ส.ขอนแก่นบุกเมียนมา ขยายธุรกิจผลิตอาหาร

ส.ขอนแก่นฟู้ดส์ลุยเมียนมา จัดตั้งบริษัทร่วมทุนดำเนินการผลิตอาหารพื้นเมืองไทยและผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์แปรรูป โดยลงทุนร่วมกับนายกริช อึ้งวิฑูรสถิตย์ ประธานสภาธุรกิจไทยเมียนมาและผู้ก่อตั้งสภาหอการค้าและอุตสาหกรรมเมียนมา – ไทย โดยจัดตั้งบริษัทร่วมทุนเพื่อลงทุนในกรุงย่างกุ้ง ประเทศเมียนมา ภายใต้ชื่อ บริษัท ส.ขอนแก่นฟู้ดส์ (เมียนมา) จำกัด ทุนจดทะเบียน 25 ล้านบาท เนื่องจากเห็นถึงการเติบโตในตลาดผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์แปรรูปที่จะขยายตัวมากขึ้นในอนาคต โดยจะลงทุนในโครงการก่อสร้าง ปรับปรุงอาคารโรงงาน และติดตั้งเครื่องจักรในการผลิต เพื่อการเติบโตในระยะยาว เชื่อว่าจะทำให้บริษัทได้รับผลประโยชน์รวมทั้งโอกาสขยายตลาดและเป็นการกระจายความเสี่ยงจากความผันผวนของตลาดในประเทศ

ที่มา : https://www.ryt9.com/s/tpd/3016099

ผลการสำรวจค่าจ้างเมียนมาเพิ่มมากกว่าครึ่งของแรงงานในอุตสาหกรรม

จากผลการสำรวจของหอการค้าและอุตสาหกรรมฝรั่งเศส – เมียนมา (CCI) พบว่าจาก 500 บริษัทใน 10 อุตสาหกรรมมีการเพิ่มต่าแรงตั้งแต่ 1 – 5% มากกว่า 54% จากบริษัททั้งหมด พบว่าแรงงานในกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตเพิ่มขึ้นสูงสุดถึง 11 – 15% อุตสาหกรรมการเงินเพิ่ม 1 – 5% ด้านสุขภาพ 1 – 10% ส่วนแรงงาน 42% ของแรงงานสินค้าอุปโภคบริโภคเพิ่มถึง 6 – 10% ซึ่ง CCI เทียบกับการสำรวจของปีที่แล้วการสำรวจในปีนี้ได้ปรับปรุงการคำนวณ ค่ามัธยฐานและฐานเงินเดือนโดยเฉลี่ยทำให้ผลลัพธ์มีความแม่นยำมากขึ้น และ CCI เผยด้วยว่าการสำรวจเงินเดือนเฉพาะอุตสาหกรรมมากขึ้น เช่น การสำรวจเงินเดือนของอุตสาหกรรมโรงแรมของปี 2562

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/wage-survey-showed-more-half-workers-received-increments.html

