“เวียดนาม” เผย CPI เดือน ม.ค. เพิ่มขึ้น

จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม เปิดเผยว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ในเดือน ก.พ. 2566 เพิ่มขึ้น 0.45% เมื่อเทียบรายเดือน และ 4.31% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว การปรับขึ้นของดัชนี CPI เป็นผลมาจากราคาเชื้อเพลิงในประเทศที่สูงขึ้น เหตุจากราคาน้ำมันในตลาดโลกที่พุ่งสูงขึ้นและค่าเช่าที่เพิ่มขึ้น หลังจากเทศกาลปีใหม่ทางจันทรคติ ทั้งนี้ กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคและบริการหลัก มี 5 กลุ่มจาก 11 กลุ่มที่ผลักดันให้ดัชนี CPI ปรับตัวเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบรายเดือน ได้แก่ กลุ่มขนส่งที่เพิ่มขึ้นสูงสุด 2.11% จากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น ตามมาด้วยราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าบริการขนส่งสาธารณะ ค่าบริการรถไฟโดยสาร ค่าที่อยู่อาศัยและการก่อสร้าง โดยส่วนใหญ่เป็นผลมาจากค่าเช่าที่เพิ่มขึ้น และราคาก๊าซหุงต้ม ไฟฟ้า และค่าบำรุงรักษาที่อยู่อาศัย นอกจากนี้ อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน เดือน ก.พ. เพิ่มขึ้น 0.25% เมื่อเทียบเป็นรายเดือน และ 4.96% เมื่อเทียบเป็นรายปี

ที่มา : https://english.thesaigontimes.vn/vietnams-cpi-edges-up-in-february/

ผู้ประกอบการหนุนรัฐ ปรับขึ้น‘ดีเซล’แบบขั้นบันได

นายธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย แสดงความเห็นต่อทิศทางราคาน้ำมันว่า การใช้เงิน กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง อุดหนุนราคาน้ำมันดีเซลยังเป็นแนวทางที่รัฐต้องพิจารณา แม้ว่าจะมีแผนค่อยๆ ทยอยลดภาระด้วยการปรับขึ้นแบบขั้นบันไดก็ตามเพราะหากปรับขึ้นทันทีจะกระทบเป็นลูกโซ่ไปถึงการจับจ่ายใช้สอยของประชาชนทันที ดังนั้นประเด็นสำคัญอยู่ที่การออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหม่ที่เป็นแพ็กเกจไม่ใช่แก้ปัญหาเฉพาะหน้าแบบ “คิดไปทำไป” ควรทำให้ครอบคลุมทั้งปี ด้านนายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) กล่าวว่า แนวทางอุดหนุนราคาเชื้อเพลิงจะลดการอุดหนุนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง 50% จากราคาอุดหนุนปัจจุบันเฉลี่ย 11 บาทต่อลิตร วันที่ 1 พ.ค.2565 นี้ แต่กระทรวงพลังงานจะปรับขึ้นแบบขั้นบันได 1-3 บาทต่อลิตร เพื่อลดผลกระทบเช่นเดียวกับ LPG ที่จะขึ้นอีกพ.ค.กิโลกรัมละ 1 บาท (15 บาทต่อถัง 15 กก.) เหล่านี้ล้วนกดดันต่อระดับราคาสินค้าและแรงซื้อของประชาชน

ที่มา: https://www.naewna.com/business/649398

ยูเอ็นชี้ราคาอาหารพุ่งสูงขึ้นนับตั้งแต่ทหารยึดอำนาจ

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่าองค์การอาหารแห่งสหประชาชาติ ชี้ราคาอาหารและเชื้อเพลิงในเมียนมา ปรับตัวสูงขึ้นนับตั้งแต่เกิดการรัฐประหารเมื่อวันที่ 1 ก.พ. ส่งผลต่อความเป็นอยู่ของผู้คนฐานะยากจน ในขณะที่โครงการอาหารโลก (WFP) เผยว่าราคาอาหารเพิ่มสูง โดยเฉพาะราคาน้ำมันปาล์มที่เพิ่มขึ้น 20% ในบางพื้นที่รอบเมืองย่างกุ้ง และราคาข้าวเพิ่มขึ้น 4% ในเมืองย่างกุ้งและมัณฑะเลย์ ตลอดจนในบางพื้นที่ของรัฐคะฉิ่น ราคาข้าวปรับตัวพุ่ง 35% โดยปัจจัยที่ทำให้ราคากลุ่มอาหารและเชื้อเพลิงสูงขึ้นนั้น เป็นผลมาจากภาคธนาคารเป็นอัมพาต ทำให้ส่งเงินกลับเข้าประเทศเป็นไปอย่างล่าช้าและปัญหาการขาดแคลนเงินสด

