เงินเฟ้อสปป.ลาวพุ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์

อัตราเงินเฟ้อในเดือนมีนาคม เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันเมื่อปีก่อนมากกว่าที่คาดการณ์ และเพิ่มขึ้นเป็นตัวเลขสูงสุดนับตั้งแต่เดือนมกราคม 2559 ในเดือนมีนาคมราคาในหมวดการสื่อสารและการขนส่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8 เมื่อเทียบเดือนที่แล้ว ราคาเชื้อเพลิงและก๊าซเพิ่มขึ้นร้อยละ 49.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันเมื่อปีก่อน และยังมีราคาสินค้าในอีกหลายหมวดที่เพิ่มขึ้น ซึ่งสาเหตุมาจากการระบาดของโควิด-19 ประกอบกับราคาน้ำมันที่ผันผวนทำให้ราคาสินค้าต้องพึ่งพาเชื้อเพลิงในการผลิตหรือการขนส่งเพิ่มขึ้นและค่า kip ที่ลดลงอย่างต่อเนื่องจากความต้องการเงินดอลลาร์สหรัฐและเงินบาทที่เพิ่มขึ้น เพราะสปป.ลาวยังต้องพึ่งพาการนำเข้าสินค้าและวัสดุเข้าเพื่อผลิต เป็นปัจจัยหลักที่ผลักดันให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้น

 

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Investment68.php

รัฐบาล สปป. ลาวกําหนด 8 มาตรการ เพื่ออํานวยความสะดวกทางด้านการค้า

เมื่อวันที่ 11 มิ.ย. 2563 นายสุลิยน พิลาวง หัวหน้ากรมการนําเข้าและส่งออก กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า สปป. ลาว ในฐานะรองหัวหน้าคณะเลขานุการคณะกรรมการอํานวยความสะดวกทางด้านการค้าขั้นศูนย์กลาง ได้เป็น ประธานการประชุมทบทวนแผนการปฏิบัติงานอํานวยความสะดวกทางด้านการค้าปี 2560 – 2565 ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา และการปฏิบัติตามคําสั่งนายกรัฐมนตรีเลขที่ 12/นย. ลงวันที่ 16 ต.ค. 2562 ว่าด้วยการอํานวยความสะดวกให้แก่ การนําเข้า ส่งออก การนําเข้าชั่วคราว การผ่านแดน และการเคลื่อนย้ายสินค้าใน สปป. ลาว โดยมีความคืบหน้าหลาย ด้าน เช่น การจัดตั้งคณะกรรมการอํานวยความสะดวกทางด้านการค้าขั้นแขวง การวางแผนกิจกรรมและงบประมาณ เพื่อจัดการประชุมหารือแนวทางลดขั้นตอนที่เป็นอุปสรรคทางการค้าขั้นท้องถิ่น อย่างไรก็ตาม ยังมีปัญหาที่ยังไม่ได้รับการ แก้ไข เช่น ผู้ประกอบการยังพบกับความยุ่งยากในการรวบรวมเอกสารการนําเข้าและส่งออกสินค้า โดยพบว่าบางแขวงยังมี ขั้นตอนมากมายและคาบเกี่ยวกับหลายหน่วยงานและแต่ละหน่วยงานก็ยึดถือตามกฎระเบียบของตนเอง นอกจากนี้ ยังพบการตั้งด่านตรวจตามเส้นทางขนส่งสินค้า ซึ่งกระทบต่อการขนส่งของภาคธุรกิจ

ในโอกาสนี้ นายสุลิยนฯ ได้ให้มอบแนวทางในการดําเนินแผนงานอํานวยความสะดวกทางการค้าปี 2560 – 2565 และการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ดังนี้

1. เผยแพร่และปฏิบัติตามคําสั่งนายกรัฐมนตรี เลขที่ 12/นย. ลงวันที่ 16 ต.ค. 2562 ว่าด้วยการอํานวยความสะดวก ให้แก่การนําเข้า ส่งออก การนําเข้าชั่วคราว การผ่านแดน และการเคลื่อนย้ายสินค้าใน สปป. ลาว

2. ปรับปรุงการอํานวยความสะดวกในการดําเนินธุรกิจตามตัวชี้วัดที่ 8 (การค้าระหว่างประเทศ) ให้ดีขึ้นในปี 2563 และดําเนินการตามแผนงานอํานวยความสะดวกทางการค้าปี 2560 – 2565 ให้บรรลุเป้าหมายที่กําหนดไว้ โดยกระทรวง อุตสาหกรรมฯ เป็นหน่วยงานหลัก

