‘เวียดนาม’ เผยยอดขายรถยนต์ เดือน ก.ค. โตเล็กน้อย

สมาคมผู้ผลิตรถยนต์เวียดนาม (VAMA) เปิดเผยว่าในเดือน ก.ค. มียอดขายรถยนต์ 24,687 คัน เพิ่มขึ้น 4% จากเดือนที่แล้ว ในขณะเดียวกัน ยอดขายรถยนต์ในเดือน มิ.ย. อยู่ที่ 23,800 คัน เพิ่มขึ้น 15% จากเดือนก่อน โดยยอดขายรถยนต์ที่จำหน่ายในเดือนที่แล้ว พบว่ายอดขายรถยนต์นั่ง มีจำนวนทั้งสิ้น 19,221 คัน เพิ่มขึ้น 11% ตามมาด้วยรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 5,318 คัน ลดลง 16% และรถยนต์เฉพาะกิจ 148 คัน เพิ่มขึ้น 21% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า (MoM) อย่างไรก็ดี ยอดขายของสมาชิกสมาคมฯ ในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ มีปริมาณการขายรถยนต์ทุกประเภท อยู่ที่ 162,014 คัน ลดลง 30% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยมียอดขายรถยนต์นั่ง รถยนต์เพื่อการพาณิชย์และรถยนต์เฉพาะกิจ ลดลง 34%, 13% และ 63% ตามลำดับ

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/vietnams-automobile-sales-slightly-grow-in-july-post1039353.vov

ความต้องการมะเขือเทศสูงแม้ราคาดิ่ง

จากรายงานของผู้ค้าส่งมะเขือเทศใน Thiri Marlar Wholesale Center ของเมืองมัณฑะเลย์ เผย แม้ความต้องการมะเขือเทศยังคงพุ่งสวนทางกลับราคาที่ดิ่งลง สังเกตได้จากรถบรรทุกระหว่าง 15 ถึง 20 คัน วิ่งมาถึงศูนย์ค้าส่งต่อวัน ปัจจุบัน แม้ว่าราคามะเขือเทศจะอยู่ระหว่าง 2,000 จัต เป็น 2,500 จัต ต่อกล่อง ขณะที่อัตราการติดเชื้อโควิด-19 ลดลง สิ่งที่ผู้ค้าต้องการคือการผ่อนปรนมาตรการในตลาด ซึ่งจะส่งผลดีต่อผู้ซื้อและผู้ขาย ตลาด Thiri Marlar เป็นแหล่งซื้อขายผัดสดทุกประเภท โดยจะรับมะเขือเทศที่ปลูกจากเมืองอินเล, เมืองหยั่วหงั่น และเมืองเมเมียว มาเพื่อจำหน่าย

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/demand-for-tomatoes-high-despite-prices-slump/#article-title

เกษตรกรปลื้ม พ่อพันธุ์แม่พันธุ์ไก่ออกไข่ได้ราคาดี

ผู้เลี้ยงไก่จังหวัดหมื่นบู้ เขตมะกเว เปิดเผยว่ายอดขายไข่ไก่เพิ่มขึ้นเนื่องจากสถานการณ์ COVID-19 ที่เริ่มควบคุมสถานการณ์ได้ดีขึ้น โดยราคาเพิ่มขึ้นตามคาดของไข่ เล็ก กลาง และใหญ่ เป็น 180, 200 และ 220 จัตต่อฟองจากเดิม 80, 100 และ 120 จัตต่อหนึ่งฟอง ในส่วนการเลี้ยงพ่อพันธุ์แม่พันธุ์มีกาไรน้อยลงเนื่องจากต้นทุนสูงขึ้น นอกจากนี้ ยังต้องเจอกับปัญหาพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ไก่ล้มตาย จากสภาพอากาศแปรปรวน อีกทั้งราคาอาหารไก่ก็สูงขึ้นเช่นกัน ทั้งนี้ในแต่ละหมู่บ้านมีฟาร์มไก่ 3-4 แห่ง เป็นฟาร์มที่เลี้ยงในครัวเรือนในขณะที่บางรายเลี้ยงแบบเกษตรพันธสัญญาร่วมกับบริษัทต่างชาติ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/poultry-breeders-get-good-price-of-eggs/

