เมียนมาส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปไปตุรกี

จากการหารือส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูป การจัดทำหลักสูตรฝึกอบรมสำหรับแรงงาน การลงทุน งานแสดงสินค้าระหว่างสองประเทศและการส่งเสริมภาคการค้า ระหว่างรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์และเอกอัครราชทูตตุรกีประจำเมียนมาเมื่อต้นเดือนธันวาคม การส่งออกเครื่องนุ่งห่มและสิ่งทอ ข้าว ถั่ว และข้าวโพดเพิ่มเป็น 4 เท่าภายใน 5 ปี มูลค่าของการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูป CMP (Cutting, Making, Packing) อยู่ที่ 325 ล้านเหรียญสหรัฐตั้งแต่วันที่ 1 ถึง 25 ตุลาคมของปี 62-63 อย่างไรก็ตามการส่งออกปีที่ผ่านมามีมูลค่ามากกว่า 287 ล้านเหรียญสหรัฐ รายได้ต่อปีจากระบบ CMP ประมาณ 300 ล้านเหรียญสหรัฐ ตลาดส่งออกหลักคือญี่ปุ่นและยุโรป นอกจากนี้ยังมีตลาดในเกาหลีใต้ จีน และสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันมีโรงงานเสื้อผ้ามากกว่า 400 แห่ง ด้วยค่าแรงที่ต่ำสามารถดึงดูดการลงทุนจากผู้ผลิตต่างประเทศ

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/myanmars-apparel-exports-to-surge-to-turkey

เวียดนามเผยยอดส่งออกผลิตภัณฑ์ไม้เกินกว่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในช่วงเดือนตุลาคม

จากข้อมูลของกรมศุลกากรเวียดนาม เปิดเผยว่าเวียดนามส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้มากกว่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในช่วงเดือนตุลาคมของปีนี้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยรองประธานสมาคมหัตถกรรมและแปรรูปไม้นครโฮจิมินห์ (Hawa) ระบุว่าเป็นครั้งแรกที่มีมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์ไม้ที่สูงกว่ามาตรฐานที่ตั้งไว้ ประกอบกับรัฐบาลได้ป้องกันการทุจริตว่าด้วยเวียดนามส่งออกสินค้าไปยังต่างประเทศ ดังนั้น ตลาดส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์ไม้คาดว่าจะสดใส ในช่วงเดือนสุดท้ายของปีนี้ อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการไม้แปรรูปยังคงต้องตื่นตัวต่อปัญหาการทุจริตในการส่งออกผลิตภัณฑ์ไม้และไม้แปรรูป เพื่อรักษาตลาดสำคัญ ได้แก่ สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา และจีน ทั้งนี้ ในปี 2561 การส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์ไม้เวียดนาม คิดเป็นมูลค่าราว 9 พันล้านเหรียญสหรัฐ

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/wood-and-wood-product-exports-exceed-1-billion-usd-in-october-406728.vov

รายได้จากการส่งออกทางทะเลมากกว่า 110 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในรอบเดือนนี้

เมียนมามีรายรับมากกว่า 110 ล้านเหรียญสหรัฐจากการส่งออกสินค้าทางทะเลในช่วงเวลาหนึ่งเดือนของปีงบประมาณนี้มากกว่า 18 ล้านเหรียญสหรัฐเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันก่อน ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.ถึง 8 พ.ย.ในปี 62-63 มูลค่าการส่งออกทางทะเล 114.582 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในขณะที่ปีที่แล้วมีมูลค่า 95.949 ล้านเหรียญสหรัฐฯ :ซึ่งมากกว่า 18.578 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปัจจุบันปริมาณของสินค้าทางทะเลรวมถึง ปลา และกุ้งส่งออกน้อยกว่าของประเทศเพื่อนบ้าน ดังนั้นจำเป็นต้องปรับปรุงระบบการทำฟาร์มมากกว่าการใช้วิธีจับตามธรรมชาติ ด้วยความร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญจากอินโดนีเซีย ไต้หวัน และจีน กำลังสร้างฟาร์มปลา โรงงานอาหารปลา และโรงงานห้องเย็นโดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยเป้าหมายในการสร้างรายได้สูงถึง 3 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยมีแผนที่จะให้สินเชื่อ SME เพื่อช่วยในการจัดหาพื้นที่ฟาร์มเพาะพันธุ์ปลาและกุ้ง

