เวียดนามตั้งเป้ายอดส่งออกผักผลไม้ 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2563

จากข้อมูลของสมาคมพืชผักและผลไม้เวียดนาม (VINAFRUIT) เปิดเผยว่ามูลค่าการส่งออกผักและผลไม้ของเวียดนามในปีนี้ อยู่ที่ 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นผลมาจากข้อตกลงการค้าเสรีรูปแบบใหม่ (New Generation FTA) ซึ่งข้อตกลงการค้าเสรี EVFTA คาดว่าจะมีผลบังคับใช้ในปี 63 เรื่องภาษีศุลกากรของผักผลไม้เวียดนามอยู่ในระดับร้อยละ 0 ส่งผลให้ยกระดับมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ ข้อตกลง CPTPP จะเปิดตลาดใหม่ๆแก่ผลิตภัณฑ์เวียดนาม ทั้งนี้ จากข้อมูลของเลขาธิการสมาคม มองว่าพื้นที่เพาะปลูกผักผลไม้ขนาดใหญ่ควรจะต้องติดฉลากเขียว (VietGAP) และมาตรฐานเอกชน (Global GAP) เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของตลาดที่เข็มงวด อย่างไรก็ตาม ตลาดส่งออกสำคัญของเวียดนามที่มีอัตราการขยายตัวสูง ได้แก่ อาเซียน (26.6%), สหรัฐอเมริกา (10.7%) และสหภาพยุโรป (32.2%) เป็นต้น

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnam-targets-5-billion-usd-from-fruit-vegetable-exports-in-2020/167667.vnp

พาณิชย์ เร่งหารือจีน ดันตลาดกลางผลไม้

อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า กรมฯ จะดำเนินการเชื่อมโยงตลาดกลางสินค้าเกษตรที่จำหน่ายผลไม้ในความส่งเสริมของกรมฯ กับตลาดกลางผลไม้ของจีน เพื่อเพิ่มช่องทางการจำหน่ายผลไม้ไทยเข้าสู่ตลาดจีน ซึ่งเป็นการดำเนินการล่วงหน้ารองรับผลไม้ที่กำลังจะออกสู่ตลาด ทั้งลิ้นจี่ ทุเรียน มังคุด เงาะ และลำไย เป็นต้น การเชื่อมโยงตลาดกลางผลไม้ของไทยกับตลาดผลไม้ของจีน จะช่วยให้ผลไม้ไทยมีโอกาสในการส่งออกไปยังจีนได้เพิ่มขึ้น เพราะตลาดที่อยู่ในความส่งเสริมในปัจจุบันประมาณ 20 แห่ง ทั้งนี้กรมฯ มีแผนจะผลักดันให้มีการจัดตั้งศูนย์จัดชั้นคุณภาพสินค้าเกษตร (AGQC) จะให้บริการในด้านต่างๆ เช่น การคัดแยกคุณภาพสินค้า การตรวจสอบสารพิษสารตกค้าง การตรวจสอบโรคพืชและแมลง การบรรจุหีบห่อ และการเก็บรักษาคุณภาพสินค้า สำหรับผลไม้ที่ผ่านการตรวจสอบจากศูนย์ฯ จะได้รับตรา AGQCไปติดไว้ ทำให้ผู้ซื้อเชื่อมั่นได้ว่าเป็นผลไม้ที่ดี มีคุณภาพและไม่ต้องมีการตรวจสอบคุณภาพซ้ำอีกเมื่อสินค้าไปถึงปลายทางลดปัญหาผลไม้ช้ำเสียหาย เพราะเป็นสินค้าที่มีเงื่อนไขเรื่องเวลา การเก็บรักษา ส่วนมาตรการดูแลดูแลผลไม้ในภาพรวม กรมฯ ได้เตรียมมาตรการรับมือไว้แล้ว เช่น การดึงผู้ประกอบการและโรงงานมาทำสัญญาซื้อขายกับเกษตรกร การระบายผลไม้ผ่านห้างค้าส่งค้าปลีก ห้างสรรพสินค้า และร้านธงฟ้า การจัดกิจกรรมส่งเสริมการบริโภคและจำหน่ายผลไม้ การเสริมสภาพคล่องให้กับผู้ประกอบการที่รับซื้อผลไม้ การดูแลโรงคัดและบรรจุผลไม้ (ล้ง) ให้รับซื้อเป็นธรรม เป็นต้น

ที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/862551?utm_source=category&utm_medium=internal_referral&utm_campaign=economic

