การขาดแคลนเหล็กที่ใช้ในการก่อสร้าง ส่งผลให้ราคาสูงขึ้น

เจ้าหน้าที่จากร้านขายส่งเหล็กกลวงในเมืองดากองเมียวทิต (ใต้) กล่าวว่า ในปัจจุบัน ราคาเหล็กกลวงได้พุ่งสูงขึ้นเนื่องจาก อุปทานในตลาดมีน้อย แม้แต่บริษัทผู้ผลิตก็ยังขายในราคาที่สูงขึ้น โดยในเดือนเมษายน พฤษภาคม และมิถุนายน มียอดขายที่ดีอย่างต่อเนื่อง เนื่องจาก มีการซ่อมแซมอาคาร เช่น การซ่อมแซมหลังคา มักจะดำเนินการก่อนฤดูมรสุม และในช่วงมรสุมจะมีการปูพื้นหินอ่อนและขัดหินอ่อนภายใน เหล็กมักขายดีในช่วงนี้ อย่างไรก็ดี เนื่องจากอุปทานเหล็กที่ใช้ในการก่อสร้างมีน้อย ราคาจึงดี และคาดว่าการขายจะเริ่มดำเนินการได้ในเดือนหน้า ตามข้อมูลของร้านค้าวัสดุก่อสร้าง ก่อนฤดูมรสุมนี้คาดว่าการขายเหล็กกลวงที่ใช้ในการก่อสร้างจะเพิ่มมากขึ้น และในปัจจุบันราคาได้สูงขึ้นเนื่องจากการขาดแคลนอุปทาน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/construction-iron-shortage-leads-to-higher-price/

ใบอนุญาตก่อสร้าง 147 ใบ ได้รับการอนุมัติในพื้นที่โดย YCDC ในช่วงครึ่งเดือนแรกของมกราคม

มีการออกใบอนุญาตก่อสร้างทั้งหมด 57 ฉบับภายในขอบเขตของคณะกรรมการพัฒนาเมืองย่างกุ้ง (YCDC) ในสัปดาห์ที่สองของเดือนมกราคม นอกจากนี้ เกี่ยวกับการยื่นขอ Building Complete Certificate (BCC) มีการออกใบอนุญาตก่อสร้างแล้ว 147 ฉบับภายในสองสัปดาห์แรกของเดือนมกราคม โดยใบรับรองการสร้างเสร็จของอาคาร (BCC) ได้รับการอนุมัติสำหรับอาคาร 41 หลัง และรายชื่ออาคาร 25 หลังที่มีการยื่นขอใบรับรองการสร้างเสร็จของอาคาร ตั้งแต่ 4 ถึง 17 ห้องได้ถูกส่งต่อไปยังบริษัท Yangon Electricity Supply Corporation (YESC) และได้ส่งการรับรองไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว อย่างไรก็ตาม ในการขอใบรับรองการสร้างเสร็จของอาคารจำเป็นต้องรวม Standard Operation Procedure (SOP) เพื่อสื่อสารกับการไฟฟ้าฯ โดยเจ้าของที่ดินและผู้รับเหมาที่ได้รับใบอนุญาตในการรับไฟฟ้า ซึ่งในสัปดาห์นี้ ผู้รับเหมาที่ได้รับใบอนุญาตจะได้รับเชิญให้เข้าร่วมการประชุมเพื่อขอรับ BCC และติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้าสำหรับอาคารต่างๆ โดยมีบริษัท Yangon Electricity Supply Corporation YESC เป็นผู้รับผิดชอบในการติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้า

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/147-construction-permits-granted-in-ycdc-area-in-h1-jan/#article-title

