาและท่าเรือย่างกุ้ง

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/myanmars-maritime-export-volumes-via-yangon-port-increase/

 

การค้าทางทะเลของเมียนมา พุ่งขึ้น ! 2.27 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

กระทรวงพาณิชย์เมียนมา เผย มูลค่าการค้าทางทะเลตั้งแต่วันที่  1 ต.ค.2564 ถึงวันที่ 18 มี.ค.2565 ของงบประมาณย่อย ปี 2564-2565 อยู่ที่ 11.59 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 2.275 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จาก 9.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยเป็นการส่งอออก 5.17 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และการนำเข้า 6.416 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งในปีงบประมาณ 2563-2564 ที่ผ่านมา การค้าทางทะเลสร้างรายได้ 19,800 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากมูลค่าการค้าโดยรวมทั้งหมดของประเทศที่ 29,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ มีสินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ สินค้าเกษตร ผลิตภัณฑ์ประมง แร่ธาตุ ปศุสัตว์ ผลิตภัณฑ์จากป่า สินค้าอุตสาหกรรมสำเร็จรูป และผลิตภัณฑ์อื่นๆ ส่วนการนำเข้า ได้แก่ สินค้าทุน สินค้าอุปโภคบริโภค และวัตถุดิบอุตสาหกรรม ปัจจุบันเมียนมามีท่าเรือ 9 แห่ง โดยท่าเรือย่างกุ้งเป็นประตูสู่การค้าทางทะเลของประเทศ

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/30-march-2022/#article-title

ครึ่งปีแรกการค้าทางทะเลเมียนมา ลดฮวบ 4.3 พันล้านดอลลาร์

กระทรวงพาณิชย์เผยมูลค่าการค้าทางทะเลของเมียนมาในช่วงครึ่งปีแรก (1 ต.ค. -2 เม.ย. ) ของปีงบประมาณ 63-64 เหลือ 10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐลดลงอย่างมากถึง 4.3 พันล้านดอลลาร์เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ในขณะเดียวกันมูลค่าการค้าชายแดนอยู่ที่ 5.6 พันล้านดอลลาร์ลดลง 264 ล้านดอลลาร์เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เป็นผลจากการระบาดของ COVID-19 ที่ประเทศเพื่อนบ้านเพิ่มความเข้มงวดมาตรการป้องกันตลอดชายแดน สำหรับการค้าทางทะเลหยุดชะงักในภาคโลจิสติกส์การหยุดเดินเรือบางส่วนและการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์รวมถึงการขาดเงินหมุนเวียนเนื่องจากการปิดธนาคารเอกชน โดยการค้าภายโดยรวมของประเทศแตะระดับต่ำที่ 15.78 พันล้านดอลลาร์งลดลง 20.36 พันล้านดอลลาร์เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งการค้าทางทะเลสร้างรายได้ 26,000 ล้านดอลลาร์จากมูลค่าการค้าโดยรวมที่ 36,000 ล้านดอลลาร์ในช่วงปีงบประมาณ 62-63 เมียนมาส่งออกสินค้าเกษตร สินค้าประมง แร่ธาตุ ปศุสัตว์ สินค้าจากป่า สินค้าอุตสาหกรรมสำเร็จรูป และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ในขณะเดียวกันก็นำเข้าได้แก่สินค้าทุน สินค้าอุปโภคบริโภค และวัตถุดิบทางอุตสาหกรรม

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/maritime-trade-drops-by-4-3-bln-in-h1/

