‘เวียดนาม’ เผย CPI เดือนส.ค. เพิ่มขึ้น 0.88%

สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ในเดือนส.ค. เพิ่มขึ้น 0.88% เมื่อเทียบเป็นรายเดือน (MoM) หลังได้รับแรงหนุนจากราคาน้ำมัน ข้าวและที่อยู่อาศัยปรับตัวสูงขึ้น ในขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภคในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ เพิ่มขึ้น 3.1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (Core Inflation) เพิ่มขึ้น 4.57%

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1583106/cpi-increases-0-88-per-cent-in-august.html

“เวียดนาม” เผยดัชนี CPI เดือน ม.ค. เพิ่มขึ้น 0.52% ผลจากความต้องการช่วงเทศกาลเต๊ดสูง

สำนักงานสถิติแห่งชาติ (GSO) ระบุว่าในเดือนมกราคม ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของเวียดนาม เพิ่มขึ้น 0.52% เมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา และเพิ่มขึ้น 4.89% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยแรงหนุนมาจากความต้องการของผู้บริโภคที่สูงขึ้นในช่วงเทศกาลเต๊ด (Tet) นอกจากนี้ ราคาสินค้า อาหาร และเครื่องบริโภคยังปรับเพิ่มขึ้นในช่วงเดือนสุดท้ายทางจันทรคติ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับวันหยุดประจำปีที่ยาวนานที่สุด และราคาน้ำมันในประเทศปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงตามราคาน้ำมันตลาดโลก ส่งผลให้ดัชนีสูงขึ้น CPI เพิ่มสูงขึ้น ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในเดือนมกราคมเพิ่มขึ้น 5.21%

ที่มา : https://vietnamnet.vn/en/january-s-cpi-increases-0-52-due-to-high-tet-demand-2104850.html

สนง.สถิติเวียดนาม เผยค่าที่อยู่อาศัยและวัสดุก่อสร้าง พุ่ง

สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนพ.ย.65 ปรับตัวขึ้น 4.37% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยกลุ่มสินค้าและบริการ 2 กลุ่ม ได้แก่ ที่อยู่อาศัยและวัสดุก่อสร้าง เพิ่มขึ้น 0.97% จากเดือนต.ค. ทำให้ดัชนี CPI เพิ่มขึ้น 0.18 จุด ในขณะที่การขนส่งเพิ่มขึ้น 2.23% ทำให้ดัชนี CPI เพิ่มขึ้น 0.22 จุด ทั้งนี้ ในช่วง 11 เดือนแรกของปีนี้ กลุ่มสินค้าและบริการ 8 กลุ่มที่มีราคาสูงขึ้น การขนส่งและที่อยู่อาศัยยังคงเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ดัชนีราคาผู้บริโภคปรับตัวสูงขึ้น เป็นผลมาจากความต้องการสินค้าที่เพิ่มขึ้นและราคาน้ำมันในตลาดโลกที่เพิ่มสูงขึ้น

ที่มา : https://english.thesaigontimes.vn/rising-rent-and-fuel-prices-drive-up-cpi-in-november/

“เวียดนาม” เผย 10 เดือนแรกปี 65 ดัชนีราคาผู้บริโภค ปรับตัวขึ้น 2.89%

สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เพิ่มขึ้น 2.89% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน เพิ่มขึ้น 2.14% สาเหตุสำคัญที่ทำให้ดัชนีราคาผู้บริโภคปรับตัวสูงขึ้นมาจากราคาน้ำมัน อีกทั้ง การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 อยู่ภายใต้การควบคุมแล้ว ผู้คนเริ่มกลับมาทานอาหารที่ร้านอาหาร ส่งผลให้ราคาอาหารนอกบ้าน เพิ่มขึ้น 4.6% ในช่วง 10 เดือนแรกของปีนี้ รวมถึงราคาบ้านและวัสดุก่อสร้างที่ปรับตัวสูงขึ้นเช่นเดียวกัน นอกจากนี้ อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในช่วงเวลาดังกล่าวก็ปรับตัวเพิ่มขึ้น 2.14% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ถือว่าอยู่ในระดับต่ำกว่าการขยายตัวของดัชนีราคาผู้บริโภค (2.89%) บ่งชี้ให้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงของราคาผู้บริโภคส่วนใหญ่มาจากความผันผวนของราคาอาหารและราคาน้ำมัน

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/tenmonth-cpi-increases-289-year-on-year/242941.vnp