ที่มา : https://www.straitstimes.com/asia/se-asia/troubling-signs-of-myanmar-food-price-rises-since-coup-un-agency

เวียดนามคาดความต้องการใช้ปูนซีเมนต์โต 4-5% ในปีนี้

จากข้อมูลของกระทรวงก่อสร้างเวียดนาม คาดความต้องการใช้ซีเมนต์ในปีนี้เติบโตร้อยละ 4-5 จากการฟื้นตัวของตลาดอสังหาริมทรัพย์ โดยความต้องการใช้ซีเมนต์คาดอยู่ที่ 101-103 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4-5 ในปีก่อน หากจำแนกแหล่งที่มาของการใช้ซีเมนต์ พบว่าปริมาณการใช้ส่วนใหญ่อยู่ในประเทศราว 69-70 ล้านตัน และส่งออกไปยังต่างประเทศ 32-34 ล้านตัน ทั้งนี้ จากข้อมูลของกรมวัสดุก่อสร้างคาดว่ามีปูนซีเมนต์อยู่ 2 สายการผลิตในปีนี้ ส่งผลให้จำนวนสายการผลิตซีเมนต์ทั้งหมดของเวียดนามอยู่ที่ 86 ของผลผลิตรวม หรือปริมาณผลผลิต 105.84 ล้านตัน อย่างไรก็ตาม ตลาดวัสดุก่อสร้างในปีนี้ยังคงอยู่ในสถานการณ์ปกติ/ไม่เปลี่ยนแปลงจากในปีก่อนและอาจชะลอตัว สำหรับอุปสรรคของผู้ประกอบการซีเมนต์ในปัจจุบัน ได้แก่ ราคาเชื้อเพลิงและค่าแรงงานที่สูงขึ้น รวมถึงประเด็นสิ่งแวดล้อมและเทคโนโลยี เป็นต้น ซึ่งมีการหยิบข้อเสนอการเก็บภาษีสิ่งแวดล้อมสำหรับผู้ผลิตซีเมนต์ นอกจากนี้ ทางกระทรวงฯ ระบุว่าการส่งออกซีเมนต์จากจีนและไทยจะเพิ่มขึ้น ดังนั้น เวียดนามจะเผชิญกับความท้าทายในการแข่งขันที่รุนแรงขึ้นในตลาดโลก

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/592356/cement-demand-forecast-to-climb-4-5-this-year.html

ในรอบหนึ่งเดือนราคาเชื้อเพลิงในประเทศเพิ่ม 45-50 จัต

ราคาน้ำมันในประเทศเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจาก 45 เป็น 50 จัตต่อลิตรในระยะเวลามากกว่าหนึ่งเดือนเนื่องจากราคาน้ำมันทั่วโลกพุ่งแตะระดับ 60 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล จากเดิมราคาในเดือน ก.ค. ราคา 53 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล และเพิ่มเป็น 60 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรลในเดือนกันยายนที่ผ่านมา เมื่อวันที่ 16 กันยายนราคาในตลาดท้องถิ่นราคาสูงสุดคือ 930 จัตสำหรับน้ำมันดีเซลหนึ่งลิตร (K4,227 ต่อแกลลอน) 940 จัตสำหรับน้ำมันดีเซลหนึ่งลิตร (K4,273 ต่อแกลลอน) K830 จัตสำหรับหนึ่งลิตรที่ 92 รอนออกเทน (K3,773 ต่อแกลลอน) และ 920 จัตสำหรับหนึ่งลิตร 95 รอนออกเทน (K4,182 ต่อแกลลอน) ราคาเพิ่มขึ้น 45 เป็น 50 จัตต่อลิตรเมื่อเทียบกับราคาในเดือนสิงหาคม

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/local-fuel-prices-increase-by-k45-k50-in-over-one-month