อินโดนีเซียเป็นผู้นำเข้าข้าวรายใหญ่ของเมียนมาในปีงบประมาณ 2024-2025

ตามข้อมูลของสหพันธ์ข้าวเมียนมา (MRF) ในปีงบประมาณ 2024-2025 (ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายนถึง 31 มีนาคม) อินโดนีเซียเป็นผู้นำเข้าข้าวรายใหญ่ของเมียนมา โดยมีปริมาณมากกว่า 605,000 ตัน รองลงมาคือ จีน เป็นผู้นำเข้าข้าวของเมียนมารายใหญ่เป็นอันดับสอง โดยนำเข้ากว่า 516,000 ตัน รองลงมาคือเบลเยียม 355,000 ตัน ฟิลิปปินส์ 134,000 ตัน บังกลาเทศ 105,000 ตัน เซเนกัล 96,600 ตัน โกตดิวัวร์ 60,800 ตัน โปแลนด์ 57,200 ตัน สเปน 48,600 ตัน โมซัมบิก 44,200 ตัน แคเมอรูน 27,100 ตัน อังกฤษ 22,800 ตัน เนเธอร์แลนด์ 20,000 ตัน โตโก 17,000 ตัน และอิตาลี 16,100 ตัน ตามลำดับ อย่างไรก็ดี สถิติของสหพันธ์ข้าวเมียนมา (MRF) ระบุว่าการส่งออกข้าวและข้าวหักของเมียนมาพุ่งสูงถึง 2.48 ล้านตันในปีงบประมาณ 2024-2025 ที่ผ่านมา โดยมีมูลค่าประมาณ 1.129 พันล้านดอลลาร์ จากเป้าหมายของสหพันธ์ที่จะส่งออกข้าวให้ได้ 2.5 ล้านตันในปีงบประมาณ 2024-2025 นอกจากนี้ กระทรวงพาณิชย์กำลังทำงานร่วมกับสหพันธ์ต่างๆ หอการค้าและอุตสาหกรรมเมียนมา เพื่อบรรลุเป้าหมายการส่งออกรายเดือนและอำนวยความสะดวกในการส่งออก

ที่มา : http://• https://www.gnlm.com.mm/indonesia-tops-myanmars-rice-import-chart-for-fy2024-25/#article-title

ส่งออกข้าวปี 60 สร้างรายได้ 1.33 พันล้านเหรียญสหรัฐ

สหพันธ์ข้าวเมียนมา (MRF) แถลงว่า ในปีที่แล้วเมียนมามีบริษัทส่งออกข้าวและข้าวหักรวม 103 บริษัทไปยัง 49 ประเทศคู่ค้า ปริมาณการส่งออกรวมกว่า 2,767,414 ตัน ซึ่งสร้างรายได้กว่า 1,331.899 ล้านเหรียญสหรัฐ อย่างไรก็ดี สหพันธ์ข้าวเมียนมา (MRF) ในด้านภาคเอกชนได้ดำเนินการส่งออกข้าวและข้าวหักตามนโยบายและคำสั่งของรัฐบาล และในขณะเดียวกันก็ได้ส่งเสริมให้บริษัทส่งออกรายใหม่เข้ามามีส่วนร่วมด้วยการแบ่งปันความรู้และจัดการฝึกอบรมเกี่ยวกับคุณภาพ ปริมาณ และกระบวนการของตลาดข้าวระหว่างประเทศ สหพันธ์ข้าวเมียนมาระบุอีกว่า ผู้ส่งออกรายใหม่มีส่วนร่วมในภาคการส่งออกข้าวและข้าวหักด้วยแนวทางที่เป็นระบบ โดยสมาชิกของสหพันธ์ข้าวเมียนมาขยายตัวเป็น 1,196 ราย ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2567 เพิ่มขึ้นจาก 980 ราย ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2566 ปีก่อน ด้วยการเติบโตของสมาชิกและความไว้วางใจและความร่วมมือ MRF จะให้บริการที่ดีขึ้น การแบ่งปันข้อมูลที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น และความร่วมมือที่แข็งแกร่งขึ้น MRF ซึ่งรวมถึงกลุ่มเกษตรกร สหกรณ์การเกษตร และโรงสีข้าว ได้เชิญชวนผู้ส่งออกที่ต้องการร่วมมือในภาคการส่งออกข้าวและข้าวหักในปี 2568 เพื่อเชื่อมโยงตลาด และช่วยเหลือในการดำเนินงานแก่สมาชิก

ที่มา : http://• https://www.gnlm.com.mm/rice-and-broken-rice-export-earns-us1331-899million-in-last-year/