โควิดแรง ชาวบ้านแห่ซื้อของห้างเพิ่ม30% พาณิชย์ยันไม่ต้องตื่นกักตุน

กรมการค้าภายใน เผย จากสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ยังมีความรุนแรงมากขึ้น ทำให้ในช่วงวันหยุดที่ผ่านมีประชาชนจับจ่ายใช้สอยเพิ่มขึ้น โดยนิยมซื้อสินค้าในร้านโชห่วยหรือร้านสะดวกซื้อใกล้บ้าน ส่วนห้างค้าปลีกค้าส่งขนาดใหญ่จะซื้อสินค้าในกลุ่มอาหาร ซอสปรุงรส อุปกรณ์ประกอบอาหาร และของใช้ในชีวิตประจำวันเพิ่ม 20%-30% ซึ่งมีการเตรียมสต๊อกสินค้าไว้เพียงพอ ขณะที่สินค้าจำเป็น เช่น หน้ากากอนามัย และเจลแอลกอฮอล์ล้างมือยังคงมีปริมาณเพียงพอสามารถจัดส่งได้ตามปกติ นอกจากนี้ยังขอความร่วมมือให้ขายหน้ากากอนามัยไม่เกินกว่าราคาที่กำหนด และขอมั่นใจว่าปริมาณสินค้ามีเพียงพอไม่จำเป็นต้องกักตุน

ที่มา: https://www.dailynews.co.th/economic/842356

GIZ ทำข้อตกลงกับกระทรวงสิ่งแวดล้อมเพื่อเพิ่มการบริโภคที่ยั่งยืนในสปป.ลาว

Deutsche Gesellschaft für Internationale Zusammenarbeit (GIZ) ลงนามกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อให้เงินสนับสนุนทางเทคนิคจำนวน 600,000 ยูโรสำหรับการบริโภคที่ยั่งยืน โครงการ“ การบริโภคและการผลิตอย่างยั่งยืนในเอเชีย: The Next Five” (SCP) เป็นโครงการระดับภูมิภาคที่ได้รับทุนจากกระทรวงสิ่งแวดล้อมการอนุรักษ์ธรรมชาติและคณะกรรมการความปลอดภัยนิวเคลียร์ของเยอรมนีโดยร่วมมือกับกรมควบคุมมลพิษของประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนรัฐบาลของสปป.ลาว กัมพูชา เวียดนาม เมียนมาร์และภูฏานในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกผ่านการผลิตและบริการที่ยั่งยืนและการบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม งบประมาณทั้งหมดสำหรับห้าประเทศคือ 5 ล้านยูโรโดยมีระยะเวลาโครงการสามปีสปป.ลาว คาดว่าโครงการนี้จะนำไปสู่การปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้องของสปป. ลาวโดยเฉพาะกฎหมายว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างสาธารณะ (ฉบับที่ 030 / NA) ซึ่งออกเมื่อวันที่ 2 2 พฤศจิกายน 2560) ซึ่งระบุไว้ในข้อ 4 วรรค 3 ว่ารัฐบาลส่งเสริมการจัดซื้อจัดจ้างสาธารณะที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_GIZ39.php

ตลาดกัมพูชายังไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการพืชผักภายในประเทศได้

รายงานการปลูกผักในกัมพูชามีการเพาะปลูกเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก แต่ประเทศกลับไม่สามารถยุติการนำเข้าได้เนื่องจากการบริโภคในท้องถิ่นนั้นมีปริมาณที่มากกว่าการผลิต โดยกระทรวงและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมดกำลังทำงานร่วมกันเพื่อสร้างแรงจูงใจและส่งเสริมให้เกษตรกรในพื้นที่เพาะปลูกผักเพิ่มขึ้นให้เพียงพอต่อความต้องการภายในประเทศ ซึ่งในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาแรงผลักดันของการปลูกผักทั่วกัมพูชาเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญสู่ 60,000 เฮกตาร์ โดยการเก็บเกี่ยวผักภายในประเทศกัมพูชาอยู่ที่ 640,000 ตันต่อปี ในขณะที่ความต้องการผักของอยู่ที่ประมาณ 850,000 ตันต่อปี โดยความพยายามในการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรในกัมพูชายังคงเป็นความท้าทาย แต่กระทรวงและรัฐบาลจะยังคงดำเนินการต่อไปเพื่อเอาชนะปัญหาทั้งหมดเพื่อช่วยให้เกษตรกรเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตตามลำดับ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50787580/vegetable-planting-up-but-not-yet-feeding-local-demand-in-full/

