แก้วมังกรราคาดี สร้างรายได้งาม ให้เกษตรกร ตำบลงาเพ

ผลแก้วมังกรที่ปลูกในหมู่บ้านปิ่นอู ตำบลงะแพ อำเภอมี่นบู้ เขตมะกเว ด้วยระบบน้ำชลประทานให้ผลผลิตสูงเป็นที่น่าพอใจ ซึ่งทำรายได้ให้กับครัวเกษตรกรได้เป็นอย่างดี เกษตรกรเริ่มปลูกแก้วมังกรในเดือนม.ค.2560 แก้วมังกรมีอายุมากกว่าห้าปี ออกผลภายหลังการปลูก 6 เดือน ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในการเพาะปลูก สามารถเก็บเกี่ยวถึงเจ็ดครั้งต่อปี เมื่อปีที่ผ่านมามีผลผลิตแก้วมังกรประมาณ 10,000 ลูกส่วนใหญ่ถูกส่งไปยังเขตมะกเว และย่างกุ้ง ราคาจะอยู่ในช่วง 400 – 750 จัต สามารถสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำให้กับเกตรกร

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/dragon-fruit-selling-well-in-ngaphe-township/

แตงโมล้นตลาด แนะเกตรกรแก้ปัญหาลดพื้นที่เพาะปลูกลง 50%

ผลผลิตแตงโมที่ออกมาล้นตลาด เกตรกรได้รับการแนะนำให้ลดพื้นที่การเพาะปลูกลง 50% สำหรับฤดูการที่จะมาถึง การส่งออกแตงโมลดลงจากปีที่แล้วอย่างชัดเจน เห็นได้จากรถบรรทุกแตงโมประมาณ 30,000 คัน และแตงเมล่อน 12,000 คัน ถูกส่งไปยังจีนแตส่งผลกระทบเสียหายแตงโมถูกทิ้งหรือเน่าเสีย เนื่องจากผลผลิตล้นตลาด การขนส่งล่าช้า และการเข้มงวดของมาตรการควบคุมการระบาดของโควิด-19 บริเวณชายแดนสำคัญของเมียนมา-จีน เช่น ชายแดนรุ่ยลี่ ล่าสุดพบผู้ติดเชื้อทำให้ต้องใช้มาตรการล็อกดาวน์ และเริ่มตรวจหาเชื้อทันที ส่งผลให้การซื้อขายเกิดความล่าช้า โดยต้องใช้เวลาประมาณ 1 เดือนกว่ารถบรรทุกจะเข้าสู่จุดตรวจ รถบรรทุกแตงโม (พันธุ์ 855) ราคาอยู่ที่ 45,000-65,000 หยวนต่อตัน ในเดือนมีนาคม ราคาลดฮวบเหลือ 13,000 หยวน ก่อนหน้านี้ตลาดแตงโมของเมียนมาร์พึ่งพาจีนเป็นหลัก ปัจจุบันเมียนมาส่งแตงโมไร้เมล็ดจำนวน 45 ตันไปยังตลาดดูไบในเดือนธันวาคม 2563 และมกราคม 2564 หลังจากที่ประเทศประสบความสำเร็จในตลาดดูไบ มีแผนที่จะขยายตลาดไปยังฮ่องกง สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และกาตาร์ เมื่อวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2564 ศูนย์ขนถ่ายสินค้าผลไม้หลักไมล์ 105 ได้มีการกำหนดจำนวนรถบรรทุกแตงโมและแตงโมเพื่อการส่งออกเพื่อการส่งออก ทั้งนี้ เมียนมาส่งออกแตงโมกว่า 800,000 ตันต่อปี และเมล่อนประมาณ 150,000 ตันไปยังจีนทุกปี

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/watermelon-growers-suggested-50-production-drop-next-growing-season/

เกษตรกรเมืองนะเมาะเพาะลูกไก่ขายสร้างกำไรงาม !

