กัมพูชากำลังมองหาเที่ยวบินตรงไปยังญี่ปุ่น

เจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาลญี่ปุ่นได้เรียกร้องให้มีการเพิ่มเที่ยวบินตรงระหว่างกัมพูชาและประเทศในเอเชียตะวันออก โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวเรียกร้องให้สายการบินในประเทศเพิ่มเที่ยวบินตรงที่เชื่อมต่อเมืองต่างๆในประเทศญี่ปุ่นกับกรุงพนมเปญและเสียมราฐ ซึ่งเป็นที่ตั้งของศูนย์โบราณคดีอังกอร์ ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวอันดับต้นๆของประเทศ โดยกล่าวในงาน Japan Travel Fair ครั้งที่ 3 ที่จัดขึ้นที่กรุงพนมเปญซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นการกระชับความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวระหว่างประเทศ ซึ่งในช่วงเก้าเดือนแรกของปีกัมพูชาให้การต้อนรับนักท่องเที่ยวจากญี่ปุ่นเกือบ 150,000 คน เพิ่มขึ้น 3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้วตามข้อมูลของกระทรวง โดยนักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่นชื่นชอบแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม พื้นที่สีเขียวและสังคมที่เป็นระเบียบ ซึ่งรัฐบาลได้ทำงานเพื่อพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวที่มีอยู่ในมณฑลรวมถึงเสียมราฐ, แกบ และแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศในจังหวัดมณฑลคีรี โดยในปี 2559 ออลนิปปอนแอร์เวย์ส (ANA) ในญี่ปุ่นเปิดตัวเที่ยวบินตรงระหว่างสนามบินนานาชาตินาริตะของโตเกียวและสนามบินนานาชาติพนมเปญถือเป็นองค์ประกอบสำคัญในการเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวญี่ปุ่นมายังกัมพูชา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50668681/cambodia-seeks-more-japan-direct-flights/

กัมพูชาขอความช่วยเหลือจากญี่ปุ่นในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่

รัฐบาลกัมพูชาได้ขอให้ญี่ปุ่นร่วมช่วยในการพัฒนาโครงการขนาดใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งและงานสาธารณะภายในประเทศในระหว่างการประชุมรัฐมนตรีขนส่งอาเซียน ครั้งที่ 25 ณ กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม โดยพูดถึงการลงทุนในภาคการก่อสร้างระบบการขนส่งอัตโนมัติหรือ AGT สำหรับเมืองหลวงของกัมพูชาได้ดำเนินการไปอย่างช้าๆส่วนหนึ่งเป็นเพราะขาดเงินทุนในการก่อสร้างจากนักลงทุนในการดำเนินการก่อสร้าง ซึ่งระบบ AGT จะช่วยบรรเทาปัญหาจราจรติดขัดภายในเขตเมือง โดยมีต้นทุนในการก่อสร้างอยู่ที่ประมาณ 800 ล้านเหรียญสหรัฐ รวมถึงรัฐบาลกำลังตั้งสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินเพื่อลดความแออัดภายในเขตเมือง ซึ่งสำนักงานความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JICA) ได้ทำการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ AGT ในขณะที่บริษัทสองแห่งจากจีนกำลังดำเนินโครงการรถไฟฟ้ารางเดี่ยวและรถไฟฟ้าใต้ดินภายในกรุงพนมเปญ โดยประเทศญี่ปุ่นเป็นหนึ่งในผู้ให้ความช่วยเหลือกัมพูชาที่ใหญ่ที่สุด ซึ่งเมื่อปีที่แล้วกัมพูชาได้รับเงินช่วยเหลือจำนวน 135 ล้านเหรียญสหรัฐจากญี่ปุ่นซึ่งอยู่ในรูปของเงินช่วยเหลือและเงินกู้ยืมในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานภายในประเทศกัมพูชา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50662323/assistance-from-japan-sought-as-kingdom-mulls-new-big-ticket-projects/

เมืองคุมาโมโตะของญี่ปุ่นเปิดเส้นทางใหม่สายการบิน สปป.ลาวเพื่อการท่องเที่ยว

เมืองคุมาโมโตะของญี่ปุ่นจะเพิ่มความพยายามในการส่งเสริมการขายสำหรับเส้นทางใหม่ที่เชื่อมต่อเมืองและสปป.ลาวท่ามกลางจำนวนผู้โดยสารที่ใช้สนามบินลดลง สำนักการบินพลเรือนของญี่ปุ่นไฟเขียวในเดือนตุลาคมสำหรับสายการบินสปป.ลาวเพื่อเปิดเส้นทางใหม่สองเส้นทางที่เชื่อมต่อนครหลวงเวียงจันทน์และหลวงพระบางกับเมืองคุมาโมโตะ เส้นทางใหม่จะเปิดตัวในวันที่ 18 มี.ค. 63 ในระหว่างการสัมภาษณ์สื่อมวลชนได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของเส้นทางใหม่สู่สปป.ลาวโดยกล่าวเสริมว่าจะพยายามอย่างดีที่สุดเพื่อดึงดูดผู้มาเยือนจากสปป.ลาว