ปีงบฯ 63-64 การค้าทางทะเลเมียนมามา ลดฮวบ 2.28 พันล้านดอลลาร์ฯ

มูลค่าการค้าทางทะเลของเมียนมาตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 63 ถึง 12 กุมภาพันธ์ 64 ในปีงบประมาณ 2563-2564 มีมูลค่า 7.997 พันล้านดอลลาร์สหรัฐลดลงอย่างมากเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้วกว่า 2.28 พันล้านดอลลาร์  ในขณะที่การส่งออกมีมูลค่า 3.28 พันล้านดอลลาร์ การนำเข้าอยู่ 4.7 พันล้านดอลลาร์ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปีงบประมาณ 62-63 การนำเข้าลดลง 1.53 พันล้านดอลลาร์ในขณะที่การส่งออกลดลง 751 ล้านดอลลาร์ ในขณะเดียวกันมูลค่าการค้าผ่านชายแดนปีงบประมาณนี้อยู่ที่ 3.9 พันล้านดอลลาร์ลดลง 56 ล้านดอลลาร์เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว สาเหตุหลักๆ คือ ผลกระทบจาก COVID-19 โดยเฉพาะมาตรการในการเข้มงวดของประเทศเพื่อบ้านและการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ส่งผลให้อัตราค่าขนส่งในเมียนมาร์เพิ่มขึ้นเป็นเกือบสามเท่าทำเกิดความล่าช้า การค้าระหว่างประเทศโดยรวมมีมูลค่าถึง 11.987 พันล้านดอลลาร์ฯ ซึ่งลดลงจาก 14.3 พันล้านดอลลาร์ฯ จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว สถิติของกระทรวงพาณิชย์ระบุ การค้าทางทะเลของเมียนมาสร้างรายได้ 26,000 ล้านดอลลาร์จากมูลค่าการค้าโดยรวมที่ 36,000 ล้านดอลลาร์ในช่วงปีงบประมาณ 62-63 ที่ผ่านมา ส่วนใหญ่ส่งออกสินค้าเกษตร ประมง แร่ธาตุ ปศุสัตว์ สินค้าจากป่า สินค้าอุตสาหกรรมสำเร็จรูป และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ในขณะเดียวกันก็นำเข้าสินค้าทุน สินค้าอุปโภคบริโภค และวัตถุดิบทางอุตสาหกรรม ปัจจุบันมีท่าเรือ 9 แห่ง มีท่าเรือย่างกุ้งเป็นประตูหลักสำหรับการค้าทางทะเลของเมียนมา รวมถึงอาคารผู้โดยสารชั้นในของย่างกุ้งและท่าเรือติลาวาชั้นนอก

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/maritime-trade-decreases-by-2-28-bln-in-2020-2021fy/#article-title

2 สัปดาห์การค้าทางทะเลเมียนมาพุ่ง 880 ล้านเหรียญสหรัฐ

รายรับจากการส่งออกทางทะเลสูงถึง 880 ล้านเหรียญสหรัฐ ในช่วง 2 สัปดาห์แรกของปีงบประมาณ 62-63 สูงกว่าเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้วอยู่ที่ 17 ล้านเหรียญสหรัฐ ตั้งแต่วันที่ 1 ถึง 11 ต.ค. ปีนี้มีรายรับ 877.283 ล้านเหรียญสหรัฐจากการค้าทางทะเลสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 859.598 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนใหญ่ส่งออกสินค้าเกษตร ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ผลิตภัณฑ์ทางทะเล ผลิตภัณฑ์จากป่า ผลิตภัณฑ์แร่ แร่ สินค้าอุตสาหกรรมสำเร็จรูป (CMP) และอื่น ๆ เพื่อลดการขาดดุลการค้ากระทรวงพาณิชย์ใช้มาตรการต่าง ๆ เช่น การนำแผนยุทธศาสตร์การส่งออกแห่งชาติ มาตรการผ่อนคลาย การสนับสนุนภาคเอกชน รับ GSP และขยายตลาดส่งออก ในปี 61-62 คาดว่ามูลค่าการส่งออกทั้งหมดจะสูงถึง 15.3 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อสิ้นปีมูลค่าการส่งออกสูงถึง 17 พันล้านเหรียญสหรัฐมากกว่า 473.218 ล้านเหรียญสหรัฐเมื่อเทียบกับปีก่อน

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/about-880m-earned-from-maritime-trade-in-two-week-this-fy