อินโดนีเซียซื้อข้าวจากเมียนมากว่า 590,000 ตัน ครองอันดับหนึ่งในรายชื่อผู้ซื้อ

ตามข้อมูลของสหพันธ์ข้าวเมียนมา (MRF) อินโดนีเซียกลายมาเป็นผู้นำเข้าข้าวของเมียนมารายใหญ่ที่สุด โดยมีปริมาณมากกว่า 593,000 ตันในช่วง 9 เดือนสุดท้ายของปีงบประมาณ 2024-2025 ซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน อันดับสองรองลงมาคือ จีน ที่นำเข้าข้าวของเมียนมา มากกว่า 410,000 ตัน รองลงมาคือเบลเยียม 274,400 ตัน ฟิลิปปินส์ 131,000 ตัน เซเนกัล 96,600 ตัน ไอวอรีโคสต์ 46,900 ตัน โมซัมบิก 44,200 ตัน สเปน 30,000 ตัน แคเมอรูน 27,100 ตัน เนเธอร์แลนด์ 17,500 ตัน โปแลนด์ 17,400 ตัน ไอวอรีโคสต์ 13,900 ตัน และอิตาลี 13,300 ตัน ทั้งนี้ สถิติของสหพันธ์ข้าวเมียนมา (MRF) ระบุว่าการส่งออกข้าวและข้าวหักของเมียนมาพุ่งแตะระดับกว่า 2 ล้านตันในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา (ตั้งแต่เดือนเมษายน-ธันวาคม) ของปีงบประมาณปัจจุบัน 2024-2025 โดยมีมูลค่าประมาณ 948 ล้านดอลลาร์ ซึ่งสหพันธ์มีเป้าหมายที่จะส่งออกข้าวให้ได้ 2.5 ล้านตันในปีงบประมาณ 2024-2025 (เมษายน-มีนาคม) อย่างไรก็ดี กระทรวงพาณิชย์เมียนมาได้ร่วมมือกับหน่วยงานและสถาบันที่เกี่ยวข้องเพื่อบรรลุเป้าหมายการส่งออกรายเดือนและต่อๆ ไป โดยขึ้นอยู่กับปริมาณการจัดหาข้าว ข้าวหัก พืชตระกูลถั่ว ข้าวโพด ยางพารา และการประมงจากบริษัทที่เกี่ยวข้อง ซึ่งคาดการณ์ว่าจะสามารถส่งออกข้าวได้ 2.5 ล้านตันในปีงบประมาณ 2023-2024 สร้างรายได้ 1 พันล้านดอลลาร์ นอกจากนี้ ประธานสหพันธ์ข้าวเมียนมา กล่าวอีกว่า นโยบายการเงินของธนาคารกลางเมียนมาในการควบคุมรายได้จากการส่งออกทำให้การส่งออกข้าวเป็นอุปสรรค ส่งผลให้ผู้ส่งออกได้รับผลกระทบทางการเงิน นอกจากนี้ สภาพอากาศเอลนีโญยังทำให้การส่งออกข้าวได้รับผลกระทบด้วย

ที่มา : http://• https://www.gnlm.com.mm/indonesia-buys-over-590000-tonnes-of-myanmar-rice-tops-buyers-list/#article-title

สหพันธ์ข้าวเมียนมาร์ประกาศผ่อนคลายการตรวจสอบใบอนุญาตล่วงหน้าผู้ส่งออกสินค้าข้าว

ในขณะที่การส่งออกข้าวและข้าวหักทางทะเลและเส้นทางชายแดนกำลังชะลอตัว สมาพันธ์ข้าวเมียนมาร์ได้ประกาศว่าผู้ส่งออกข้าวที่ใช้เที่ยวบินขนส่งสินค้าจะไม่ต้องผ่านการตรวจสอบใบอนุญาตสินค้าล่วงหน้า ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2566 โดยพื้นที่จัดเก็บเพียง 50 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่จะได้รับการตรวจสอบสำหรับปริมาณที่ใช้กับใบอนุญาตส่งออก แทนที่จะเป็น 100 เปอร์เซ็นต์ ตามประกาศดังกล่าว และไม่มีข้อกำหนดในการตรวจสอบสินค้าก่อนออกใบอนุญาตสำหรับการยื่นขอใบอนุญาตส่งออกที่มีน้ำหนักไม่เกิน 260 ตัน ทั้งนี้ คำชี้แจงดังกล่าวจะมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคมถึง 31 ธันวาคม เพื่อสนับสนุนวิสาหกิจขนาดย่อม ขนาดกลาง (MSME) และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) อย่างไรก็ดี การส่งออกข้าวและข้าวหักคาดว่าจะสูงถึง 2 ล้านตันในปีงบประมาณ 2566-2567 ในขณะที่มูลค่าส่งออกในช่วง 6 แรกของปี มีมูลค่า 271 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากปริมาณการส่งออก 583,683 ตัน ลดลง 50% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ตามรายงานของสหพันธ์ข้าวเมียนมาร์

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/pre-license-cargo-inspection-eased-for-rice-exporters-in-cargo-flights-mrf-announces/#article-title

