‘ฮอนด้าเวียดนาม’ เผยยอดขายในเดือน เม.ย. ดิ่งลงฮวบ

เหงียน ฮุย จุง (Nguyen Huy Trung) หัวหน้าแผนกความสัมพันธ์ภายนอกองค์กร เผยว่ายอดจำหน่ายรถจักรยานยนต์และรถยนต์ ลดลงร้อยละ 72 และ 52 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ตามลำดับ เนื่องจากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่งการระบาดดังกล่าวส่งผลให้ผู้ผลิตต้องระงับการผลิต ตั้งแต่ต้นเดือนจนถึงวันที่ 22 เม.ย. ยิ่งไปกว่านั้น ตัวแทนจำหน่ายก็ต้องตกงาน สาเหตุจากมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) สำหรับยอดขายรถจักรยานยนต์ในเดือนนี้ อยู่ที่ 61,752 คัน และรถยนต์ 843 คัน ทั้งนี้ รายงานข่าวระบุว่าเมื่อปลายเดือนเม.ย. กระทรวงวางแผนและการลงทุน (MPI) ได้รับคำเสนอมาแล้วเกี่ยวกับการดำเนินงานและคำแนะนำถึงปัญหาที่ผู้ผลิตรถยนต์เผชิญจากผลกระทบของเชื้อไวรัสโควิด-19

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/honda-vietnams-sales-plummet-in-april-413580.vov

พิษ COVID-19 อุตสาหกรรมรถยนต์ไทยสู่จุดต่ำสุดในรอบ 9 ปี

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดการณ์ปริมาณการผลิตรถยนต์ในปี 2563 อาจหดตัวลงประมาณร้อยละ 21-25 นับว่าต่ำสุดในรอบกว่า 9 ปี เนื่องจากการส่งออกที่อาจลดต่ำลงมากไปแตะระดับ 750,000 – 780,000 คัน จากปีก่อนส่งออกได้กว่า 1 ล้านคัน ซึ่งวิกฤตการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ไปทั่วโลกในปัจจุบัน ส่งผลต่ออุตสาหกรรมรถยนต์ไทยในแง่มุมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการก่อให้เกิดภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอยทั้งในไทยและในระดับโลกอันเป็นปัจจัยหลักที่มีผลต่อคำสั่งซื้อรถยนต์จากทั้งตลาดในประเทศและตลาดส่งออก ยอดขายในประเทศก็มีความเสี่ยงที่จะลดลงไปแตะระดับ 800,000 – 820,000 คัน หรือหดตัวร้อยละ 19 – 21 จากปีก่อน ส่วนการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมรถยนต์สู่ภาวะปกติอีกครั้งคาดว่า อาจเป็นช่วงกลางปี 64 หรือต้นปี 65 หลังเศรษฐกิจโลกจะทยอยฟื้นฟู นอกจากนี้ทำให้เห็นถึงปัญหาสำคัญในรูปแบบกระบวนการผลิตปัจจุบันซึ่งมีการพึ่งพิงฐานการผลิตเดียวมากเกินไปชัดเจนขึ้น ทำให้ค่ายรถและผู้ผลิตชิ้นส่วนอาจต้องพิจารณาปรับเปลี่ยนใหม่ให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้นในอนาคต ด้วยการกระจายความเสี่ยงในการจัดหาชิ้นส่วนรถยนต์ในห่วงโซ่อุปทาน ทั้งนี้ แนวทางที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่าค่ายรถและผู้ผลิตชิ้นส่วนจะนำมาใช้นับจากนี้อาจแบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือการลดระดับระบบการผลิตแบบ Just In Time ลง ขณะที่อีกแนวทางเน้นลดการพึ่งพิงฐานการผลิตเดียวโดยการโยกฐานการผลิตออกสู่ประเทศที่เป็นฐานผลิตระดับยุทธศาสตร์ของภูมิภาค อาจจะทำให้เกิดทิศทางการจัดห่วงโซ่อุปทานการผลิตรูปแบบใหม่ที่ชัดเจนขึ้น อย่างไรก็ตาม แม้ไทยจะเป็นหนึ่งในประเทศที่มีโอกาสจะดึงดูดการลงทุนเข้ามาได้ แต่การเตรียมพร้อมรับมืออย่างเหมาะสม โดยเฉพาะการสนับสนุนให้ผู้ผลิตชิ้นส่วนในประเทศใช้ระบบอัตโนมัติในกระบวนการผลิตมากขึ้นจะช่วยเพิ่มโอกาสในการแข่งขันกับประเทศฐานผลิตอื่น โดยเฉพาะกับอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้าที่กำลังขยายตัว

