เลือกตั้งคึกคัก ปชช.แห่ใช้สิทธิ์ หนุนเศรษฐกิจไทยฟื้น

นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า จากการเลือกตั้งล่วงหน้าวานนี้ (7 พ.ค.) ประชาชนตื่นตัวออกมาใช้สิทธิกันจำนวนมาก และเชื่อว่าการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในวันที่ 14 พฤษภาคมนี้จะคึกคักมาก สะท้อนจากการทำโพลล์ การจัดดีเบต การปราศรัยใหญ่ของพรรคการเมือง และกิจกรรมรณรงค์หาเสียงต่างๆ ทำให้คาดว่าจะมีเม็ดเงินสะพัดในระบบเศรษฐกิจถึงวันเลือกตั้งราว 4-5 หมื่นล้านบาท ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจไทย และเมื่อได้เห็นโฉมหน้ารัฐบาลใหม่แล้ว ความเชื่อมั่นในการจับจ่ายใช้สอยก็จะกลับมา รวมถึงการลงทุน ดังนั้นเศรษฐกิจไทยครึ่งปีหลัง คาดว่าจะเติบโตที่ร้อยละ 4 ซึ่งสูงกว่าครึ่งปีแรก ขณะที่ธนาคารแห่งประเทศไทย เผยข้อมูล ณ วันที่ 28 เมษายน 2566 ซึ่งเป็นช่วงก่อนการเลือกตั้ง 3 เดือน (มกราคม-มีนาคม) พบปริมาณเงินสดที่หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นกว่า 52,423 ล้านบาท เมื่อแยกประเภทธนบัตร พบว่า ธนบัตรราคา 1,000 บาท เพิ่มขึ้น 42,523 ล้านบาท /ชนิดราคา 500 บาท หมุนเวียนในระบบเพิ่มขึ้น 8,093 ล้านบาท ส่วนชนิดราคา 100 บาท หมุนเวียนในระบบลดลง 249 ล้านบาท

ที่มา : https://ch3plus.com/news/economy/ruangden/347089

ความคิดเห็นมาตรการช่วยเหลือฟื้นฟูทางการเงินผู้ประกอบการ

สถาบันยุทธศาสตร์การค้า มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นมาตรการช่วยเหลือฟื้นฟูทางการเงินผู้ประกอบการ พบว่า การแพร่ระบาดของโควิด-19 ระรอกที่ 3 ส่งผลกระทบต่อธุรกิจมากกว่าระรอกที่ผ่านมา ร้อยละ 41.80  ส่วนโอกาสที่ธุรกิจจะปิดกิจการ ร้อยละ 48.00 อยู่ในระดับน้อย หากสถานการณ์การแพร่ระบาดยังยืดเยื้อออกไปอาจปิดกิจการภายใน 11 เดือน ภาครัฐควรผ่อนคลายมาตรการควบคุมให้กลับมาเป็นปกติภายใน 4 เดือน และโอกาสที่กิจการจะกลับมาดำเนินธุรกิจได้ปกติภายใน 4 เดือน

ทัศนะต่อมาตรการของภาครัฐในการช่วยเหลือผู้ประกอบการ พบว่า มาตรการเพียงพอต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจ ร้อยละ 40.00 อยู่ในระดับน้อย ผู้ประกอบการมองว่าได้รับประโยชน์จากมาตรการของรัฐ ร้อยละ 50.00 อยู่ในระดับน้อย ส่วนโครงการหรือมาตรการของภาครัฐธุรที่ธุรกิจเข้าร่วมมากที่สุดคือ โครงการคนละครึ่ง ร้อยละ 78.57 ด้านมาตรการมาตรการช่วยเหลือฟื้นฟูทางการเงินุรกิจสนใจเข้าร่วมมาตรการสินเชื่อฟื้นฟูธุรกิจ (Soft Loan) ร้อยละ 39.39 แต่ไม่แน่ใจว่าสามารถเข้าร่วมได้ ร้อยละ 64.95 เพราะมองว่าธนาคารไม่ปล่อยสินเชื่อให้เพราะเต็มวงเงินและเงื่อนไขไม่ชัดเจน ร้อยละ 50.00 และวงเงินสินเชื่อที่ธุรกิจต้องการคือต่ำกว่า 1 แสนบาท ร้อยละ 60.00

นอกจากนั้น ประเด็นที่ต้องการให้รัฐบาลช่วยเหลือเพิ่มเติม ได้แก่ ภาครัฐควรควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 และเร่งการฉีดวัคซีนให้ครอบคลุมทั่วทั้งประเทศโดยเร็ว รวมถึงคลายล็อกดาวน์ เร่งเปิดประเทศ มีการยกเว้นภาระทางด้านภาษี รวมถึงพักชำระหนี้แก่ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบ ส่งเสริมมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายเดิมที่มีอยู่อย่างต่อเนื่อง เช่น โครงการคนละครึ่ง สนับสนุนค่าสาธารณูปโภคต่างๆ เพิ่มขึ้น เพื่อเป็นการลดภาระภาคเอกชน และแก้ไขปัญหาคอรัปชั่นและขั้นตอนในการดำเนินงานที่ล่าช้าของรัฐบาล

ที่มา: สถาบันยุทธศาสตร์การค้า มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

กัมพูชาได้รับประโยชน์จากการกระจายการลงทุนไปยังเมียนมาที่คาดว่าจะลดลง

การปฏิวัติในเมียนมาคาดส่งผลประโยชน์เชิงบวกจากการเคลื่อนย้ายเงินลงทุนในเมียนมาไปยัง กัมพูชา เวียดนาม อินโดนีเซีย สปป.ลาว มาเลเซีย และไทย เป็นสำคัญจากปัจจัยสนับสนุนทางด้านภูมิศาสตร์ ซึ่งจากรายงานผลการศึกษาล่าสุดของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย (UTCC) โดย รศ.ดร.อัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่าการส่งออกของไทยไปยังเมียนมาคาดว่าจะลดลงสูงสุด 9.6 หมื่นล้านบาท ในปีนี้ เนื่องจากความวุ่นวายทางการเมืองของเมียนมา ซึ่งผลกระทบจากการปฏิวัติในเมียนมา 100 วันหลังการปฏิวัติครั้งที่ 4 โดยพลเอกอาวุโส มิน อ่อง ลาย (MIN AUNG HLAING) ได้คาดการณ์ว่า GDP ของเมียนมาในปี 2021 จะติดลบร้อยละ 10 ถึงลบร้อยละ 20 โดยไตรมาส 1/2021 เศรษฐกิจเมียนมาหดตัวร้อยละ 2.5 สูญเสีย FDI กว่า 6 พันล้านเหรียญสหรัฐ มีปริมาณการว่างงานกว่า 6 แสนคน ค่าเงินจ๊าดอ่อนค่าร้อยละ 18 (24/5/2564) และรายได้ของครัวเรือนเมียนมาลดลงถึงร้อยละ 83 ส่วนราคาน้ำมันเพิ่มร้อยละ 15 ราคาข้าวขายปลีกเพิ่มร้อยละ 35 ทั้งนี้ FDI ของเมียนมาที่ลดลงจะอยู่ในกลุ่ม พลังงาน อุตสาหกรรม อสังหาริมทรัพย์ น้ำมันและก๊าซ ขนส่ง และนิคมอุตสาหกรรม เป็นต้น

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50864456/cambodia-stands-to-benefit-from-fdi-diversion-as-exports-to-myanmar-expected-to-drop/