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/over-110-m-earned-from-marine-export-in-a-month

เวียดนามตั้งเป้ายอดส่งออกข้าว 6.5 ล้านตัน ภายในปี 2562

จากข้อมูลของสมาคมอาหารเวียดนาม (VFA) คาดว่าจะส่งออกได้ 6.5 ล้านตัน ในปี 2562 โดยประเทศจีนเป็นตลาดส่งออกข้าวรายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม ประกอบกับเวียดนามส่งออกไปยังกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน เฉลี่ยอยู่ที่ 2 ล้านตันต่อปี คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 30 ของยอดส่งออกข้าวรวมทั้งสิ้น ถึงแม้ว่าเวียดนามจะมีส่วนแบ่งการตลาดสูงและมีขนาดตลาดใหญ่ แต่ในช่วงตั้งแต่ปี 2561 มีแนวโน้มลดต่ำลง เนื่องมาจากกฎระเบียบทางด้านคุณภาพสินค้า และข้อกำหนดทางด้านเทคนิคที่เข็มงวด ด้วยเหตุนี้ จึงต้องหันมาส่งออกไปยังตลาดอื่น ทั้งนี้ จากข้อมูลของกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าเวียดนาม (MoIT) ระบุว่าในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ เวียดนามส่งออกข้าวไปยังประเทศจีน ลดลงร้อยละ 67 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ถึงแม้ว่าสถานการณ์การส่งออกข้าวลดลงก็ตาม แต่คาดว่าในปีนี้ จะสามารถส่งออกข้าวรวมตรงตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/rice-exports-set-to-reach-65-million-tonnes-during-2019-406267.vov

การเกินดุลการค้าไตรมาสที่ 3 ในสปป.ลาว

สปป.ลาวมียอดเกินดุลการค้า 178 ล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วง 9 เดือนแรกของปี มูลค่าการส่งออกและนำเข้ารวมของสปป.ลาวใน Q3 ของปี 62 สูงถึง 8,582 ล้านดอลลาร์สหรัฐหรือ 76% ของตัวเลขที่ได้รับอนุมัติจากรัฐสภา มีการเพิ่มขึ้น 41% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว มูลค่าการส่งออกมีมูลค่าถึง 4,380 ล้านดอลลาร์สหรัฐหรือ 79.4% ของแผน และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 5,516 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งการนำเข้ามีมูลค่า 4,202 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่มีแนวโน้มสูงถึง 5,775 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ภาคอุตสาหกรรมและหัตถกรรมมียอดขาย 8,968 พันล้านกีบหรือ 73.5% ของตัวเลขเป้าหมาย เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้วเพิ่มขึ้น 19.8% และมีแนวโน้มสูงถึง 12,306 พันล้านกีบหรือ 99% ของจำนวน 12,386 พันล้านกีบ รายได้จากอุตสาหกรรมแปรรูปและงานฝีมือลดลง การผลิตไฟฟ้าซึ่งเป็นสินค้าส่งออกหลักได้รับผลกระทบจากฤดูแล้ง ประมาณ 23,641 ล้านกิโลวัตต์ต่อชั่วโมง สร้างมูลค่ามากกว่า 11,600 ล้านกีบหรือ 70% ของ 33,875 พันล้านกีบที่ได้รับอนุมัติจากสมัชชาแห่งชาติ ลดลงร้อยละ 5.17 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว รัฐบาลคาดว่าการส่งออกไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้นในปีนี้เนื่องจากโรงงานใหม่เริ่มเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ มูลค่าการส่งออกแร่ธาตุอยู่ที่ 8,080 พันล้านกีบหรือ 68% ตัวเลขเป้าหมายและคาดว่าจะลดลง

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/laos-registers-trade-surplus-q3-108042

เวียดนามคาดว่ายอดส่งออก 217.05 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2562

