‘ผู้ประกอบการเวียดนาม’ แนะใช้ประโยชน์จากการย้ายห่วงโซ่อุปทาน

คุณ Phùng Anh Tuấn รองผู้อำนวยการของบริษัท Manutronic Vietnam JSC กล่าวว่าการเปลี่ยนแปลงของห่วงโซ่อุปทานโลก ส่งผลให้บริษัทและกลุ่มธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ในเวียดนาม มีโอกาสที่จะอยู่ในห่วงโซ่อุปทานโลก และขยายกิจการทั้งการผลิตและการดำเนินธุรกิจ รวมถึงสร้างแรงงานมากขึ้น อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะทำให้อุตสาหกรรมสนับสนุนในประเทศเผชิญกับความท้าทายครั้งสำคัญ เนื่องมาจากกฎระเบียบและข้อบังคับต้องเป็นไปตามมาตรฐานระดับสูงของพันธมิตรทางธุรกิจ

ในขณะที่คุณ Trâong Thị Chí Bình รองประธานสมาคมอุตสาหกรรมสนับสนุนเวียดนาม (VASI) กล่าวว่าธุรกิจอุตสาหกรรมของเวียดนามส่วนใหญ่เป็นวิสาหกิจขนาดย่อมและขนาดกลาง และดำเนินกิจการจากการจัดหาส่วนประกอบและชิ้นส่วนรถยนต์ อิเล็กทรอนิกส์และรถจักรยานยนต์ อย่างไรก็ดี การผลิตชิ้นส่วนสำหรับสินค้าไฮเทค เช่น รถยนต์และเครื่องบิน จำเป็นที่จะต้องมีการเตรียมการในระยะยาว

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1650949/vietnamese-businesses-suggested-taking-advantage-of-global-supply-chain-shifts.html

2023 วิสาหกิจกัมพูชากว่า 5 หมื่นแห่ง เข้าจดทะเบียนกับกระทรวงแรงงาน

ปี 2023 วิสาหกิจกัมพูชากว่า 49,075 แห่ง เข้าจดทะเบียนกับกระทรวงแรงงานและการฝึกอาชีพ สะท้อนถึงการจ้างงานภายในประเทศมากกว่า 1.7 ล้านตำแหน่งในระบบ กล่าวโดย Hun Manet นายกรัฐมนตรีกัมพูชาถึงตัวเลขดังกล่าวขณะเป็นประธานในพิธีปิดการประชุมประจำปีของกระทรวงแรงงานและการฝึกอบรมวิชาชีพ ซึ่งจัดขึ้น ณ กรุงพนมเปญ เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ โดยปัจจุบันวิสาหกิจในกัมพูชาจ่ายค่าจ้างรายปีรวมกว่า 5.18 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งในจำนวนนี้จะสูงขึ้นหากรวมรายได้จากแรงงานนอกระบบและการส่งเงินกลับของแรงงานกัมพูชาในต่างประเทศอีกประมาณกว่า 2.9 พันล้านดอลลาร์ ในปี 2023 โดยนายกรัฐมนตรียังได้ขอให้กระทรวงและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง ปรับปรุงสภาพการทำงานและเพิ่มการฝึกอบรมสายอาชีพสำหรับคนงานและลูกจ้าง พร้อมทั้งสนับสนุนให้ธุรกิจนอกระบบลงทะเบียนในระบบมากขึ้น เพื่อรับสิทธิพิเศษและความช่วยเหลือตามความเหมาะสม

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501437274/registered-economic-enterprises-reach-nearly-50000-employing-some-1-7-million-people/

การสำรวจวิสาหกิจในสปป.ลาว พบ ผู้ประกอบการรายย่อย มีสัดส่วนสูงถึง 94.2 %

ผลสำรวจสปป.ลาวในฐานะประเทศที่พัฒนาน้อยที่สุด ยังคงมีสัดส่วนผู้ประกอบการรายย่อยสูง ซึ่งคิดเป็น 94.2 % ของวิสาหกิจทั้งหมดในประเทศ โดยในปี 62 มีวิสาหกิจทั้งหมด 133,997 แห่ง เพิ่มขึ้น 9,124 เมื่อเทียบกับปี 56 จากการสำรวจสำมะโนเศรษฐกิจครั้งที่ 3 จัดทำโดยสำนักงานสถิติสปป.ลาวในปี 62-63 ตัวเลขทั้งหมดประกอบด้วยผู้ประกอบการรายย่อย 126,168 แห่ง วิสาหกิจขนาดเล็ก 6,600 แห่ง ( 4.9% ) วิสาหกิจขนาดกลาง 954 แห่ง (0.7%) และวิสาหกิจขนาดใหญ่ 276 แห่ง (0.2%)  การสำรวจระบุว่าผู้ประกอบการรายย่อยแสดงถึงเปอร์เซ็นต์ที่น้อยที่สุดในแง่ของการเข้าถึงการเงินจากธนาคาร แม้ว่าจะมีจำนวนมากที่สุดในทุกประเภทก็ตาม วิสาหกิจขนาดกลางมีเงินกู้ยืมจากธนาคารมากที่สุด 29.7% วิสาหกิจขนาดใหญ่และขนาดเล็กคิดเป็น 27% และ 24.6% ตามลำดับ ผู้ประกอบการรายย่อยมีการเข้าถึงเงินกู้ เพียงร้อยละ 8.7  ทั้งนี้ธุรกิจค้าส่งและค้าปลีกถือเป็นธุรกิจที่จดทะเบียนมากที่สุด รองลงมาคือร้านซ่อมรถยนต์และรถจักรยานยนต์ โดยมีสัดส่วนรวมกัน 61.2% โรงงานแปรรูป 14.7% ในขณะที่ธุรกิจบริการ 10.6%  จากการสำรวจสถานประกอบการมีการจ้างงาน 490,373 คนซึ่งเป็นผู้หญิง 50.1% และ 90.6% ขององค์กรทั้งหมดจ้างคนงานเพียง 1-5 คน ซึ่งในปี 61 มีทุนจดทะเบียนวิสาหกิจทั้งหมด 649,000 พันล้านกีบและมีรายได้รวม 107,584 พันล้านกีบ

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Micro34.php