ที่มา : https://laotiantimes.com/2019/11/20/japans-kumamoto-bets-on-laos-for-tourism-boost/

“ไทยแลนด์พลัสวัน”จับคู่ญี่ปุ่นรุกตลาด CLMV

แนวโน้มเศรษฐกิจในกลุ่มภูมิภาค CLMV เติบโตอย่างรวดเร็ว ประกอบกับต้นทุนค่าจ้างแรงงานยังต่ำ และทรัพยากรประเทศยังคงอุดมสมบูรณ์ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญดึงดูดให้นักลงทุนต่างชาติแห่เข้ามาลงทุนในภูมิภาคนี้กันมากขึ้น โดยจากคำแถลงการณ์ของ “รัฐพล รังสิตพล” อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่าญี่ปุ่นเป็นประเทศพันธมิตรทางเศรษฐกิจที่สำคัญของไทย ในด้านการค้าและการลงทุนอย่างยาวนาน ทั้งนี้ ศูนย์ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งโตเกียว ร่วมมือกระทรวงอุตสาหกรรมจัดงาน The 4th Business Connecting 2019 ในหัวข้อ “ยุทธศาสตร์ไทยแลนด์พลัสวัน สู่ความเป็นไปได้ทางความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการไทยและญี่ปุ่น” ซึ่งเวทีนี้ กำหนดให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางทำธุรกิจในกลุ่มภูมิภาค CLMV ควบคู่ไปกับการขยายฐานการผลิตไปยังกลุ่มประเทศเหล่านี้ ได้เข้ามาตอบโจทย์ความต้องการเรื่องแรงงานในอุตสาหกรรมการผลิตที่มีราคาถูก พื้นที่ที่ตั้งโรงงาน และทรัพยากรธรรมชาติที่ยังคงสมบูรณ์ รวมไปถึงผลิตภัณฑ์ที่ได้รับประโยชน์ ได้แก่ กลุ่มผลิตภัณฑ์ชิ้นส่วนยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ การแปรรูปอาหาร เป็นต้น

ที่มา : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ (Th)

บริษัท ญี่ปุ่นสร้างโรงงานแปรรูปมะม่วงหิมพานต์ในกัมพูชา

บริษัท ท็อปแพลนนิ่งเจแปน จำกัด ประกาศที่จะสร้างโรงงานในประเทศกัมพูชาเพื่อแปรรูปเม็ดมะม่วงหิมพานต์ โดยได้สรุปการศึกษาการลงทุนที่ดำเนินการโดยความช่วยเหลือขององค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (JICA) และได้มีการประชุมกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรของกัมพูชาในกรุงพนมเปญเพื่อหารือเกี่ยวกับการลงทุน ซึ่งจากการศึกษา บริษัท พบว่าเม็ดมะม่วงหิมพานต์ของกัมพูชามีรสชาติดีกว่าในประเทศเวียดนาม อินเดียและแอฟริกา ภายใต้คุณภาพสุขอนามัย มีศักยภาพที่เป็นไปได้ แต่ขาดความทันสมัยในอุตสาหกรรมการผลิตแปรรูปทาง บริษัท จึงต้องการสร้างโรงงานแปรรูปในกัมพูชาที่ปฏิบัติตามมาตรฐานสากล โดยตั้งใจที่จะยกระดับมาตรฐานคุณภาพในภาคการผลิตให้ไปถึงระดับสากล ซึ่งทางรัฐบาลกัมพูชาเองกำลังพัฒนาภาคเกษตรทั้งในด้านคุณภาพ มาตรฐานบรรจุภัณฑ์และปรับปรุงอุตสาหกรรมให้ทันสมัย ตามนโยบายรัฐบาลมีเป้าหมายที่จะผลิตสินค้าเกษตรแปรรูปเพื่อส่งออกร้อยละ 12 ของการส่งออกภายในปี 2568 ซึ่งจากข้อมูลล่าสุดของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ระบุว่ากัมพูชาส่งออกเม็ดมะม่วงหิมพานต์ 169,458 ตัน ไปกว่า 11 ประเทศ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50654880/japanese-firm-to-build-cashew-processing-plant/