กรมการค้าภายในออก 9 มาตรการดูแลปีทองผลไม้ไทย

นายวิชัย โภชนกิจ อธิบดีกรมการค้าภายใน (คน.) เปิดเผยว่า กรมได้ออก 9 มาตรการในการบริหารจัดการผลไม้ในปี 63 ที่คาดว่าผลไม้หลายประเภทจะมีผลผลิตมากกว่าปีก่อน โดยจะเน้นการระบายผลไม้ทั้งในและต่างประเทศ การแก้ปัญหาราคาตกต่ำ การจัดระเบียบล้งรับซื้อผลไม้เพื่อป้องกันการกดราคาหรือมีพฤติกรรมเอาเปรียบเกษตรกร เป็นต้น โดยจะใช้งบประมาณในการบริหารจัดการ 396 ล้านบาท ซึ่งมีทั้ง งบประมาณปกติและงบประมาณจากคณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) มั่นใจว่าปี 63 จะเป็นปีทองของผลไม้ไทยหลายชนิดที่จะทำให้ชาวสวนขายผลไม้ได้ในราคาสูง ไม่ว่าจะเป็นทุเรียน มังคุด ลองกอง เงาะ ลิ้นจี่ ลำไย เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีมาตรการผลักดันการส่งออก ด้วยการเชื่อมโยงผู้ผลิต ผู้ซื้อ ตลาดปลายทาง พร้อมทั้งเพิ่มสภาพคล่องผู้ประกอบการ โดยชดเชยดอกเบี้ย 3% เป็นเวลา 6 เดือน วงเงิน 1,500 ล้านบาท, มาตรการส่งเสริมการเพิ่มศักยภาพ ทั้งการตรวจรับรองมาตรฐานการผลิต การปรับปรุงสถานประกอบการสู่มาตรฐานสากลด้วยการชดเชยดอกเบี้ย 3% เป็นเวลา 1 ปี วงเงินไม่เกินรายละ 10 ล้านบาท, การตรวจรับรองสินค้าอินทรีย์ ขณะเดียวกัน ยังมีมาตรการกำกับดูแลล้ง ที่มาตั้งโรงคัดและบรรจุผลไม้ที่ไทยเพื่อส่งออก โดยสั่งให้เจ้าหน้าที่ทำฐานข้อมูลของล้งทุกราย และจะประสานกับประเทศต้นทางของล้ง เช่น จีน เพื่อตรวจสอบว่า แต่ละรายมีประวัติและพฤติกรรมทางธุรกิจอย่างไร หากมีประวัติไม่ดีจะตักเตือนชาวสวนและผู้ประกอบการไทยอย่าร่วมทำธุรกิจด้วย และสุดท้ายการร่วมมือกับกระทรวงแรงงานในการพัฒนาอบรมให้ความรู้แก่แรงงานที่เก็บเกี่ยวผลไม้ รวมถึงออกมาตรการให้แรงงานเก็บผลไม้ที่เป็นต่างด้าว และมีความเชี่ยวชาญในการเก็บผลไม้ สามารถเคลื่อนย้ายไปเก็บผลไม้ได้ทั่วประเทศ.

ที่มา: https://www.thairath.co.th/news/business/market-business/1746071

เวียดนามเผยยอดการส่งออกผักและผลไม้ ลดลงเล็กน้อย

จากข้อมูลของกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทเวียดนาม (MARD) เปิดเผยว่ามูลค่าการส่งออกผักและผลไม้ของเวียดนามลดลงเล็กน้อยอยู่ที่ร้อยละ 0.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ด้วยมูลค่า 3.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วงเดือนมกราคม-พฤศจิกายน ปี 2562 โดยยอดการส่งออกลดลงดังกล่าว เป็นผลมาจากยอดขายของแก้วมังกรลดลงร้อยละ 9 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 31 ของมูลค่าการส่งออกผลไม้รวม, ทุเรียน (ลดลง 17.4%), มะพร้าว (ลดลง 35%), ลำไย (ลดลง 56%) และแตงโม (ลดลง 26.4%) เป็นต้น ทั้งนี้ สำนักงานผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรและพัฒนาตลาด ระบุว่าการส่งออกไปยังจีนลดลงอย่างมาก ซึ่งมีส่วนแบ่งการตลาดอยู่ที่ร้อยละ 66.8 ของมูลค่าการส่งออกผักและผลไม้รวม ทางด้านยอดการส่งออกไปยังตลาดสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้นั้น ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น แต่ว่ายังไม่เพียงพอที่จะชดเชยการลดลงของตลาดจีนได้

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/fruit-vegetables-exports-see-slight-decrease-407397.vov