เกษตรกรเมืองนะเมาะ เขตมะกเว ทำฟาร์มไก่สร้างกำไรให้ครัวเรือนได้อย่างน่าพอใจ การเลี้ยงไก่จะใช้เวลาเลี้ยงในตู้ฟักเป็นเวลา 21 วัน จากนั้นจะได้รับวัคซีนทันทีที่นำออกจากเครื่อง โดยราคาขายจะอยู่ที่ 1,800 จัตต่อไก่ปกติ และ 8,000 จัตต่อไก่เนื้อ อาหารที่ใช้เลี้ยงคือ ปลายข้าว ข้าวโพด และรำข้าว นอกจากนี้ยังใช้แพงพวยและหญ้าเลี้ยงสัตว์เป็นอาหาร การทำฟาร์มเลี้ยงไก่สร้างกำไรให้เกษตรกรเป็นอย่างมาก ลูกค้าส่วนใหญ่มาจากเมืองนาเมาะและปยอ-บแว

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/natmauk-residents-run-small-scale-baby-chick-production/#article-title

เกษตรกรปลูกมันบุกเสริม สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำ

เกษตรกรเมืองไจโดน รัฐกะเหรี่ยง กำลังปลูกมันบุกที่สวนหลังบ้านภายในครัวเรือนกันอย่างแพร่หลายซึ่งโตได้ดีโดยไม่ต้องใช้ปุ๋ย และสสามารถเก็บเกี่ยวได้ภายใน 3 ปี  ผลที่ได้ประมาณ  1-5 หัว  ปีที่แล้วราคาหัวมันเทศสดสูงสุด 1,500 K ต่อ viss (viss เท่ากับ 1.6 กก.) ส่วนใหญ่ส่งออกไปยัง จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/manageable-scale-elephant-foot-yam-growers-earn-extra-income/#article-title

เกษตรกรแห่ปลูกกระเจี๊ยบมอญ สร้างรายได้งามตลอดปี

เกษตรกรเขตซะไกง์ ปลูกกระเจี๊ยบมอญ (Okra) ได้ตลอดทั้งปี สร้างรายได้งามให้เกษตรกร ซึ่งต้นทุนการเพาะปลูกประมาณ 300,000 จัต ซึ่งรวมปุ๋ย เมล็ดพืช ยาฆ่าแมลง และการไถพรวนเข้าไปด้วย กระเจี๊ยบมอญเหมาะที่จะปลูกในอากาศร้อน และผลผลิตจะลดลงในฤดูหนาว โดยสามารถวางขายได้สองเดือนหลังจากการเพาะปลูกทำให้เกษตรกรมีรายได้ต่อวันกว่า 50,000 จัต ทั้งนี้ในช่วงฤดูหนาวและฤดูร้อนเกษตรกรมักจะปลูกพริก แตงกวา หัวหอม ข้าวโพด ดอกเบญจมาศ ดอกแกลดิโอลัส กะหล่ำดอก กะหล่ำปลี และมะเขือเทศ ในขณะที่เกษตรกรส่วนใหญ่เลือกปลูกกระเจี๊ยบมอญในฤดูมรสุมเนื่องจากสามารถปลูกได้ผลดีแม้ในฤดูฝน

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/lucrative-ladies-fingers-attract-farmers-to-grow-all-year-round/

เกษตรกรเมืองจอกเซเฮ! ผลผลิตงาได้ราคาดี

เกษตรกรผู้ปลูกงาจากเมืองจอกเซ มัณฑะเลย์ ดีใจกับผลผลิตและราคาที่ดี สร้างความพึงพอใจให้กับเกษตรกรเป็นอย่างมาก เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น งามี 2 ประเภท คือ งาตะลินและงาตวง ปัจจุบันงา 1 ตะกร้าราคาจะอยู่ที่ 4,700 จัต. เมล็ดงาส่วนใหญ่จะใช้เป็นเครื่องปรุง ส่วนผสมในอาหารบางชนิด และแปรรูปเป็นขนมขบเคี้ยว ผลิตภัณฑ์งายอดนิยมคือน้ำมันงา ซเนื่องจากมีประโยชน์ต่อสุขภาพ และน้ำมันงายังถูกนำมาใช้ทำเป็นยาแผนโบราณอีกด้วย

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/kyaukse-sesame-growers-happy-with-fair-price-bumper-yield/#article-title

