กรมอาเซียนและผู้แทนไทยใน AICHR หารือร่วมกับภาคประชาสังคม เพื่อผลักดันการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในภูมิภาค

นางสาวอุศณา พีรานนท์ อธิบดีกรมอาเซียน และศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร. อมรา พงศาพิชญ์ ผู้แทนไทยในคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (ASEAN Intergovernmental Commission on Human Rights: AICHR) ได้เป็นประธานร่วมในการประชุมหารือระหว่างผู้แทนไทยใน AICHR กับภาคประชาสังคม ประจำปี 2566 ณ โรงแรม วี กรุงเทพฯ โดยมีผู้เข้าร่วมกว่า 80 คน ทั้งจากภาครัฐ ภาคประชาสังคม และภาควิชาการ ที่ประชุมได้ระดมสมองและให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางในการยกระดับบทบาทของผู้แทนไทยใน AICHR ผ่านการแลกเปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับพัฒนาการและแนวโน้มสำคัญด้านสิทธิมนุษยชนทั้งในไทยและอาเซียน เช่น ความเชื่อมโยงระหว่างสิทธิมนุษยชนกับมิติอื่น ๆ อาทิ สิ่งแวดล้อม และสุขภาพจิตและจิตสังคม (psychosocial) และการพิทักษ์สิทธิและเสรีภาพของเด็ก สตรี คนพิการ ผู้สูงอายุ แรงงานข้ามชาติ และกลุ่มเปราะบางอื่น ๆ ที่ประชุมเห็นพ้องกันว่า การบรรลุเป้าหมายด้านสิทธิมนุษยชนเป็นพื้นฐานไปสู่การการพัฒนาทางเศรษฐกิจและการพัฒนาที่ยั่งยืน และสนับสนุนให้ประเด็นสิทธิมนุษยชนได้รับการบรรจุไว้ในวิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียนภายหลังปี ค.ศ. 2025 (ASEAN Community’s Post-2025 Vision) ที่ประเทศสมาชิกอาเซียนอยู่ระหว่างการจัดทำการประชุมหารือฯ เป็นกิจกรรมที่กรมอาเซียนจัดขึ้นเป็นประจำ สอดคล้องกับนโยบายไทยในการส่งเสริมการคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิมนุษยชนและการสร้างสังคมที่ครอบคลุมสำหรับทุกคน และสะท้อนความมุ่งมั่นจะเชิญชวนทุกภาคส่วนของสังคมเข้ามาเป็นหุ้นส่วนในการผลักดันวาระสำคัญนี้

ที่มา : https://thainews.prd.go.th/th/news/detail/TCATG231006130657302

ความรู้สึกต่อต้านจีนพุ่งสูงขึ้นในเมียนมา หลังกระแสการประท้วงและการโจมตี

นาย ฉิน กัง รัฐมนตรีต่างประเทศของจีน หารือกับนาย มิน อ่อง หล่าย ผู้นำรัฐบาลทหารเมียนมา เมื่อวันที่ 2 พ.ค. นับเป็นครั้งแรกที่มีเจ้าหน้าที่ระดับสูงของจีนพบปะกับผู้นำรัฐบาลเมียนมา ตั้งแต่รัฐประหารในปี 2564 โดยการเยือนของรัฐมนตรีต่างประเทศในครั้งนี้ไม่เพียงแต่แสดงมิตรภาพระหว่างเมียนมาและจีน แต่ยังสนับสนุนรัฐบาลปักกิ่งในเวทีโลก และหวังว่าเมียนมาและจีนจะคงรักษามิตรภาพ “ฉันพี่น้อง” ที่ยาวนาน ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 10 พ.ค. เกิดการประท้วงในต่างประเทศ โดยชาวเมียนมาที่ชุมนุมประท้วงนอกสถานทูตจีนในลอนดอน ได้ชูป้ายที่มีข้อความว่าจีนช่วยให้กองทัพละเมิดสิทธิมนุษยชนของประชาชน รัฐบาลทหารของเมียนมาเป็นองค์กรก่อการร้าย หยุดสนับสนุนผู้ก่อการร้ายและทรัพยากรของเมียนมาไม่ใช่ของจีน นอกจากนี้ คณะประสานงานการหยุดงานประท้วง (GSCB) ซึ่งเป็นเครือข่ายของกองกำลังต่อต้านรัฐบาลเมียนมายังได้ส่งจดหมายเปิดผนึกถึงชุมชนชาวจีนทั่วโลก ขอให้รัฐบาลจีนหยุดสนับสนุนรัฐบาลเมียนมาและแสดงความเห็นอกเห็นใจต่อประชาชนชาวเมียนมา

ที่มา : https://www.irrawaddy.com/news/burma/anti-china-sentiment-surges-in-myanmar-with-wave-of-protests-and-attacks.html

รัฐบาลเมียนมาเดินหน้าควบคุมกิจการแพประมง

กรมประมงจะทำการจดทะเบียนธุรกิจแพประมงที่จ้างคนงาน 30 คนขึ้นไปเพื่อจัดการกับปัญหาเรื่องการบังคับใช้แรงงานและการละเมิดสิทธิมนุษยชน ภายใต้กฎระเบียบใหม่ผู้ประกอบการแพตกปลาอาจจ้างเฉพาะคนงานที่มีบัตรประชาชนและรับรองว่าไม่มีการบังคับใช้แรงงาน ในระหว่างการประชุมกับสมาชิกสภานิติบัญญัติผู้ประกอบการเห็นด้วยกับรายการตรวจสอบ 16 จุดเพื่อตรวจสอบการดำเนินธุรกิจ สำหรับบทลงโทษที่ฝ่าฝืนจะปรับสูงถึง 3 ล้านจัต (2,000 ดอลลาร์สหรัฐ) และการห้ามทำประมงสามเดือน เมื่อปีที่แล้วมีรายงานว่ามีผู้เสียชีวิตกว่า 100 คนได้รับบาดเจ็บบาดเจ็บหรือสูญหายเนื่องจากการล่องแพในเขตอิระวดี เมื่อปลายปีที่แล้วมีรายงานว่านักศึกษาของ Dagon University ถูกค้ามนุษย์และถูกบังคับให้ทำงานบนแพตกปลาก่อนที่จะถูกช่วยเหลือไว้ได้ทัน

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/government-moves-regulate-raft-fishing-businesses.html