กัมพูชาตั้งเป้า ดึงทุนจีนพัฒนาภาคอสังหาริมทรัพย์

ประธานสมาคมผู้ประเมินราคาและตัวแทนอสังหาริมทรัพย์แห่งกัมพูชา (CVEA) กล่าวว่า นักลงทุนชาวจีนกำลังมองหาการลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้างในกัมพูชาเพิ่มมากขึ้น โดยมีความเป็นไปได้ที่จะลงทุนในจังหวัดพระสีหนุ พนมเปญ และจังหวัดอื่นๆ ที่มีศักยภาพ ซึ่งคาดว่าจะมีการวางแผนจัดตั้งโครงการการลงทุนเพิ่มเติมภายในสิ้นปีนี้ เนื่องจากปัจจุบันสถานการณ์โควิด-19 ในจีนยังไม่ดีขึ้นมากนัก ซึ่งประธาน CVEA ย้ำว่าหากพิจารณาจากสถานการณ์ภาคอสังหาริมทรัพย์ในตลาดกัมพูชา พบว่าปัจจุบันมีการเข้าซื้อที่ดิน และคอนโดมิเนียม เพิ่มขึ้นจากนักลงทุนในท้องถิ่น ในขณะที่ตั้งแต่กัมพูชาได้รับผลกระทบจากโควิด-19 การลงทุนของจีนในภาคการก่อสร้างลดลงกว่าร้อยละ 50 จึงทำให้ทางการกัมพูชาวางแผนที่จะเร่งดึงดูดนักลงทุนจากจีนกลับมาลงทุนยังกัมพูชาเพิ่มมากขึ้น

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501076977/cambodias-real-estate-sector-main-target-for-chinese-investment/

สปป.ลาวอนุญาตให้บริษัทเอกชนศึกษาการสร้างสายส่งไฟฟ้าไปเวียดนาม

รัฐบาลสปป.ลาวได้ให้ไฟเขียวสำหรับบริษัทเอกชนสองแห่งในการศึกษาความเป็นไปได้ในการก่อสร้างสายส่งไฟฟ้าขนาด 220kV ซึ่งจะนำไฟฟ้าจากเขื่อน 5 แห่งทางตอนเหนือของสปป.ลาวไปยังเวียดนาม หากการศึกษาได้รับการอนุมัติ สายการผลิตจะส่งกระแสไฟฟ้าจากเขื่อนน้ำอู๋ที่ 3, 4, 5, 6 และ 7 ผ่านจังหวัดหลวงพระบางและจังหวัดพงสาลีไปยังเวียดนาม การศึกษาความเป็นไปได้จะใช้เวลา 18 เดือน และหากผลลัพธ์เป็นบวก การก่อสร้างในสายการผลิตจะเริ่มทันทีหลังจากนั้น การเคลื่อนไหวนี้เกิดขึ้นในบริบทที่สปป.ลาวต้องการเพิ่มการส่งออกไฟฟ้าเพื่อตอบสนองความต้องการพลังงานที่เพิ่มขึ้นของเวียดนาม ปัจจุบันสปป.ลาวส่งออกไฟฟ้ามากกว่า 6,423MW ส่วนใหญ่ไปยังประเทศเพื่อนบ้านรวมถึงเวียดนาม

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/laos-allows-private-firms-to-study-building-power-line-to-vietnam-post922950.vov

การก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกสีหนุวิลล์ เลื่อนกำหนดการเป็นปี 2022

เจ้าหน้าที่อาวุโสกล่าวว่าการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกเฟสแรกของท่าเรือปกครองตนเองสีหนุวิลล์ (PAS) จำเป็นต้องเลื่อนการเริ่มก่อสร้างในเฟสแรกออกไปจนถึงช่วงปีหน้า โดยคาดว่าโครงการจะแล้วเสร็จภายในปี 2025 ซึ่งท่าเรือน้ำลึกแห่งนี้กำหนดความยาวไว้ที่ 350 เมตร และความลึกอยู่ที่ 14.50 เมตร รองรับเรือบรรทุกสินค้าที่กินน้ำลึกประมาณ 13 เมตร และเรือขนาดกลางที่มีความจุ 5,000 TEU โดยโครงการมีมูลค่าอยู่ที่ 218 ล้านดอลลาร์ได้รับการพัฒนาภายใต้ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการ (ODA) จากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งก่อนหน้านี้โครงการก่อสร้างมีกำหนดเริ่มการก่อสร้างในช่วงกลางปี 2021 ซึ่งการเลื่อนการก่อสร้างเป็นผลมาจากการออกแบบเลย์เอาต์ที่ช้ากว่าที่วางแผนไว้