‘เมียนมา’ ตั้งเป้าส่งออกข้าว ต.ค.-ธ.ค. ทะลุ 2 แสนตัน

นายเย มิน ออง ประธานสหพันธ์ข้าวเมียนมา กล่าวในงานแถลงข่าวเมื่อวันที่ 23 ก.ย. ว่าเมียนมาได้ตั้งเป้ายอดส่งออกข้าวเฉลี่ยมากกว่า 2 แสนตันในช่วง 3 เดือน (ต.ค.-ธ.ค.) และคาดว่าจะเพิ่มสัดส่วนการส่งออกข้าวมากขึ้นในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า ถึงแม้ว่าการส่งออกข้าวจะปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องในช่วงแรกของปีงบประมาณนี้ ทั้งนี้ ราคาข้าวในตลาดโลกพุ่ง เป็นผลมาจากการที่อินเดียระงับการส่งออกข้าว อาจส่งผลให้การส่งออกข้าวของเมียนมาเพิ่มสูงขึ้น

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-set-to-export-exceeding-200000-tonnes-of-rice-per-month-in-oct-dec/#article-title

‘เมียนมา’ เตรียมขายข้าว 170,000 กระสอบ ภายใต้โครงการเงินอุดหนุน

สหพันธ์ข้าวเมียนมา (MRF) แจ้งเมื่อวันที่ 7 ส.ค. ว่าจะขายข้าว 170,000 กระสอบในเดือน ส.ค. รวมถึงข้าวพันธุ์ ปอว์ซาน (Paw San) 20,000 กระสอบ และข้าวพันธุ์ Aemahta 50,000 กระสอบ และข้าวสุกเมล็ดสั้นพันธุ์ Aemahta (90 วัน) 100,000 กระสอบ และสหพันธ์ฯ จะเพิ่มโควตาการขาย หากมีความจำเป็น

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/mrf-to-sell-off-170000-rice-sacks-under-subsidy-scheme/#article-title

งบประมาณย่อย 64-65 ส่งออกข้าวผ่านชายแดนเมียนมาซบเซาหนัก

สหพันธ์ข้าวเมียนมา เผย ยอดการส่งออกข้าวและข้าวหักผ่านชายแดนลดลงอย่างมาก โดยในปีงบประมาณย่อย(เดือนต.ค. 2564 ถึงเดือน มี.ค. 2565) เมียนมาส่งออกข้าวและข้าวหักมากกว่า 1.4 ล้านตัน เป็นการส่งออกทางทะเลมีปริมาณกว่า 1.3 ล้านตัน ในขณะที่การส่งออกผ่านชายแดนมีเพียง 76,000 ตัน เนื่องจากมาตรการป้องกัน COVID-19 ที่เข้มงวดของจีน ที่จำกัดรถบรรทุกสินค้าบริเวณชายแดนมูเซ ซึ่งขณะนี้มีเพียงขนส่งระยะใกล้ผ่านชายแดนจินซันเฉาะ (Kyinsankyawt) เท่านั้น ทำให้ให้มีการส่งออกผ่านชายแดนเพียง 76,000 ตันเท่านั้น เมียนมาส่งออกข้าวไปยังต่างประเทศ 13 ประเทศ ส่วนใหญ่ไปจะส่งไปยังไอวอรี่โคสต์ด้วยปริมาณมากกว่า 400,000 ตัน รองลงมาคือจีน 220,000 ตัน และฟิลิปปินส์มากกว่า 130,000 ตัน ในทำนองเดียวกัน ข้าวหักถูกส่งออกไปยัง 10 ประเทศ ส่วนใหญ่จะเป็นจีน 210,000 ตัน ตามด้วยเนเธอร์แลนด์ 160,000 ตัน และเบลเยียม 79,000 ตัน ปัจจุบันในปีงบประมาณ 2563-2564 มีการส่งออกข้าวไปตลาดต่างประเทศกว่า 2 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 700 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/rice-exports-through-border-show-big-slump-in-past-mini-budget-period/#article-title

“ราคาข้าวในประเทศดิ่ง” จากการบริโภคที่หดตัวลง

สหพันธ์ข้าวเมียนมา (MRF) เผย ราคาข้าวทั้งคุณภาพสูงและช้าวคุณภาพต่ำในประเทศลดลงเล็กน้อย ในตอนนี้ ข้าวหอม “Pearl Paw San” ราคาอยู่ที่ 47,000 จัตต่อถุง ลดลงเหลือ 46,000 จัตต่อ ในทำนองเดียวกัน ราคาข้าว. “Kyarpyan” อยู่ในช่วง 49,000-50,000 จัตต่อถุง ขยับลดลงเหลือ 47,500-48,000 จัตต่อถุง ในทำนองเดียวกัน ก่อนหน้านี้ ราคาข้าวคุณภาพต่ำตั้งไว้ที่ 26,500 จัตต่อถุง แต่ปัจจุบันลดลงเหลือ 25,000 จัตต่อถุง ข้าวอายุ 90 วัน ซื้อขายกันในราคา 31,000 จัตต่อถุง แต่ตอนนี้มีราคาเพียง 30,000 วอนต่อถุงเท่านั้น โดย MRF ให้ข้อมูลว่าราคาข้าวที่ลดลงน่าจะเกิดจากความต้องการบริโภคข้าวในประเทศที่ลดน้อยลง

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/domestic-rice-price-falls-slightly/#article-title