จากข้อมูลของกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าเวียดนาม (MoIT) เปิดเผยว่าเวียดนามส่งออกประมาณ 217.05 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2562 หากคิดเป็นสัดส่วนอยู่ที่ร้อยละ 82.5 ของยอดเป้าในการส่งออกของปีนี้ ซึ่งได้บรรลุเป้าที่มีการขยายตัวร้อยละ 7-8 ในปีนี้ โดยสินค้า 29 กลุ่มที่มีการส่งออกมากกว่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และอีก 5 รายการสินค้าที่มีรายได้มากกว่า 10 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ได้แก่ โทรศัพท์มือถือและส่วนประกอบ รองลงมาสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เสริม, เครื่องแต่งกาย, รองเท้า และเครื่องจักรและอุปกรณ์ เป็นต้น หากคิดเป็นสัดส่วนรวมร้อยละ 59.4 ของยอดมูลค่าการส่งออกรวม ทั้งนี้ อัตราดังกล่าวในปีนี้ เวียดนามมีการขาดดุลการค้าติดต่อกัน 4 ปี แล้วในปีนี้กลับมาเกินดุลการค้าอีกครั้ง

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/vietnams-exports-estimated-at-21705-bln-usd-in-10-months-406026.vov

สินค้าเวียดนามมีส่วนแบ่งการตลาดกว่า 200 ประเทศทั่วโลก

จากรายงานของอุตสาหกรรมและการค้าเวียดนาม (MoIT) เปิดเผยว่าเวียดนามส่งออกเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ทั้งในแง่ของขนาดตลาด และโครงสร้างสินค้าสำคัญ ในปัจจุบันเวียดนามส่งออกสินค้าไปยังตลาดต่างประเทศกว่า 200 ประเทศทั่วโลก ประกอบกับความต้องการของตลาดที่มีความหลากหลาย ซึ่งข้อกำหนดสินค้าที่มีความเข็มงวด และมาตรฐานของผลิตภัณฑ์สูง ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ เป็นต้น ทั้งนี้ มีการจัดอันดับการส่งออกระดับโลก พบว่าในปี 2550 เวียดนามอยู่ในอันดับที่ 50 ของโลก และในปี 2561 เวียดนามขยับอันดับดีขึ้นที่ 26 ของโลก โดยในช่วง 10 เดือนแรกของปีนี้ สหรัฐอเมริกายังคงเป็นตลาดส่งออกรายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม เป็นผลมาจากนโยบายที่สนับสนุนในการกระจายส่งออกสินค้าไปยังประเทศจีน อาเซียน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ อย่างไรก็ตาม การกระจายส่งออกสินค้าในหมวดสินค้าเกษตรและประมงยังอยู่ในระดับไม่สูงนัก เนื่องมาจากความผันผวนของตลาด ที่มา : https://english.vov.vn/economy/vietnamese-goods-enjoy-market-share-in-200-countries-worldwide-406023.vov

ฉาน สันติภาพและใบชา

ในบรรดาสินค้าเกษตรมากมายของเมียนมาใบชามีศักยภาพสูงในตลาดส่งออกเพราะเป็นพืชอินทรีย์ที่ปลูกได้เองตามธรรมชาติ อย่างไรก็ตามการเชื่อมโยงกับความขัดแย้งในรัฐฉานซึ่งเป็นหนึ่งในพื้นที่ปลูกหลักสำหรับการเพาะปลูก หากหยุดการสู้รบการส่งออกชาจะเพิ่มขึ้นอย่างมาก เพราะการไม่ต้องใช้สารเคมีดังนั้นจึงมีข้อได้เปรียบมากมาย พื้นที่ส่วนใหญ่ที่ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งและเป็นสาเหตุที่ไม่สามารถขอใบรับรองได้ ตลาดส่งออกสำคัญคือจีน ซึ่งสวนชา 80 แห่งในตั้งอยู่ในพื้นที่ที่ไม่มั่นคงทำให้ต้นทุนการผลิตจึงสูงกว่าในประเทศอื่น ๆ มีพื้นที่เพาะปลูกประมาณ 8900 เฮคเตอร์ทั่วประเทศ  52 ตันถูกส่งออกไปจีน ไม่นานมานี้ผู้ปลูกชาเข้าร่วมในงาน China-ASEAN Expo ครั้งที่ 16 ซึ่งใบชาแห้งและเปียกได้รับความสนใจจากผู้ร่วมงานเป็นอย่างมาก ทั้งจีนไม่ได้ให้ความสำคัญกับการรับรองคุณภาพและถือเป็นข้อได้เปรียบของเมียนมา ปัจจุบันมีการส่งออกไปยังไต้หวัน ไทย เกาหลีใต้ และสิงคโปร์ แต่ตลาดที่ใหญ่ที่สุดยังคงเป็นจีน ดังนั้นสันติภาพในรัฐฉานเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับภาคการผลิตชา เมียนมาจึงต้องการความสงบสุขอย่างเร็วที่สุด

