สวิตเซอร์แลนด์พร้อมสนับสนุนส่วนความปลอดภัยเขื่อนใน สปป.ลาว

สวิตเซอร์แลนด์มอบเงินกว่า 5.2 ล้านดอลลาร์ เพื่อสนับสนุนความช่วยเหลือด้านเทคนิคและการจัดตั้งสถาบันด้านความปลอดภัยเขื่อนใน สปป.ลาว โดยได้บันทึกความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการเพื่อความปลอดภัยทางเขื่อนใน สปป.ลาว ระหว่าง นาย Bouathep Malaykham อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพลังงานและการจัดการความปลอดภัย ร่วมกับ นาย Jesper Lauridsen ผู้อำนวยการ Helvetas Swiss Intercooperation Laos โดยโครงการนี้มุ่งเน้นไปที่สามส่วนสำคัญ ได้แก่ การเพิ่มขีดความสามารถทางเทคนิคให้แก่กระทรวงพลังงานและเหมืองแร่ ให้สามารถทำหน้าที่เป็นหน่วยงานกำกับดูแลความปลอดภัยของเขื่อนอย่างมีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติที่เกิดจากข้อบกพร่องในการออกแบบ การก่อสร้าง การบำรุงรักษา การเฝ้าระวัง และการดำเนินการตามมาตรการป้องกันด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม ประเด็นต่อมาเพื่อหวังเสริมสร้างกรอบการใช้กฎหมายให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากลและให้การสนับสนุนแผนกการจัดการพลังงานและความปลอดภัยในอุตสาหกรรมที่จัดตั้งขึ้นใหม่ ส่วนประเด็นสุดท้ายเพื่อหวังสนับสนุนการฝึกอบรมด้านความปลอดภัยทางเขื่อนในการจัดตั้งสถาบันเพื่อสร้างกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยของเขื่อน นอกจากนี้ยังให้ความคุ้มครองที่ดีขึ้นสำหรับประชากรประมาณกว่า 1.5 ล้านคน ที่อาศัยอยู่ท้ายเขื่อน และถือเป็นส่วนสำคัญในการสร้างแหล่งผลิตพลังงานที่ยั่งยืนให้แก่ สปป.ลาว

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_148_switzerland_y23.php

สปป.ลาวอนุญาตให้บริษัทเอกชนศึกษาการสร้างสายส่งไฟฟ้าไปเวียดนาม

รัฐบาลสปป.ลาวได้ให้ไฟเขียวสำหรับบริษัทเอกชนสองแห่งในการศึกษาความเป็นไปได้ในการก่อสร้างสายส่งไฟฟ้าขนาด 220kV ซึ่งจะนำไฟฟ้าจากเขื่อน 5 แห่งทางตอนเหนือของสปป.ลาวไปยังเวียดนาม หากการศึกษาได้รับการอนุมัติ สายการผลิตจะส่งกระแสไฟฟ้าจากเขื่อนน้ำอู๋ที่ 3, 4, 5, 6 และ 7 ผ่านจังหวัดหลวงพระบางและจังหวัดพงสาลีไปยังเวียดนาม การศึกษาความเป็นไปได้จะใช้เวลา 18 เดือน และหากผลลัพธ์เป็นบวก การก่อสร้างในสายการผลิตจะเริ่มทันทีหลังจากนั้น การเคลื่อนไหวนี้เกิดขึ้นในบริบทที่สปป.ลาวต้องการเพิ่มการส่งออกไฟฟ้าเพื่อตอบสนองความต้องการพลังงานที่เพิ่มขึ้นของเวียดนาม ปัจจุบันสปป.ลาวส่งออกไฟฟ้ามากกว่า 6,423MW ส่วนใหญ่ไปยังประเทศเพื่อนบ้านรวมถึงเวียดนาม

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/laos-allows-private-firms-to-study-building-power-line-to-vietnam-post922950.vov

ไซยะบุรี สู่ หลวงพระบาง เขื่อนใหม่บนความกังวล 2 ฝั่งโขง

น้ำโขงจัดเป็นแม่น้ำนานาชาติที่ 6 ประเทศ จีน-เมียนมา-ไทย-ลาว-กัมพูชา-เวียดนาม ใช้ประโยชน์ร่วมกันมาซึ่งที่ผ่านมาประเทศที่ใช้ประโยชน์จากแม่น้ำโขงโดยเฉพาะอย่างยิ่งคือจีน ได้เริ่มโครงการก่อสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำโขงเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า ส่งผลให้แม่น้ำโขงเกิดการเปลี่ยนแปลงตามมาด้วยโครงการก่อสร้างเขื่อนยกระดับน้ำโขงเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าใน สปป.ลาว ที่เพิ่งเปิดดำเนินการอย่าง เขื่อนไซยะบุรี เขื่อนนี้ถูกวิพากษ์วิจารณ์จากชุมชน และภาคประชาสังคมทั้งในไทยและ สปป.ลาว ในเรื่องของระบบนิเวศ การทำประมง แต่ถึงอย่างไรล่าสุด สปป.ล่าวได้เริ่มดำเนินโครงการเขื่อนหลวงพระบาง จัดเป็นโครงการไฟฟ้าพลังน้ำที่ “ถอดแบบ” มาจากเขื่อนไซยะบุรีโดยโครงการนี้มีผู้ร่วมทุน 3 ประเทศ ประกอบด้วย เวียดนาม สปป.ลาว  ไทย อย่างไรก็ตามชาวบ้านส่วนใหญ่ต่างกังวลกับโครงการก่อสร้างเขื่อนไม่ต่างกับเขื่อนแห่งอื่นๆ มีการกล่าวกันว่า น้ำในแม่น้ำโขงลดต่ำลง เป็นเพราะจีนไม่ปล่อยน้ำจากเขื่อนทำให้การก่อสร้างครั้งจะต้องมีการศึกษาอย่างระเอียดทั้งในแง่ของพลังงานและระบบนิเวศที่มั่นคงและปลอดภัย 

ที่มา : https://www.prachachat.net/economy/news-407210

ข้อตกลงสร้างเขื่อนในกัมพูชามูลค่าโครงการ 800,000 เหรียญสหรัฐในการบำบัดน้ำ

บริษัทผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ Sinohydro Kamchay ของจีนวางแผนที่จะเริ่มก่อสร้างฝายน้ำล้นมูลค่า 800,000 เหรียญสหรัฐในจังหวัดกำปอต ซึ่งการประกาศดังกล่าวได้มีการลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MoU) ระหว่างกระทรวงอุตสาหกรรมและหัตถกรรมกับบริษัทไฟฟ้าพลังน้ำ Sinohydro Kamchay โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและหัตถกรรมกล่าวว่าการเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ที่ครอบคลุมเป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของมิตรภาพที่แข็งแกร่งระหว่างกัมพูชาและจีน ซึ่งโครงการจะสามารถกักเก็บน้ำได้ 1,770 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปีจากเขื่อนใน Preak Kampong Bai และจะไหลผ่านเขื่อนพลังน้ำใน Kamchay และจะถูกนำไปผ่านกระบวนการบำบัดที่โรงงานบำบัดน้ำที่กัมปอตโดยให้น้ำที่ผ่านการบำบัด 22 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี โดยเขื่อนแห่งใหม่จะมีส่วนช่วยในการพัฒนาแหล่งน้ำสะอาดในกัมพูชาโดยเฉพาะในจังหวัดกำปอด

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50700257/800k-dam-deal-inked-to-provide-clean-water