3. ดําเนินการตามความตกลงด้านการอํานวยความสะดวกทางการค้า (Trade Facilitation Agreement – TEA) ภายใต้องค์การการค้าโลก (WTO) โดยเฉพาะข้อบัญญัติในหมวด A B และ C ให้สําเร็จตามกําหนดเวลาที่ได้แจ้งไว้กับ สํานักงานเลขาธิการ WTO เช่น การทบทวนการปฏิบัติตามข้อบัญญัติหมวด A และ B และการปฏิบัติตามข้อบัญญัติหมวด C ให้ได้ตามเป้าหมาย ซึ่งได้ขอความช่วยเหลือด้านวิชาการและเทคนิคไปแล้ว

4. ผลักดันให้หน่วยงานส่วนกลางและท้องถิ่นกําหนดมาตรฐานการบริการ จัดพิมพ์เอกสารเกี่ยวกับขั้นตอน เอกสารที่ใช้ และระยะเวลาในการให้บริการ เพื่อเผยแพร่ลงเว็บไซต์ศูนย์ข้อมูลข่าวสารทางด้านการค้าของ สปป. ลาว แขวง ด่านชายแดน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

5. จัดการประชุมวิชาการและฝึกอบรมเพื่อสร้างขีดความสามารถในการปฏิบัติตามกฎระเบียบและนโยบายต่าง ๆ ในการอํานวยความสะดวกทางการค้าให้แก่ภาครัฐและภาคธุรกิจในนครหลวงเวียงจันทน์และแขวงต่าง ๆ ทบทวนและ ประเมินผลกระทบจากมาตรการด้านการค้าที่มิใช่ภาษี (Non-Tariff Meeasure – NTMs) และเสนอไปยังหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง เพื่อจัดทําแผนปรับปรุงการดําเนินงานให้สอดคล้องกับนโยบายทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ

6. พัฒนาศูนย์ข้อมูลข่าวสารทางด้านการค้าของ สปป. ลาวให้ทันสมัยและมีความยั่งยืน

7. ปรับปรุงคู่มือแผนดําเนินงานการอํานวยความสะดวกทางด้านการค้าของ สปป. ลาวปี 2560 – 2565

8. เจรจากับประเทศเพื่อนบ้านเพื่ออํานวยความสะดวกในการส่งออกสินค้าไปยังตลาดประเทศเพื่อนบ้านในรูปแบบ การค้าชายแดนและการค้าทวิภาคี

สปป. ลาวเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก (WTO) เมื่อวันที่ 2 ก.พ. 2556 และเป็นประเทศสมาชิกลําดับที่ 158 จากประเทศสมาชิกทั้งหมด 164 ประเทศทั่วโลก โดยความตกลงด้านการอํานวยความสะดวกทางการค้าภายใต้ WTO (Trade Facilitation Agreement – TEA) กําหนดเรื่อง การปฏิบัติที่เป็นพิเศษและแตกต่าง (Special and Different Treatment – SDT) โดยจําแนกข้อบัญญัติออกเป็น 3 หมวด ได้แก่ หมวด A คือ ข้อบัญญัติที่ต้องปฏิบัติทันทีที่ความตกลงมีผลใช้บังคับ หมวด B คือ ข้อบัญญัติที่สมาชิกสามารถ กําหนดเวลาที่จะเริ่มปฏิบัติตามพันธกรณีได้เอง และหมวด C คือ ข้อบัญญัติที่สมาชิกต้องได้รับการความช่วยเหลือก่อน จึงจะปฏิบัติตามได้ ทั้งนี้ SDT ให้ความสําคัญกับความพร้อมของประเทศสมาชิก จึงไม่ได้กําหนดให้ประเทศกําลังพัฒนาและ ประเทศพัฒนาน้อยที่สุดต้องปฏิบัติตามข้อผูกพันเท่าเทียมกับประเทศที่พัฒนาแล้ว โดย SDT อาจอยู่ในรูปแบบของการให้ ระยะเวลาในการปรับตัวก่อนที่จะผูกพันตามความตกลงฯ หรือให้การยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามข้อตกลงบางส่วน สมาชิก แต่ละประเทศ (ยกเว้นประเทศพัฒนาแล้ว) มีสิทธิพิจารณาจัดกลุ่มและผูกพันตนเองต่อความตกลงดังกล่าวตามที่เห็นสมควร

ที่มา : https://globthailand.com/laos-08072020/