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/shan-states-peace-and-tea-leaves.html

เวียดนามเผยปริมาณการส่งออกข้าวเพิ่มขึ้น แต่ยอดมูลค่ากลับลดลง

จากข้อมูลของกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทเวียดนาม (MARD) เปิดเผยว่าในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2562  เวียดนามส่งออกข้าวกว่า 5.2 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 2.24 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยมีปริมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.9 แต่มูลค่ากลับลดลงร้อยละ 9.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งประเทศฟิลิปปินส์เป็นตลาดส่งออกรายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม มีการบริโภคข้าวเกือบ 1.76 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 720 ล้าน ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในขณะที่ ราคาข้าวเฉลี่ยในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ ลดลงร้อยละ 13.8 คิดเป็นราคาอยู่ที่ 435 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน และทางหน่วยงานเกษตรกรรมฟิลิปปินส์มีการเสนอให้ใช้ภาษีนำเข้าข้าวในการปกป้องผู้ประกอบการในประเทศ โดยมีอัตราภาษีนำเข้าข้าวอยู่ที่ร้อยละ 30-65 ส่งผลกระทบต่อผู้ส่งออกข้าวเวียดนามในอนาคตข้างหน้า อย่างไรก็ตาม ตลาดญี่ปุ่นกำลังพิจารณาที่จะนำเข้าข้าวในกลุ่มประเทศสมาชิก CPTPP เช่น เวียดนาม นอกจากนี้ เวียดนามเล็งเห็นโอกาสในการขยายตลาดไปยังแอฟริกาและตะวันออกกลางอีกด้วย

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/536522/rice-export-volume-up-but-value-falls.html#m6XyQo0ATOuAqIYj.97

เวียดนามเผยยอดมูลค่าการส่งออกผักผลไม้ 2.53 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

จากข้อมูลของสำนักงานเกษตรกรรมแปรรูป และการส่งเสริมการตลาด (Agrotrade) ภายใต้กระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทเวียดนาม (MARD) เปิดเผยว่าในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2562 มูลค่าการส่งออกผักผลไม้ของเวียดนามอยู่ที่ 2.53 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 5.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งตั้งแต่เดือนมกราคมไปจนถึงเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ประเทศจีนยังคงเป็นผู้นำเข้าผักผลไม้รายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 70.5 ของมูลค่าการส่งออกผักผลไม้ของเวียดนามโดยรวม ด้วยมูลค่า 1.65 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 5.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว รองลงมาสหรัฐอเมริกาที่มีการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.5 ด้วยมูลค่า 84.07 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และเกาหลีใต้ ตามลำดับ นอกจากนี้ ทางด้านสำนักงานเกษตรแปรรูปฯ (Agrotrade) คาดว่าสถานการณ์การส่งออกจะเผชิญกับอุปสรรคมากมาย เนื่องมาจากความไม่แน่นอนของภาวะเศรษฐกิจโลก ความตึงเครียดของสงครามการค้าสหรัฐฯ-จีน ซึ่งส่งผลให้เกิดความไม่มั่นใจของการค้าและการลงทุน เป็นต้น

ที่มา : https://en.nhandan.com.vn/business/item/7908002-fruit-veg-exports-reach-us$2-53-billion-in-eight-months.html