แรงงานภาคการท่องเที่ยวกัมพูชากว่า 5 หมื่นรายกำลังได้รับผลกระทบ

กระทรวงการท่องเที่ยวระบุตัวเลขจำนวนการเลิกจ้างงานเกือบ 51,000 ตำแหน่งในภาคการท่องเที่ยว จากธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวจำนวนกว่า 2,838 ราย ในกัมพูชาที่ต้องปิดตัวลงหรือทำการปิดชั่วคราวเนื่องจากผลกระทบจาก COVID-19 โดยในการประชุมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจการท่องเที่ยวในช่วงการระบาดของ COVID-19 ซึ่งจัดขึ้นที่จังหวัดเสียมราฐเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา โดยรัฐบาลวางแผนเพื่อฟื้นฟูภาคส่วนเชิงกลยุทธ์ที่สำคัญ เช่นแผนงานในการฟื้นฟูและส่งเสริมภาคการท่องเที่ยวของกัมพูชา (ปี 2020-2035) และแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาการท่องเที่ยว (2021-2030) เพื่อรองรับต่อสถานการณ์ธุรกิจด้านการท่องเที่ยวในช่วง COVID-19 ซึ่งรัฐบาลกัมพูชาได้เพิ่มมาตรการที่ 6 เพื่อจัดการผลกระทบต่อภาคส่วนสำคัญของเศรษฐกิจของประเทศต่อไป รวมถึงมาตรการภาษี มาตรการคุ้มครองแรงงาน และการยกเว้นค่าธรรมเนียมการต่ออายุใบอนุญาตการท่องเที่ยวทั่วประเทศ โดยจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งหมดในกัมพูชาในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2020 ลดลงกว่าร้อยละ 74.1 ตามรายงานของกระทรวงการท่องเที่ยว

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50780626/51000-tourism-based-jobs-in-cambodia-vapourised-because-of-covid-10-pandemic/

สปป.ลาวกับการแก้ไขผลกระทบของ COVID-19 นอกเหนือจากภาคสุขภาพ

องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (UN FAO) และโครงการอาหารโลก (WFP) บ่งชี้ถึงการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของประเทศการว่างงานและความยากจนที่เพิ่มขึ้นและความต้องการสินค้าเกษตรลดลงอย่างมาก นำไปสู่ความไม่มั่นคงด้านอาหารมากขึ้นและการขาดสารอาหารโดยเฉพาะในพื้นที่ชนบท อีกทั้งในช่วงหลายปีที่ผ่านมาการเกิดภัยแล้ง น้ำท่วม การระบาดของโรคและภัยธรรมชาติอื่น ๆ ที่ทำลายล้างพื้นที่ต่างๆของสปป. ลาว ในเดือนพ.ค.มีการประเมิน FAO เพื่อพิจารณาผลกระทบเหล่านี้ในแขวงหลวงพระบาง สะหวันนะเขต เวียงจันทน์ พบว่าการระบาดของ COVID-19 และมาตรการกักกันทำให้คนสปป.ลาวอย่างน้อย 550,000 คนต้องตกงาน เกิดความไม่มั่นคงด้านอาหารในชุมชน นอกจากนี้การสูญเสียกำลังซื้อทำให้ยอดขายเนื้อสัตว์ลดลง 30% และผักลดลง 40% แม้ว่าความต้องการสินค้าเกษตรจะลดลง แต่ราคาเนื้อสัตว์และข้าวสูงขึ้น ในขณะที่ราคาผักลดลง และในช่วงระยะเวลาและการแพร่กระจายของ COVID-19 ได้ขจัดโอกาสในระยะสั้นและระยะยาวสำหรับอุตสาหกรรมการ นอกจากนี้การปิดพรมแดนระหว่างประเทศส่งผลให้การส่งออกในระดับภูมิภาคและการเข้าถึงปัจจัยการผลิตและผลผลิตทางการเกษตร

ที่มา : http://kpl.gov.la/En/Detail.aspx?id=53365