ผู้นำธุรกิจสปป.ลาวเริ่มดำเนินโครงการการจัดการของญี่ปุ่น

สถาบันการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ลาว – ​​ญี่ปุ่น เริ่มโครงการ“ keiei-juku” ฝึกอบรมครั้งที่ 3 เพื่อช่วยพัฒนาทักษะของนักธุรกิจสปป.ลาวในการบริหารและการจัดการ โครงการฝึกอบรม keiei-juku ที่ญี่ปุ่นพัฒนาขึ้นเป็นโครงการพัฒนาทักษะการจัดการเฉพาะสำหรับผู้บริหารระดับสูงขององค์กร มีผู้บริหารเข้าร่วม 18 คน โดยเป็นโปรแกรมระยะยาว 6 เดือนประกอบด้วยวิชาบริหารธุรกิจที่สำคัญ ได้แก่ กลยุทธ์การบริหารธุรกิจ กลยุทธ์การจัดการทางการเงิน กลยุทธ์การตลาด การวางแผนพัฒนาธุรกิจ การจัดการทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์ และการประชุมเชิงปฏิบัติการสรุปความสำเร็จแต่ละวิชาจะได้รับการสอนเป็นเวลา 1 เดือน ผู้เข้าร่วมจะต้องเข้าร่วมการบรรยายและการฝึกอบรมเป็นเวลา 1 สัปดาห์ ในช่วงที่เหลือผู้เข้าร่วมจะได้ทำงานที่ได้รับมอบหมายซึ่งใช้บทเรียนที่ได้รับในชั้นเรียนเพื่อการวิเคราะห์และวางแผนธุรกิจที่แท้จริง หลังจากเสร็จสิ้นโปรแกรมผู้เข้าร่วมจะได้ทำการวิเคราะห์อย่างละเอียดและพัฒนาแผนการปรับปรุงที่ครอบคลุมสำหรับบริษัทของพวกเขา หลังจากจบหลักสูตรผู้ฝึกอบรมจะเดินทางไปทัศนศึกษาที่ญี่ปุ่นเป็นเวลา 2 สัปดาห์เพื่อดูว่าระบบดังกล่าวประสบความสำเร็จได้

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/lao-business-leaders-embark-japanese-management-programme-106396

แรงงานที่มีทักษะของเมียนได้รับอนุญาตให้ทำงานในญี่ปุ่นได้นานถึงห้าปี

ภายใต้บันทึกความร่วมมือ (MoC) ระหว่างเมียนมาและญี่ปุ่นลงนามเมื่อวันที่ 28 มีนาคมปีนี้ แรงงานที่มีทักษะจะได้รับอนุญาตให้ทำงานอยู่ในญี่ปุ่นเป็นเวลาห้าปีเพื่อทำงานให้กับ 14 ภาคส่วน เช่น พนักงานดูแลสุขภาพ อาคาร การทำความสะอาด เครื่องจักรและชิ้นส่วนประกอบ อุตสาหกรรมไฟฟ้า ประปา อิเล็กทรอนิกส์ การก่อสร้าง การต่อเรือและเครื่องจักร บำรุงรักษารถยนต์ การบิน บริการโรงแรม การเกษตร การประมง ปศุสัตว์ อาหารและเครื่องดื่ม ทั้งสองประเทศได้ตกลงกันในเรื่องมาตรฐานที่กำหนดสำหรับบริษัทจัดหางานในต่างประเทศ บริษั จัดหางานที่ลงทะเบียนที่กรมแรงงานต้องปฏิบัติตามกฎและมาตรฐานที่กำหนดในการส่งแรงงานฝีมือไปญี่ปุ่น

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/skilled-myanmar-workers-to-be-allowed-up-to-five-year-work-in-japan

เปิดศูนย์กระจายและจัดส่งผักในเมืองกันดาลประเทศกัมพูชา

จังหวัดกันดาลได้เปิดตัวศูนย์การจัดส่งผัก ซึ่งเป็นศูนย์ปฏิบัติการด้านความปลอดภัยของอาหารและจัดหาตลาดสินค้าเกษตรที่ปลอดภัยและมีคุณภาพ โดยศูนย์แห่งนี้เป็นแห่งแรกในประเทศกัมพูชาถูกสร้างขึ้นด้วยเงินบริจาคจากรัฐบาลญี่ปุ่นผ่านโครงการ “Kusanone” มีห้องปฏิบัติการขนาดเล็กเพื่อตรวจสอบสารกำจัดศัตรูพืชเพื่อให้แน่ใจว่าอาหารที่ออกสู่ตลาดมีความปลอดภัย ความหวังคือจะช่วยเผยแพร่วัฒนธรรมเรื่องของความปลอดภัยของอาหารและกลายเป็นสัญลักษณ์ของมิตรภาพระหว่างญี่ปุ่นและกัมพูชา ซึ่งทางรัฐบาลกัมพูชาเน้นย้ำว่าจะดำเนินโครงการปฏิรูปที่ครอบคลุมเพื่อปรับปรุงประเทศให้ทันสมัย ซึ่งอุตสาหกรรมเกษตรในกัมพูชาได้เป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศ โดยจะนำมาตรฐานอุตสาหกรรมชุดใหม่ในภาคการเกษตรมาใช้ในไม่ช้า ที่เรียกกันว่า “CamGap” เพื่อให้เห็นถึงคุณภาพของสินค้าเกษตรในประเทศกัมพูชา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50629110/vegetable-shipping-centre-opens-in-kandal/