“เวียดนาม” เผย 7 เดือนแรกของปี 65 ดัชนี CPI พุ่ง 2.54%

สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (CPI) หรืออัตราเงินเฟ้อทั่วไป เดือนก.ค. 65 เพิ่มขึ้น 0.4% จากเดือนก่อน ส่งผลให้เงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ เพิ่มขึ้น 2.54% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเพิ่มขึ้น 1.44% เมื่อเทียบเป็นรายปี ทั้งนี้ สำนักงาน GSO ชี้ว่าในช่วงระยะเวลาดังกล่าว ราคาน้ำมันปรับตัวเพิ่มขึ้น 49.75% เนื่องจากสามารถควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 และความต้องการในการใช้บริการร้านอาหารจึงเพิ่มสูงขึ้น ทำให้หมวดอาหารบริโภคนอกบ้านเพิ่มขึ้น 3.81% เมื่อเทียบเป็นรายปี ราคาวัสดุบ้านและข้าว เพิ่มขึ้น 7.84% และ 1.15% ตามลำดับ นอกจากนี้ อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในเดือนก.ค. 65 เพิ่มขึ้น 0.58% จากเดือนก่อน และ 2.63% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1272710/cpi-goes-up-2-54-per-cent-in-seven-months-gso.htmll

ผู้เชี่ยวชาญชี้ ควบคุมเงินเฟ้อของเวียดนามให้อยู่ในระดับ 4% เป็นไปได้ยาก

รศ. ดร.ตรัง แถ่ง มหาวิทยาลัยเศรษฐศาสตร์แห่งชาติ (NEU) เปิดเผยว่าเวียดนามมีแนวโน้มที่จะบรรลุเป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจ 6.5% ในปี 2565 แต่การรักษาอัตราเงินเฟ้อให้ต่ำกว่า 4% เป็นไปได้ยาก โดยการเพิ่มขึ้นของราคาพลังงานและสินค้าโภคภัณฑ์ เนื่องมาจากความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับยูเครน ส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตในประเทศ ซึ่งเป็นแรงกดดันเงินเฟ้อของประเทศในปีนี้ ทั้งนี้ ได้ตั้งข้อสังเกตไว้ว่าการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมัน 45% จะทำให้ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เพิ่มขึ้น 0.6% และดัชนีราคาราคาผู้ผลิต (PPI) 2%

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/under4percent-inflation-rate-tough-to-complete-experts/227568.vnp

‘เวิลด์แบงก์’ เผยการเติบโตทางเศรษฐกิจเวียดนาม ปัจจัยหนุนจากการฟื้นตัวของภาคเศรษฐกิจสำคัญ

ตามรายงาน “Vietnam Macro Monitoring” ของเวิลด์แบงก์ (ธนาคารโลก) เปิดเผยว่าเศรษฐกิจเวียดนามในไตรมาส 1/2565 ขยายตัว 5.0% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนมาจากภาคการส่งออกและบริการที่ฟื้นตัว ทั้งนี้ ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือนมี.ค. ขยายตัว 8.5% เมื่อเทียบเป็นรายปี เทียบเท่ากับช่วงก่อนที่จะเกิดการแพร่ระบาดของเชื้อโรค ในขณะการค้าระหว่างประเทศ พบว่าเดือน มี.ค. เวียดนามเกินดุลการค้า 1.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ ท่ามกลางความขัดแย้งของสงครามรัสเซีย-ยูเครน นอกจากนี้ ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เพิ่มขึ้น 2.4% ในเดือนมี.ค. นับเป็นอัตราสูงสุดในรอบ 7 เดือน แต่ถือว่าอยู่ในระดับต่ำกว่าเป้าหมาย (4.0%)

ที่มา : https://en.nhandan.vn/business/item/11407902-vietnam%E2%80%99s-economic-growth-driven-by-good-recovery-of-sectors-wb.html

 

‘สมัชชาแห่งชาติเวียดนาม’ ตั้งเป้าการเติบโตของ GDP ปี 65 โต 6%-6.5%

เมื่อวันที่ 12 พ.ย. สมัชชาแห่งชาติเวียดนาม (NA) พิจารณารับรองแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในปีหน้า ทำให้ต้องปรับประมาณการตัวเลขจีดีพี (GDP) อยู่ที่ 6%-6.5% โดยการลงมติดังกล่าว มีเป้าหมายเพื่อดูแลความปลอดภัยของประชาชนและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ตลอดจนแก้ไขปัญหาในการทำธุรกิจและช่วยเหลือธุรกิจท้องถิ่น ยิ่งไปกว่านั้น เวียดนามต้องใช้ข้อได้เปรียบจากโอกาสทั้งหมด เพื่อพยุงเศรษฐกิจให้กลับมาฟื้นตัวและเป็นแรงขับเคลื่อนในการผลักดันเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ทางสมัชชาแห่งชาติ ได้ตั้งเป้ารายได้ต่อหัวที่ 3,900 เหรียญสหรัฐ, ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) อยู่ที่ระดับ 4% และอัตราการว่างงานในเมืองต่ำกว่า 4%

ที่มา : https://english.thesaigontimes.vn/na-approves-2022-gdp-growth-target-at-6-6-5/