การสำรวจสำมะโนเกษตรกร เปิดเผยเกษตรกรเข้าถึงการศึกษาในระดับต่ำ

การสำรวจสำมะโนเกษตรกรครั้งที่ 3 พบว่าการเข้าถึงการศึกษาของเกษตรกรมีน้อยลง โดยร้อยละ 28 ของเกษตรกรไม่เคยเข้าเรียนในโรงเรียน ร้อยละ 31 เรียนจบแค่ชั้นประถมศึกษา ร้อยละ 14 จบมัธยมศึกษาตอนต้น และเพียงร้อยละ 6 จบมัธยมศึกษาตอนปลายด้านผู้หญิงยังมีการศึกษาน้อยกว่าผู้ชาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยผู้หญิงร้อยละ 32 ไม่เคยไปโรงเรียน สำมะโนเกษตรกรดังกล่าวดำเนินการโดยสำนักสถิติลาวและกระทรวงการวางแผนและการลงทุนโดยความร่วมมือกับกระทรวงเกษตรและป่าไม้ และได้รับการสนับสนุนจากองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ความร่วมมือครั้งนี้เป็นการรวมตัวกันของผู้เชี่ยวชาญหลายคนในด้านสถิติและการเกษตร เพื่อรับประกันความเกี่ยวข้องของข้อมูลที่ออกมา และยังเป็นการสำรวจสำมะโนการเกษตรแห่งแรกในสปป.ลาวที่ใช้โหมดการสัมภาษณ์ส่วนตัวโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการเก็บรวบรวมข้อมูลการใช้วิธีนี้แสดงถึงความพยายามของสำนักสถิติลาวและกระทรวงเกษตรและป่าไม้ในการเปลี่ยนไปใช้วิธีดิจิทัลในการรวบรวมข้อมูล ผลการสำรวจสำมะโนเบื้องต้นจะเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับรัฐบาลในการดำเนินการตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจสังคมและชนบทอย่างมีประสิทธิผล เพื่อปรับปรุงมาตรฐานการครองชีพในพื้นที่ชนบทข้อมูลที่ได้รับยังมีความสำคัญต่อความสำเร็จของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9 และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนภายใต้วาระ 2030
ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Farmers250.php

สปป.ลาวกับการแก้ไขผลกระทบของ COVID-19 นอกเหนือจากภาคสุขภาพ

องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (UN FAO) และโครงการอาหารโลก (WFP) บ่งชี้ถึงการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของประเทศการว่างงานและความยากจนที่เพิ่มขึ้นและความต้องการสินค้าเกษตรลดลงอย่างมาก นำไปสู่ความไม่มั่นคงด้านอาหารมากขึ้นและการขาดสารอาหารโดยเฉพาะในพื้นที่ชนบท อีกทั้งในช่วงหลายปีที่ผ่านมาการเกิดภัยแล้ง น้ำท่วม การระบาดของโรคและภัยธรรมชาติอื่น ๆ ที่ทำลายล้างพื้นที่ต่างๆของสปป. ลาว ในเดือนพ.ค.มีการประเมิน FAO เพื่อพิจารณาผลกระทบเหล่านี้ในแขวงหลวงพระบาง สะหวันนะเขต เวียงจันทน์ พบว่าการระบาดของ COVID-19 และมาตรการกักกันทำให้คนสปป.ลาวอย่างน้อย 550,000 คนต้องตกงาน เกิดความไม่มั่นคงด้านอาหารในชุมชน นอกจากนี้การสูญเสียกำลังซื้อทำให้ยอดขายเนื้อสัตว์ลดลง 30% และผักลดลง 40% แม้ว่าความต้องการสินค้าเกษตรจะลดลง แต่ราคาเนื้อสัตว์และข้าวสูงขึ้น ในขณะที่ราคาผักลดลง และในช่วงระยะเวลาและการแพร่กระจายของ COVID-19 ได้ขจัดโอกาสในระยะสั้นและระยะยาวสำหรับอุตสาหกรรมการ นอกจากนี้การปิดพรมแดนระหว่างประเทศส่งผลให้การส่งออกในระดับภูมิภาคและการเข้าถึงปัจจัยการผลิตและผลผลิตทางการเกษตร

ที่มา : http://kpl.gov.la/En/Detail.aspx?id=53365