ที่มา : https://news.thaipbs.or.th/content/292174

เวียดนามนำเข้ารถยนต์ลดลง 40% ในช่วง 2 เดือนแรก

จากข้อมูลของกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า (MoIT) เปิดเผยว่าเวียดนามนำเข้ารถยนต์ 14,523 คัน ในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2563 ลดลงร้อยละ 43.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งจำนวนรถยนต์ต่ำกว่า 9 ที่นั่ง และรถยนต์นั่งส่วนบุคคล มีอยู่ 10,768 และ 3,425 คัน ลดลงร้อยละ 39.6 และ 53.3 ตามลำดับ ทั้งนี้ ในเดือนกุมภาพันธ์ เวียดนามซื้อรถยนต์ที่ประกอบจาก 2 ตลาดสำคัญ ได้แก่ ไทย (6,271 คัน) และอินโดนีเซีย (3,416 คัน) คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 94.3 ของการนำเข้ารถยนต์รวม นอกจากนี้ ตามรายงานล่าสุดของกระทรวงฯ พบว่าเวียดนามนำเข้าชิ้นส่วนรถยนต์ ด้วยมูลค่า 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ โดยส่วนใหญ่นำเข้าจากเกาหลีใต้ มูลค่า 1.14 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (28.5%) รองลงมาญี่ปุ่น 720 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (18.04%) และจีน 700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (18%) ในขณะเดียวกัน การลดลงของสินค้าคงคลังขนาดใหญ่ ในช่วงที่เหลือของปี 2562 ซึ่งผู้นำเข้าหลายรายยังคงต้องรอคำตัดสินใจจากรัฐบาล เพื่อที่จะลดหรือยกเว้นภาษีนำเข้าชิ้นรถยนต์ จากสถานการณ์แพร่ระบาดโควิด-19

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnams-car-imports-plummet-over-40-percent-in-first-two-months/171048.vnp

ยอดขายรถยนต์ของเวียดนามเพิ่มขึ้น 12%yoy ในปี 2562

จากรายงานของสมาคมผู้ผลิตรถยนต์เวียดนาม (VAMA) เปิดเผยว่าในปี 2562 ตลาดรถยนต์ของเวียดนามเติบโตอยู่ในระดับปานกลาง มียอดขายรถยนต์อยู่ที่ 322,322 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 12 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว โดยในเดือนธันวาคม มียอดขายรถยนต์อยู่ที่ 33,159 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 11 เมื่อเทียบกับเดือนที่แล้วและลดลงร้อยละ 3 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว หากจำแนกประเภทรถยนต์ พบว่ายอดขายรถยนต์นั่งส่วนบุคคล (PC) อยู่ที่ 24,823 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 11 เมื่อเทียบกับเดือนที่แล้ว สำหรับรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ (CV) มียอดขายอยู่ที่ 959 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 และรถยนต์ที่ใช้งานเฉพาะด้าน (SPV) อยู่ที่ 377 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 14 ทั้งนี้ ทางสมาคมฯ มองว่าในปี 2562 สถานการณ์ตลาดรถยนต์เวียดนามอยู่ในช่วงยากลำบาก แต่ก็ยังอยู่ในทิศทางที่เป็นบวกของผู้ผลิตรถยนต์ในท้องถิ่น

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/car-sales-in-vietnam-up-12-yy-in-2019-408725.vov

เวียดนามเผยปริมาณนำเข้ารถยนต์ 120,000 คัน ในช่วง 10 เดือนแรกของปีนี้

จากข้อมูลของกรมศุลกากรเวียดนาม เปิดเผยว่าปริมาณนำเข้ารถยนต์ของเวียดนามอยู่ที่ 120,000 คัน คิดเป็นมูลค่า 2.66 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2562 ซึ่งตัวเลขดังกล่าว แสดงให้เห็นถึงปริมาณรถยนต์ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 125 และร้อยละ 122 ของมูลค่า เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยในเดือนตุลาคมที่ผ่านมา มีปริมาณการนำเข้า 13,000 คัน และมูลค่า 273 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ทั้งนี้ หน่วยงานกรมศุลกากร ระบุว่าในช่วงเดือนตุลาคม มีการลักลอบข้ามพรมแดน และในระหว่างวันที่ 16 ก.ย. – 15 ต.ค. กรมศุลกากรได้ตรวจสอบคดีลักลอบกว่า 1,396 คดีความ คิดเป็นมูลค่าราว 169.48 พันล้านด่อง (7.29 ล้านเหรียญสหรัฐฯ)