รัฐคะยาเตรียมสร้างโรงหลอมเหล็ก

เมียนมาและจีนร่วมมือสร้างโรงหลอมโลหะมูลค่า 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในหลอยก่อเมืองหลวงของรัฐกะยาทางตะวันออกของเมียนมา ผอ.ฝ่ายการลงทุนและการบริหาร บริษัท (DICA) กล่าวว่า บริษัท ร่วมทุน Global Global Industrial Company (GSIC) ได้รับอนุญาตให้สร้างโรงหลอมโลหะในเขตอุตสาหกรรมหลอยก่อ สามารถสร้างงานได้ถึง 500 ตำแหน่ง ในโรงหลอมซึ่งจะใช้ในการหล่อ ดีบุก ทังสเตน และวุลแฟรม คาดว่าจะเพิ่มมูลค่าให้กับการทำเหมืองในรัฐเนื่องจากโลหะมีค่ามากขึ้นและราคาที่สูงขึ้นของวัตถุดิบ อีกทั้งรัฐบาลยังให้การสนับสนุนโครงการนี้ นับเป็นครั้งที่สองในรัฐคะยาภายหลังจากที่ บริษัท เมียนมาร์โกลเด้นโบนันซ่า ได้รับอนุญาตให้สร้างโรงหล่อ โดยร่วมมือกับ 5 บริษัทในเหมืองแห่งที่ 2 ของรัฐคะยาซึ่งมีรัฐเป็นเจ้าของโดยมี GSIC ร่วมอยู่ด้วย กำลังผลิตทั้งหมดได้ 400 ตัน ตั้งแต่ ต.ค. 61 – มิ.ย. 62 สำหรับการลงทุนอุตสาหกรรมเหล็กนั้นส่วนใหญ่เป็นเพื่อการส่งออกโดยเฉพาะ

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/kayah-state-get-us50-million-metal-refinery.html

โครงการท่าเรือคาลาดันเชื่อมเมียนมา – อินเดีย เสร็จสมบูรณ์

จากข้อมูลของสถานทูตอินเดียเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม ณ เมืองย่างกุ้ง การก่อสร้างท่าเรือน้ำของซิตตเวและปะและวะ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการการขนส่งหลายรูปแบบระหว่างเมียนมากับรัฐบาลอินเดียในโครงการ Kaladan Multi-Modal โดยใช้งบลงทุน 484 ล้านดอลลาร์สหรัฐที่จะเชื่อมโยงกัลกัตตาไปยังซิตตเวในรัฐยะไข่แล้วเชื่อมโยงซิตตเวผ่านเส้นแม่น้ำไปยังปะและของรัฐชินถึง เมือง Zorinpui ในรัฐมิโซรัมทางตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดียได้แล้วเสร็จลง ทั้งนี้รัฐบาลอินเดียยังได้เชิญองค์กรหรือบริษัทที่สนในลงทุนด้านท่าเรือการซ่อมบำรุง ส่วนถนนของโครงการจากปะและวะ ถึงเมือง Zorinpui ยังอยู่ในระหว่างการก่อสร้างซึ่งจะช่วยสนับสนุนการค้าทวิภาคีระหว่างเมียนมาและอินเดีย โครงการนี้เริ่มในปี 2551 จากการลงนามในข้อตกลงของทั้งสองประเทศ

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/kaladan-projects-port-and-river-terminal-completed.html

เมียนมาอนุญาต 5 บริษัทลงทุนในประเทศ

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนและบริหารบริษัท (DICA) เปิดเผยว่าที่ผ่านมาอนุญาตให้องค์กรธรกิจ วิสาหกิจการลงทุนทั้งในและต่างประเทศจำนวนห้าแห่งเข้ามาลงทุนในประเทศ ประกอบด้วยในประเทศ 5.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และต่างประเทศที่มีทุนจดทะเบียน 93.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งสามารถจ้างงานได้มากกว่า 530 ตำแหน่งในท้องถิ่นของภาคการผลิต การก่อสร้าง และการบริการอื่น ๆ จากตัวเลขของ DICA มูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศ 80.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐจาก 1,725 บริษัท นับตั้งแต่ปีงบประมาณ 2531-2532 ถึงวันที่ 31 พ.ค.ของปีงบประมาณ 2561-2562 โดยน้ำมันและก๊าซสามารถดึงดูดการลงทุน 27.94% ของการลงทุนต่างประเทศทั้งหมดส่วนภาคพลังงาน 26.4% และภาคการผลิต 13.59% ด้านภูมิภาคอย่างย่างกุ้งดึงดูดเงินลงทุน 60% ตามด้วยมัณฑะเลย์ 30% และที่เหลือเป็นภูมิภาคอื่นๆ