ส่งออกตลาดของขวัญปี 62 มูลค่า 2.4 หมื่นล้านบาท ติดลบ 3%

มูลค่าตลาดสินค้าของขวัญ ของชำร่วย ตลาดส่งออกมูลค่ากว่า 2.4 หมื่นล้านบาท ปี 62 คาดว่าจะเติบโตติดลบ 3% จากเดิมวางเป้าหมายการเติบโตไว้ที่ 2% จาก 4 ปัจจัยสำคัญ คือ 1.อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ เงินบาทไทยแข็งค่าขึ้นกว่า 23% โดยตลาดส่งออกสำคัญ สินค้าของขวัญฯ คือ ญี่ปุ่น และ สหรัฐอเมริกา 2. การถดถอยของ เศรษฐกิจโลก และตลาดหลัก อันได้แก่ สหรัฐ อเมริกา ญี่ปุ่น จีน และสหภาพยุโรป 3.ต้นทุนการผลิตที่แพงขึ้น และ 4. ขีดความสามารถในการแข่งขันที่ลดลง ในหลายประเภท สินค้าที่ต้องพึงพาแรงงานฝีมือ และแรงงานฝีมือหายไปจากตลาด อย่างไรก็ตามในปีหน้า ผู้ประกอบการธุรกิจในอุตสาหกรรมฯ จะต้องปรับตัวให้ทันต่อกระแสการเปลี่ยนแปลของโลกการซื้อในยุคใหม่ รวมถึงภาครัฐต้องส่งเสริมสนับสนุน อย่างต่อเนื่องในอุตสาหกรรมนี้ .ช่วยเหลือให้ผู้ประกอบเข้าถึงแหล่งทุนเพื่อเพื่อใช้ในการ Tranformation องค์กร สำหรับตลาดของขวัญในประเทศ มีมูลค่าประมาณ 4 หมื่นล้านบาท โดยในปี 62 คาดเติบโตลดลง ขณะที่ ภาครัฐควรมีมาตรการกระตุ้นออกอย่างต่อเนื่องและเข้าถึงง่าย เช่น โครงการชิ้มช้อปใช้กระเป๋า 2 ซึ่งหากมีการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความเข้าใจในประชาชนให้ใช้มากขึ้น คาดจะสามารถกระตุ้นให้ใช้จ่ายมากขึ้นได้ สำหรับเทรนด์สินค้าของขวัญที่คาดว่าจะได้รับความนิยม คือ 1.ตะกร้าของขวัญ กิฟต์เซ็ท 2. สินค้าเพื่อสุขภาพ ทุกหมวดหมู่ 3.ของเครื่องใช้ กระเป๋า เครื่องแต่งกาย เครื่องประดับ และ 4. ไอที และอุปกรณ์อื่นๆ นอกจากนี้ ในปีหน้าสินค้าที่คาดว่าจะได้รับความนิยมหรือมาแรง คือ ถุงผ้า จากความต้องการของตลาดและผู้บริโภค ภายใต้นโยบายเลิกใช้ถุงพลาสติก ปัจจุบัน สมาคมของขวัญฯ มีผู้ประกอบการธุรกิจในอุตสาหกรรมฯนี้ กว่า 3,000 ราย และเป็นสมาชิกกับสมาคมของขวัญของชำร่วยไทยและของตบแต่งบ้าน ประมาณ 350 ราย โดยในช่วง 3 เดือนสุดท้ายปีนี้ มีผู้ประกอบการเพิ่มเข้ามาอีกเกือบเท่าตัว โดยส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการธุรกิจเอสเอ็มอี

ที่มา: https://www.posttoday.com/economy/sme/609127

เนื้อหมูขึ้นราคา ทำให้ต้นทุนอาหารพุ่งสูงขึ้น

ราคาเนื้อหมูปรับตัวสูงขึ้น เป็นผลจากการระบาดของโรคไข้หวัดหมูแอฟริกา ส่งผลให้แนวโน้มราคาอาหารขยับเพิ่มขึ้นในซูเปอร์มาร์เก็ตและภัตตาคาร โดยจากแหล่งสำรวจของสำนักข่าวเวียดนาม “VnExpress” เปิดเผยว่าราคาผลิตภัณฑ์เนื้อหมูซูเปอร์มาร์เก็ตและร้านอาหารในนครโฮจิมินห์ ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 5-25 ตัวอย่างเช่น ราคาไส้กรอกเนื้อหมูเพิ่มขึ้นจาก 120,000 ด่องต่อกิโลกรัม (5.2 ดอลลาร์สหรัฐ) ขยับมาเป็น 150,000 ด่องต่อกิโลกรัม (6.5 ดอลลาร์สหรัฐ) เป็นต้น ประกอบกับราคาข้าวและก๋วยเตี๋ยวที่มีส่วนประกอบจากเนื้อหมูก็มีต้นทุนเฉลี่ยอยู่ที่ 30,000 ด่อง ซึ่งทางเจ้าของร้านอาหารในนครโฮจิมินห์ กล่าวว่าไม่สามารถขึ้นราคาได้อีกแล้ว ดังนั้น จึงจำเป็นต้องสรรหาเนื้อหมูที่มีขนาดเล็กลง และหาซัพพลายเออร์ที่ราคาถูกลง ทั้งนี้ จากสำนักงานสถิติแห่งชาติ (GSO) ระบุว่าราคาเนื้อหมูปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 19 ในช่วงตั้งแต่เดือนพ.ย. ปีที่แล้ว และอาจเพิ่มขึ้นอีกในสิ้นปีนี้ รวมถึงคาดว่าจะขาดแคลนเนื้อหมูกว่า 200,000 ตัน

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/pork-price-hikes-drive-up-related-food-costs-406471.vov