เกษตรกรมโหย่ติ ประสบผลสำเร็จในการปลูกงาได้ตลอดทั้งปี

ชาวบ้านในพญายี อำเภอมโหย่ติ จังหวัดมะกเว เขตมะกเว ประสบความสำเร็จในการใช้น้ำบาดาลปลูกงาดำตลอดทั้งปี เกษตรกรมีการไถไร่อย่างเป็นระบบ งาดำเริ่มปลูกเมื่อวันที่ 24 เมษายน 64 หลังจากมีเรือนเพาะชำแล้ว จะทำการปลูกบนพื้นที่ขนาด 1 เอเคอร์ และรดน้ำด้วยผ่านท่อด้วยระบบสปริงเกอร์งาสามารถให้ผลผลิตได้หลังจากปลูก 100 วัน งามีการปลูกในประเทศตลอดทั้งปี โดยเฉพาะเมียนมาร์ปลูกงาขาว งาดำ ปัจจุบันเมียนมาส่งออกงาไปยังจีนส่วนใหญ่ผ่านเส้นทางชายแดน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/cultivation-of-sesame-succeeds-in-myothit/#article-title

เกษตรกรเมือง Kyaukse ปลื้ม ขายมะนาวได้ราคาดี

เกษตรกรผู้ปลูกมะนาวเมือง Kyaukse เขตมัณฑะเลย์เผยค่อนข้างพอใจกับการขายผลมะนาว เนื่องจากปลูกและดูแลได้ง่าย ให้ผลผลิตสูง และเก็บจำหน่ายได้เกือบตลอดทั้งปี ทั้งนี้พบว่าราคาหน้าสวนขายได้ 100-150 จัตต่อ 1 ลูกขึ้นอยู่กับขนาด สามารถสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำให้กับเกษตรกรผู้ปลูกเป็นอย่างดี

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/lemon-growers-in-kyaukse-happy-with-good-sale-of-lemon-fruits/#article-title

เกตรกรมัณฑะเลย์ เฮ! ปลูกมะเขือเทศไต้หวันได้กำไรงาม

เกษตรกรผู้ปลูกมะเขือเทศในเขตมัณฑะเลย์ได้ราคาดีจากการขายมะเขือเทศไต้หวันจากการที่ผลผลิตในปีนี้ลดลงเพราะการระบาดของ COVID-19 แม้ว่าผลผลิตของตลาดจะอยู่ในระดับต่ำ แต่ปีนี้ราคามพเขือเทศจะอยู่ที่ 800 ถึง 1,000 จัดต่อ Viss (1.6 กิโลกรัม) ในขณะที่ปีที่แล้วราคาจะอยู่แค่ 300 ถึง 400 จัตเท่านั้น ผลผลิตลดต่ำลงเนื่องจากการเพาะปลูกที่ลดลง ส่งผลให้ราคาสูงขึ้นเนื่องจากความต้องการของตลาด ต้นทุนในการปลูกอยู่ระหว่าง 1.5 – 2 ล้านจัต ต่อเอเคอร์ในการปลูกและเกษตรกรมีแผนจะปลูกเพิ่มขึ้นในปีนี้เนื่องจากแนวโนมมีราคาดีขึ้น มะเขือเทศไต้หวันปลูกปีละ 2 ครั้งในเดือนมกราคมและกันยายน เป็นพืชที่ให้ดีสำหรับเกษตรกรเนื่องจากให้ผลผลิตเป็นที่น่าพอใจ

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/e-paper/

ปลูกถั่วเขียวช่วงหน้าร้อน สร้างกำไรงามให้เกษตรกรเมืองญองอู้

เกษตรกรเมืองญองอู้ เขตมัณฑะเลย์ กำลังเร่งการปลูกถั่วเขียวในช่วงฤดูร้อนโดยการใช้น้ำบาดาลและใกล้เข้าสู่การเก็บเกี่ยวคาดผลผลิตราคาพุ่ง 39,000 จัตต่อตะกร้า ซึ่งเกษตรกรจะเริ่มหว่านเมล็ดในเดือนมีนาคมโดยการใช้น้ำบาดาล หลังจากนั้นสองเดือนก็เริ่มให้ผลผลิตสามารถนำไปขายได้ ในการเก็บเกี่ยวแต่ละเอเคอร์ต้องการคนงานประมาณ 20 คน ค่าแรงต่อหัวอยู่ที่ 3,000 จัตต่อวัน ถั่วเขียวที่เก็บเกี่ยวจะนำไปตากแดดให้แห้งก่อนที่จะขายให้กับผู้ที่มารับซื้อ ถั่วเขียวแต่ละตะกร้าที่ขายจะมีน้ำหนัก 19 visses ราคาอยู่ที่ 39,000 จัต ซึ่งสร้างความพึงพอใจให้เกษตรกรเป็นอย่างมาก

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/summer-green-gram-growing-using-underground-water-gets-good-price/#article-title