ที่มา : http://www.xinhuanet.com/english/2019-07/11/c_138218102.htm

ธุรกิจโรงแรมหวั่นถูกย้ายหลังพุกามขึ้นทะเบียนมรดกโลก

วันที่ 6 กรกฎาคม 62 องค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ได้ยกให้พุกามเป็นมรดกโลกภายหลังได้มอบให้กับกลุ่มเมืองโบราณอาณาจักรพยู เมืองโบราณศรีเกษตร เมืองฮาลิน และเมืองเบกถาโน ในปี 57 ซึ่งเมืองโบราณมีเจดีย์ที่หลงเหลือกว่า 3,500 แห่งตอนนี้รัฐบาลและประชาชนต้องร่วมมือกันอนุรักษ์แหล่งโบราณคดีและต้องย้ายโรงแรมไปยังโซนที่จัดไว้โดยเฉพาะภายในปี 71 หากล้มเหลวสถานะจะถูกเพิกถอน จากข้อมูลมีโรงแรมมากกว่า 300 แห่งในพุกามส่วนใหญ่เป็นธุรกิจครอบครัวที่มีห้องพักเพียง 30 ถึง 50 ห้อง ซึ่งราคาของหลายโรงแรมมีมูลค่าหลายร้อยล้านดอลลาร์และเป็นที่ดินของตัวเองซึ่งเป็นการยากที่จะชดเชยสำหรับธุรกิจ ภายหลังพุกามถูกยกสถานะคาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นเห็นได้จากสายการบินอย่างบางกอกแอร์เวย์ที่สนใจเปิดเส้นทางบินไปยังพุกาม คาดว่าดึงดูดนักท่องเที่ยวโดยเฉลี่ย 300,000 คนต่อปีตั้งแต่ปี 54 จนถึงปีนี้ มีจำนวน 200,000 คนที่มาเยี่ยมชมพุกาม ดังนั้นการจัดโซนโรงแรมขึ้นอยู่กับการเจรจาระหว่างรัฐบาลและยูเนสโก

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/concerns-may-emerge-when-bagan-hotels-businesses-are-forced-move.html

จีนผู้นำเข้าข้าวรายใหญ่ของเมียนมา

จากรายงานของกระทรวงพาณิชย์ เมียนมาส่งออกข้าวและข้าวหักไปยังจีน ประเทศในภูมิภาคแอฟริกา และสหภาพยุโรป โดยเฉพาะจีนและประเทศในภูมิภาคอื่นๆ นำเข้าข้าวคิดเป็นหนึ่งในสามของการส่งออกทั้งหมด มีรายรับ 423.869 ล้านเหรียญสหรัฐจากการส่งออกไปยัง 58 ประเทศและ 88.606 ล้านเหรียญสหรัฐจากการส่งออกข้าวหักไปยัง 28 ประเทศของปีงบประมาณนี้ (1 ต.ค.61 – 14 มิ.ย.62) มีรายรับรวม 512.475 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยมีผู้นำเข้าหลัก 5 อันดับ ได้แก่ จีน ฟิลิปปินส์ แคเมอรูน ไอวอรี่โคสต์ และกานา เมียนมาส่งออกข้าวหักมากกว่า 1.68 ล้านตันไปยัง 88 ประเทศ และส่งออกไปยังประเทศจีนมากกว่า 36% จากสถิติพบว่าปีงบประมาณนี้มีรายรับ 423.869 ล้านเหรียญสหรัฐจากการส่งออกข้าวมากกว่า 1.35 ล้านตันและข้าวหักไป 54 ประเทศ ปัจจุบันมีพื้นที่ปลูกมากกว่า 16.6 ล้านเอเคอร์ที่เก็บเกี่ยวได้ในปี 60 – 61 จากพื้นที่นาข้าวมากกว่า 17.6 ล้านไร่

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/china-and-regional-countries-top-rice-and-broken-rice-buyers-list