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50930380/construction-of-first-deep-port-terminal-at-sihanoukville-rescheduled-for-2022/

นักลงทุนท้องถิ่นเร่งลงทุนสนับสนุนภาคการก่อสร้างกัมพูชา

ภาคการก่อสร้างกัมพูชาได้รับแรงหนุนจากนักลงทุนในท้องถิ่น หลังจากโครงการลงทุนจากนักลงทุนต่างประเทศหยุดชะงักจากผลกระทบของ COVID-19 โดยผู้จัดการทั่วไปของ Cambodia Constructors Association กล่าวว่าการระบาดครั้งนี้ทำให้การลงทุนจากต่างประเทศลดลงอย่างมากในโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ ซึ่งในปัจจุบันโครงการส่วนใหญ่ที่กำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้จะเป็นการลงทุนมาจากนักลงทุนในพื้นที่ โดยยังช่วยรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจด้วยการจ้างงานภายในภาคการก่อสร้าง โดยรายงานจากกระทรวงการจัดการที่ดินการวางผังเมืองและการก่อสร้าง (MLMUP) แสดงให้เห็นว่าการลงทุนในภาคการก่อสร้างของประเทศในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2020 มีมูลค่ารวม 5.8 พันล้านดอลลาร์ ลดลงมากกว่าร้อยละ 9 จาก 6.5 พันล้านดอลลาร์ในช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งภาคการก่อสร้างภายในประเทศสร้างงานมากกว่า 170,000 ตำแหน่ง โดยเฉลี่ยต่อวันทั่วประเทศในช่วงครึ่งแรกของปี 2020 เพิ่มขึ้นจาก 134,000 ตำแหน่ง เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50782454/local-investors-boost-construction-sector/

ภาคก่อสร้างเมียนมาหวั่นผลกระทบจากการ Work from Home

บริษัทรับเหมาก่อสร้างต่างกังวลเกี่ยวกับผลกระทบจากการทำงานจากที่บ้าน (WFH) ผลมาการระบาดของ COVID-19  โครงการ WFH ถูกนำมาใช้ร้อยละ 50 สำหรับพนักงานถูกนำมาใช้ในเดือนเมษายนและพฤษภาคม 63 ในช่วงการระบาดครั้งแรกของ COVID-19 แต่ถูกยกเลิกไปในเดือนมิถุนายนเมื่อจำนวนผู้ป่วยลดลง ขณะนี้อาจถูกนำกลับมาใช้เมื่อมีการระบาดอีกครั้ง แม้ว่าการ WFH สามารถนำมาใช้ในภาคธุรกิจที่ไม่ให้พนักงานมาทำงานที่สำนักงานได้ แต่เป็นการยากสำหรับภาคการก่อสร้างที่จะลดจำนวนคนงานในสถานที่ทำงาน  ขณะเดียวกันกำลังปฏิบัติตามคำแนะนำเพื่อป้องกันไม่ให้การดำเนินงานถูกระงับ ซึ่งภาคการก่อสร้างเป็นแหล่งที่ให้โอกาสในการทำงานมากที่สุดในตอนนี้  ปัจจุบันการก่อสร้างเเริ่มฟื้นตัวหลังจากหยุดชะงักระหว่างเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม 63 ซึ่งในช่วงดังกล่าวเอกชนรายย่อยบางรายเลิกกิจการเนื่องจากปัญหาการหมุนเวียนของกระแสเงินสด

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/construction-sector-myanmar-worried-over-work-home-order.html

การลงทุนในภาคการก่อสร้างของกัมพูชายังคงเห็นการเติบโต

กัมพูชาได้อนุมัติโครงการก่อสร้างกว่า 2,522 โครงการ ในช่วงครึ่งแรกของปี 2020 มูลค่ารวมกว่า 3.84 พันล้านดอลลาร์ ตามข้อมูลของกระทรวงการจัดการที่ดินการวางผังเมืองและการก่อสร้าง โดยตัวเลขดังกล่าวเพิ่มขึ้นประมาณร้อย 13 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีโครงการก่อสร้างราว 2,000 โครงการ มูลค่าประมาณ 3.39 พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งจากการลงทุนในช่วงครึ่งแรกของปี 2020 โครงการก่อสร้าง 2,000 โครงการมูลค่า 774 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 143 ได้รับอนุญาตจากหน่วยงานเทศบาลและจังหวัดทั่วประเทศ โดยโครงการก่อสร้างที่เหลืออีก 207 โครงการ มีมูลค่ามากกว่า 3 พันล้านดอลลาร์ที่ได้รับอนุญาตจากระดับกระทรวง

