ราคาทองคำในประเทศเมียนมาเกิน 4.3 ล้านจ๊าดต่อ tical

หลังจากที่ราคาทองคำพุ่งขึ้นเหนือ 2,170 เหรียญสหรัฐฯ ต่อออนซ์ และค่าเงินจ๊าดในตลาดอ่อนค่าลงประมาณ 3,740 จ๊าดเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2567 ราคาทองคำในประเทศแตะจุดสูงสุดใหม่ที่ 4.31 ล้านจ๊าดต่อ tical (1 tical = 0.578 ออนซ์ หรือ 0.016 กิโลกรัม) ในขณะเดียวกัน สมาคมผู้ประกอบการทองคำย่างกุ้ง (YGEA) กำหนดราคาอ้างอิงที่ 3.7989 ล้านจ๊าดต่อ tical ซึ่งแสดงถึงช่องว่างระหว่างราคาที่แท้จริงในตลาดกับราคาอ้างอิงกว่า 500,000 จ๊าดต่อ tical อย่างไรก็ดี เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกำลังตรวจสอบสาเหตุของความผันผวนของราคา และกำลังดำเนินคดีตามกฎหมาย ด้วยเหตุนี้ YGEA จึงขอให้ตัวแทนจำหน่ายทำธุรกรรมทองคำให้ต่ำกว่าราคาอ้างอิงที่ตั้งไว้ และหลีกเลี่ยงการเผยแพร่ข่าวเท็จและการบิดเบือนราคา

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/domestic-gold-price-exceeds-k4-3-mln-per-tical/#article-title

ราคาทองคำบริสุทธิ์ในตลาด สูงถึง 3.8 ล้านจ๊าด ต่อ tical

ตามข้อมูลจากตลาดทองคำเมียนมา ราคาทองคำบริสุทธิ์ได้พุ่งขึ้นเป็น 3,800,000 จ๊าดต่อ tical แม้ว่าราคาอ้างอิงสำหรับทองคำบริสุทธิ์ที่กำหนดโดยสมาคมผู้ประกอบการทองคำย่างกุ้ง (YGEA) และราคาทองคำทั่วโลกในปัจจุบันกำลังมีแนวโน้มลดลง ทั้งนี้ ราคาทองคำทั่วโลกอยู่ที่ประมาณ 2,022 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ ในขณะที่อัตราอ้างอิง YGEA สำหรับทองคำบริสุทธิ์อยู่ที่ 3,638,500 จ๊าดต่อ tical ซึ่งมีส่วนต่างกว่า 100,000 จ๊าดระหว่างราคาตลาด (K3,800,000) และราคาอ้างอิง YGEA (K3,638,500) อย่างไรก็ดี YGEA กำหนดราคาทองคำอ้างอิงโดยคำนวณตามอัตราแลกเปลี่ยนออนไลน์ระหว่างธนาคารที่กำหนดโดยธนาคารกลางแห่งเมียนมาก่อนวันที่ 5 ธันวาคม 2566 ซึ่งในขณะนั้นราคาตลาดและราคาอ้างอิง YGEA มีช่องว่างอย่างน้อย 400,000 – 500,000 จ๊าดต่อ tical

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/pure-gold-price-per-tical-reaches-k3-8-mln-in-market/

COVID-19 กระทบการส่งออกทองคำเมียนมา

สมาคมผู้ประกอบการทองคำแห่งภูมิภาคย่างกุ้ง (YGEA) เผย การส่งออกทองคำหยุดชะงักลงเนื่องจากการระบาดของ COVID-19 ส่งผลให้มีการระงับเที่ยวบินระหว่างประเทศ และไม่มีคำสั่งซื้อจากต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการได้มีการเตรียมการส่งออกไว้แล้ว เนื่องจากอัตราการเสียชีวิตและการติดเชื้อ COVID-19  ลดลงอย่างมาก ทำให้การระงับเที่ยวบินระหว่างประเทศถูกยกเลิกตั้งแต่วันที่ 17 เม.ย.65 เป็นต้นไป ซึ่งเมื่อคลายมาตรการการเข้าประเทศ คาดว่าตลาดส่งออกทองคำจะฟื้นตัวขึ้นมาอีกครั้ง นอกจากนี้ การโอนเงินระหว่างประเทศในการซื้อขายทองคำที่มีมูลค่าต่ำกว่า 50,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ จะได้รับอนุญาตให้ใช้ระบบ Telegraph Transfer (TT) ทั้งนี้ตลาดส่งออกทองคำที่สำคัญของเมียนมาคือ ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/covid-19-impacts-stop-gold-exports/#article-title

ความต้องการทองคำของเมียนมาลดลงจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินดอลลาร์ที่อ่อนค่าลง

ราคาทองคำในประเทศทรงตัวที่ระดับ 1.22 ล้านต่อทองคำ 1 บาทเนื่องจากความต้องการที่ลดลงแม้ว่าทั่วโลกราคาทองคำจะเข้าใกล้ระดับ 1,800 เหรียญสหรัฐต่อออนซ์ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบทศวรรษ นี่คือสาเหตุที่ทำให้ผู้ค้าทองคำและนักลงทุนเลือกที่จะถือเงินสดมากกว่าทองคำ อัตราแลกเปลี่ยนเงินดอลล่าร์ร่วงลงมาที่อยู่ที่ 1365จัต/ดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเทียบกับ 1400 จัต/ดอลลาร์สหรัฐ ในเดือนพฤษภาคมและมีผู้ขายมากกว่าผู้ซื้อในตลาด นักลงทุนทองคำจำนวนมากยังเลิกลงทุนในทองคำเนื่องจาก COVID-19 ซึ่งนำไปสู่การสูญเสียงานและการตกต่ำของเศรษฐกิจ ซึ่งตลาดทองคำของเมียนมาลดลงประมาณ 50% หลังจากการระบาดของ COVID-19

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmar-gold-demand-falls-back-lower-dollar-exchange-rate.html