วันนี้ที่ นิคมอุตสาหกรรม ติลาว่า

การเปลี่ยนแปลงของนิคมอุตสาหกรรมและท่าเรือติลาว่ามีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วมากๆ พบว่ามีนักลงทุนจากไทย ได้ไปลงทุนสร้างโรงงานอยู่หลายโรงงานเพียงแต่เป็นนักลงทุนรายใหญ่ ส่วนรายขนาดกลางลงมา ยังไม่ค่อยมี ซึ่งต่างจากอดีตที่คุณภาพไม่ค่อยดีหรือใช้งานได้ไม่ถึงครึ่งไม่ว่าจะเป็นการคมนาคม หลายโรงงานเปิดยังไม่มีเครื่องจักร ไฟฟ้าไม่เพียงพอ น้ำไม่มีบริการ ไม่มีบ้านพักคนงาน ปัจจุบันนิคมต่างๆ ก็ได้มีการปรับปรุงมากขึ้นเช่น ที่นิคมอุตสาหกรรมตองตะโก่ง นิคมฯเมียวอ๊อกกะล่าซึ่งปัจจุบันเปลี่ยนเป็นคอนกรีต ต่างไปจาก 5 – 6 ปีที่แล้วเป็นอย่างมาก ส่วนนิคมอุตสาหกรรมติลาว่าจากเดิมที่เป็นท้องนางว่างเปล่า ปัจจุบันได้เปลี่ยนเป็นนิคมที่ทันสมัย โรงงานที่เปิดใหม่ล้วนมีความทันสมัย มีทั้งจากญี่ปุ่น จีน ไต้หวัน สิงคโปร์และบางส่วนที่เป็นบริษัทยักษ์ใหญ่จากไทย มีอีกธุรกิจหนึ่งที่น่าสนใจมากคือ ธุรกิจบ้านพักคนงาน ถ้าหากใครลงทุนก่อนจะได้เปรียบ ถ้านักลงทุนไทยสนใจเชื่อว่าดีมานด์หรือความต้องการที่นี่ยังมีมาก

ที่มา: https://www.posttoday.com/aec/trade/592233

เมียนมาเปิดโอกาสการลงทุน พร้อมส่งเสริมการลงทุนจากต่างชาติ

นับเป็นเวลาหลายปีหลังจากที่เมียนมาได้ปฏิรูปการเมือง สังคม เศรษฐกิจ ซึ่งในช่วง 2 ปีให้หลังที่ผ่านมามีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ คือมีการลดผ่อนมาตรการต่างๆ โดยออกนโยบายส่งเสริมการลงทุนจากต่างชาติมากขึ้น รวมไปถึงกฎหมายสนับสนุนการลงทุนจากต่างชาติ เช่น ได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆ ในเรื่องของภาษีอากร หรือนักลงทุนต่างชาติสามารถถือหุ้นบริษัทท้องถิ่นได้ร้อยละ 35 และอำนวยความสะดวกการจัดตั้งบริษัทโดยจัดทำระบบจดทะเบียนบริษัทออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ Myanmar Companies Online (MyCo) เพื่อส่งเสริมให้บริษัทต่างชาติมีบทบาทในการพัฒนาบริษัทท้องถิ่น การพัฒนาเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นได้ให้ความสำคัญกับ 4 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1. ปฏิรูปเศรษฐกิจ เพื่อให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน 2. การลงทุน ส่งเสริมการลงทุนในสาขาโครงสร้างพื้นฐาน ภาคเกษตร ปศุสัตว์ การประมง การศึกษา สาธารณสุข การท่องเที่ยว โลจิสติกส์ การผลิตสินค้าเพื่อทดแทนการนำเข้า การส่งออก และการจัดตั้งเขตอุตสาหกรรมใหม่ 3. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ปรับปรุงคุณภาพของทางหลวงเพื่อเชื่อมโยงระหว่างเมืองและชนบท และส่งเสริมให้ประชากรเข้าถึงไฟฟ้าภายในปี 2573 4. ส่งเสริมการท่องเที่ยว ได้เพิ่มจำนวนโรงแรม และพัฒนาการคมนาคมระหว่างสถานที่ท่องเที่ยวในอนาคต ในเวลานี้การพัฒนาไปในเชิงบวกทำให้เอื้อต่อการลงทุน และเพิ่มโอกาสที่จะเข้าไปลงทุน และถึงแม้ในการลงทุนจะต้องพบกับความท้าทายต่างๆ มีอุปสรรคที่อาจจะเกิดขึ้นในบางเรื่อง แต่เมียนมาในมุมมองของวิเคราะห์ คือเป็นประเทศที่มีความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจ และคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจจะเติบโตได้ถึงร้อยละ 6-7 ภายในสองปี ทำให้เป็นโอกาสการลงทุนสำหรับผู้ประกอบการไทย