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/vietnam-imports-120000-cars-in-ten-months-405838.vov

โตโยต้าเมียนมาเริ่มผลิตไฮลักซ์

โตโยต้ามอเตอร์เมียนมา (TMY) จะเริ่มผลิตไฮลักซ์เมียนมาเป็นครั้งแรกและยังมีแผนที่จะผลิตแบรนด์รถยนต์อื่น ๆ หลังจากประเมินสถานการณ์ตลาด การก่อสร้างโรงงานรถยนต์ได้เริ่มขึ้นคาดจะเริ่มให้บริการใน ส.ค. 63 คาดว่าจะผลิตได้ในปี 64 กุมภาพันธ์ ผลิตได้ 2,500 คัน โตโยต้ามอเตอร์คอร์ปอเรชั่นญี่ปุ่นวางศิลาฤกษ์การก่อสร้างโรงงานอัตโนมัติแห่งใหม่ของเขตเศรษฐกิจพิเศษติวาล่าในวันที่ 1 พ.ย.62 ที่ผ่านมา การลงทุนจากต่างประเทศมีมูลค่า 52.6 ล้านเหรียญสหรัฐ มีแรงงาน 130 คน และเริ่มผลิตรถยนต์ในปี พ.ศ. 64 โดยตั้งเป้าผลิตโตโยต้าไฮลักซ์ 2,500 คันโดยใช้ระบบน็อคดาวน์ (SKD)

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/microfinance-firms-get-more-support.html

ผู้ผลิตรถยนต์ในเมียนมากำลังเจอความท้าทาย

ผู้ผลิตรถยนต์ในเมียนมาได้เพิ่มการผลิตเพื่อรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้น บริษัท ซูซูกิเมียนมาร์มอเตอร์ จำกัด ผลิตรถยนต์ 15,000 คันเมื่อเทียบกับ 12,000 คันในปี 61 หรือเพิ่มขึ้น 25% เมื่อเทียบเป็นรายปีและเพิ่มกำลังการผลิตของโรงงานในเขตเศรษฐกิจพิเศษติละวาในปีนี้โดยมีออเดอร์การผลิต 60% ของความต้องการในประเทศ ที่ผ่านมา Suzuki Myanmar เปิดโรงงานในเมือง South Dagon ของย่างกุ้งในปี 56 และย้ายโรงงานไปที่เขตเศรษฐกิจพิเศษติละวา เพื่อรองรับปริมาณการผลิตที่สูงขึ้น แต่คำเตือนของฟิทช์โซลูชั่นส์ระบุว่าการเติบโตอาจเจออุปสรรค เช่น ระบบธนาคารที่ด้อยพัฒนา การเข้าถึงเครดิตของผู้บริโภคและเส้นทางคมนาคมที่ล้าหลัง จากการคาดการณ์เมียนมามีรถ 26.5 คันต่อประชากร 1,000 คนในปี 62 ซึ่งต่ำกว่าไทยที่ 290 คันต่อประชากร 1,000 คน ในปี 61 ยอดขายรถยนต์ใหม่ 18,000 คัน ซึ่งมากกว่า 2.1 เท่าของปีที่แล้ว ภายในปี 63 มีการประเมินว่าจะมีรถใหม่มากกว่า 2 ล้านคัน โตโยต้ามอเตอร์คอร์ปอเรชั่น (โตโยต้า) ได้ตั้งโรงงานผลิตรถยนต์แห่งแรกขึ้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษติละวา ซึ่งจะผลิต Toyota Hilux ตั้งแต่เดือนก.พ. 64 เป็นต้นไป โรงงานแห่งใหม่มูลค่า 53 ล้านเหรียญสหรัฐใช้ประกอบรถ Hilux ได้ 2,500 คัน โดยใช้วิธี Semi Knocked Down (SKD)

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/car-makers-local-production-despite-challenges.html