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50757441/cambodias-investment-in-construction-sector-registers-remarkable-rise-in-first-semester/

ที่ปรึกษารัฐบาลเมียนมาพร้อมหนุนภาคการก่อสร้าง

นางอองซานซูจีที่ปรึกษาแห่งรัฐกล่าวว่ารัฐบาลพร้อมให้การสนับสนุนการก่อสร้างโดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างงานให้มากขึ้น ซึ่งการก่อสร้างมีบทบาทสำคัญในการจัดหาที่อยู่อาศัยให้กับคนยากจนและในทางกลับกันก็ช่วยจัดการการแพร่ระบาดของโควิด -19 มีการเตรียมการเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนในย่างกุ้ง มัณฑะเลย์ และเนปยีดอด้วยการสร้างอพาร์ทเมนท์ประมาณ 10,000 ห้อง รัฐบาลมีแผนเชิญภาคเอกชนเข้าร่วมในการพัฒนาที่อยู่อาศัยให้เช่ารวมถึงการสร้างตลาด โรงเรียน คลินิก สนามเด็กเล่น และสวนสาธารณะสำหรับผู้อยู่อาศัยภายใต้ระบบการลงทุนภาคเอกชน ภายใต้ระบบดังกล่าวรัฐบาลจะจ่ายซึ่งคาดว่าจะอยู่ที่ 250 พันล้านจัตโดยใช้เงินส่วนเกินจากงบประมาณ จากข้อมูลในปี 2557 จำนวนคนที่อาศัยอยู่ต่ำกว่าเส้นความยากจนในเมียนมาส่วนใหญ่ยังไม่มีที่อยู่อาศัย เป็นผลให้ความต้องการที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องแม้ว่าจะมีการเปิดตัวอพาร์ทเมนท์ราคาประหยัดประมาณ 30,000 ห้อง

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/state-counsellor-promises-continue-supporting-construction-sector.html

ภาคการก่อสร้างในกัมพูชาสร้างงานกว่าแสนตำแหน่ง

ภาคการก่อสร้างของกัมพูชาสร้างงานมากกว่า 170,000 ตำแหน่ง โดยเฉลี่ยต่อวันทั่วประเทศในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ เพิ่มขึ้นจาก 134,000 คน เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้วตามตัวเลขของกระทรวงการจัดการที่ดินการวางผังเมืองและการก่อสร้าง (MLMUPC) ซึ่งรายงานแสดงให้เห็นว่าในเมืองหลวงพนมเปญเพียงแห่งเดียวมีการสร้างงานมากถึง 24,130 ถึง 24,500 ตำแหน่งต่อวันเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.16 เมื่อเทียบเป็นรายปี จากการศึกษาพบว่าต้นทุนแรงงานในภาคการก่อสร้างสูงขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าว โดยรายงานระบุว่าแรงงานด้อยฝีมือมีรายได้ระหว่าง 10 ถึง 15 ดอลลาร์ต่อวัน ในขณะที่คนงานที่มีทักษะและหัวหน้าทีมมีรายได้ระหว่าง 15 ถึง 25 ดอลลาร์ต่อวัน วิศวกรมีรายได้ประมาณ 2,500 ดอลลาร์ต่อเดือนทั่วประเทศ ซึ่งมีโครงการดำเนินการอยู 2,522 โครงการ ที่ได้รับการอนุมัติในช่วงครึ่งปีแรกด้วยมูลค่ากว่า 3.842 พันล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นจาก 1,047 โครงการในช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เพิ่มขึ้น 3.392 พันล้านดอลลาร์หรือคิดเป็นเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.26

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50752957/construction-sector-creates-hundred-thousands-of-jobs/