ที่มา: https://www.bangkokbanksme.com/article/27110

ปัจจัยในการตัดสินใจลงทุนของชาวต่างชาติ

การทำธุรกิจหรือการลงทุนในต่างประเทศ แม้จะเข้าตลาดก่อน แต่ถ้าใจไม่ถึง ไม่กล้าแย่งส่วนแบ่งการตลาด (Market Share)ก่อน ก็ไม่สามารถชนะได้ และการก้าวต่อไปจะยากลำบากมาก เมื่อเข้าไปลงทุนหรือทำการค้า ต้องใจกล้าๆ ลงให้ถึงที่สุด เมื่อได้ Market Share แล้ว ก็ต้องรักษาไว้ให้ดี ต้องมั่นดูแลตลาดให้ดี อย่าให้คู่แข่งเข้ามาแย่งส่วนแบ่งการตลาดได้ หากเราใส่ใจรักษาส่วนแบ่งการตลาดไว้ เราจะสามารถกินส่วนแบ่งได้อีกนาน ดังนั้นการที่บริษัทหนึ่งๆ กล้าเข้าไปในสภาวะที่คนอื่นไม่ได้เข้าหรือไม่กล้าเข้า อาจจะเป็นเพราะว่าเขามองว่าคู่แข่งน้อย การทำการตลาดย่อมง่ายกว่า ซึ่งจะมองด้านความเสี่ยงของสถานการณ์ทางการเมือง ว่ามีความผันผวนระยะสั้นมากกว่า เพราะรัฐบาลไหนๆ ก็มักจะอยู่ไม่เกิน 2 – 3 สมัย พอความนิยมเสื่อมลง ก็ถึงเวลาต้องเปลี่ยนแปลง เป็นหนึ่งเหตุผลหลักที่บริษัทจะไม่ค่อยกลัวกัน ยิ่งตอนมีการเลือกตั้ง นโยบายส่งเสริมการลงทุนจึงเกิดขึ้น เพื่อให้มีนักลงทุนจากต่างชาติเข้ามา จะทำให้ผลประโยชน์ที่ได้รับก็ย่อมมากตามไปด้วย อีกปัจจัยหนึ่งคือ ความสงบเรียบร้อยภายในประเทศที่จะไปลงทุน ถ้าไม่มีสงครามกลางเมือง แค่เดินขบวนประท้วง หรือการสู้รบตามชายแดนเล็กๆน้อยๆ นักลงทุนย่อมไม่กลัวในการเข้ามาลงทุน ตัวอย่างเช่น การสู้รบที่รัฐฉานรัฐยะไข่ของเมียนมา ในกรุงปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ กรุงเทพฯ หรือที่ย่างกุ้ง ก็ไม่มีการถอนการลงทุนออกไป สรุปว่า นักการค้าการลงทุน จะพิจารณาการลงทุนอย่างจริงจัง และมีการทำการศึกษาความเป็นไปได้เบื้องต้น ( Feasibility study) ก่อนจะตัดสินใจลงทุน

ที่มา: https://www.posttoday.com/aec/trade/586359