สายการบินเข้าตลาดพุ่งสูงขึ้น สร้างภาวะ “คอขวดโครงสร้างพื้นฐาน”
จากข้อมูลของกรมการบินพลเรือนเวียดนาม (CAAV) เปิดเผยว่าสายการบินได้ตั้งเป้าในการขยายฝูงการบิน เพื่อตอบสนองต่อความต้องการเพิ่มขึ้น ยกตัวอย่าง สายการบินเวียตเจ็ท (Vietjet Air) ที่ได้รับเครื่องบินใหม่ 100 ลำ ของแอร์บัส (Airbus) และโบอิ้ง (Boeing) ด้วยเหตุนี้ ถือว่าเป็นโอกาสดีต่อผู้โดยสารให้สามารถเลือกสายการบินได้หลากหลาย สำหรับเที่ยวบินราคาที่สมเหตุสมผล อย่างไรก็ตาม การขยายตัวอย่างรวดเร็วในด้านการบิน ทำให้สร้างความกังวลต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ นักวิเคราะห์มองว่าโครงสร้างพื้นฐานในด้านการบินยังคงอยู่ในระดับต่ำ และด้วยจำนวนหลุมจอดเครื่องบินที่มีอยู่อย่างจำกัด ทำให้หน่วยงานรัฐฯ ต้องหาวิธีในการจัดสรรอย่างเหมาะสม นอกจากนี้ จากคำแถลงการณ์ของกระทรวงคมนาคม (MOT) ระบุว่าในไตรมาสที่ 3 ทางกระทรวงฯ จะเป็นผู้นำในการสนับสนุนก่อสร้างสายการบินใหม่ แต่ยอมรับว่าโครงสร้างพื้นฐานยังมีปัญหาอยู่ ประกอบกับอัตราการเติบโตของสายการบินที่เพิ่มสูงขึ้น
เวียดนามส่งออกลำไยไปยังตลาดออสเตรเลีย
จากข้อมูลของผู้ก่อตั้งบริษัท Aus Asia Produce ประกอบธุรกิจเป็นผู้จำหน่ายผลไม้ในรัฐวิคตอเรีย ประเทศออสเตรเลีย ระบุว่าในงานเทศกาลลำไยเวียดนาม มีการขายลำไยกว่า 500 กิโลกรัม ภายในไม่กี่ชั่วโมง ประกอบกับข้อมูลของรัฐมนตรีกระทรวงเกษตรและทรัพยากรน้ำออสเตรเลีย เปิดเผยว่าภาคเกษตรกรรมเวียดนามมีศักยภาพที่จะสร้างมูลค่ากว่าพันล้านเหรียญสหรัฐฯจากการส่งออก และด้วยข้อตกลงการค้าระหว่างเวียดนามกับออสเตรเลีย จะเปิดโอกาสด้านการลงทุนและการค้าทั้ง 3 ประเทศอย่างมาก อย่างไรก็ตาม รายได้ในการส่งออกผลไม้ของเวียดนามไปยังออสเตรเลีย ยังอยู่ในระดับต่ำ ซึ่งจากข้อมูลของสถิติกรมศุลกากรเวียดนาม แสดงให้เห็นว่าในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ มูลค่าการค้าของทั้งสองประเทศอยู่ที่ 5.9 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งมีเพียงน้ำมันดิบเท่านั้นที่มีมูลค่ามากกว่า 2.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ นอกจากนี้ แนะนำให้หน่วยงานของทั้งสองประเทศร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดมากขึ้น เพื่อจัดการในเรื่องคุณภาพและมาตรฐานความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร
ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/548635/vietnamese-longan-to-go-to-australia.html#jB4xDBbQrr6CzmqB.97
การแข่งขันของธุรกิจขนส่งสินค้า “อีคอมเมิร์ซเวียดนาม” มีภาระค่าใช้จ่ายสูงขึ้น
เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน ‘ช้อปปี้’ (Shopee) ผู้นำแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เปิดตัวแพ็กเกจการให้บริการชุดใหญ่ อย่างไม่คาดถึง ด้วยลูกค้าที่สั่งซื้อสินค้าผ่านบนแพลตฟอร์มช้อปปี้ และเลือกบริการขนส่งสินค้าแกร็บ (Grab) ซึ่งจะได้รับการบริการจัดส่งฟรี และได้รับสิทธิพิเศษของมูลค่าสินค้าสูงถึง 200,000 ด่อง ทั้งนี้ แพ็กเกจและโปรโมชั่นดังกล่าว จะสามารถใช้เฉพาะในเขตของนครโฮจิมินห์และฮานอยเท่านั้น และระยะเวลาในการส่งมอบภายใน 1 ชั่วโมง นอกจากนี้ ในปี 2561 จากรายงานของบริษัท Google และ Temasek ระบุว่าตลาดอีคอมเมิร์ซเวียดนามมีอัตราการเติบโต (CAGR) ร้อยละ 35 ต่อปี ในช่วงปี 2558-2561 คิดเป็นมูลค่าอยู่ที่ 2.8 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ (คำนวณเฉพาะมูลค่าของ B2C เท่านั้น) ประกอบกับคนเวียดนามมีความต้องการสินค้าและความใจร้อนสูงมาก โดยทาง MoIT คาดว่าตลาดอีคอมเมิร์ซเวียดนามจะมีมูลค่าราว 10 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายในปี 2563
ที่มา : https://english.vov.vn/economy/ecommerce-delivery-battle-in-vietnam-becomes-more-costly-406314.vov
ผลผลิตเนื้อหมู ตอบสนองต่อความต้องการตลาดในประเทศ ในช่วงเดือนหน้า
ถึงแม้ว่าในปัจจุบัน ผลผลิตเนื้อหมูจะอยู่ในทิศทางแจ่มใส ขณะที่ ความต้องการเริ่มเพิ่มระดับสูงขึ้นในช่วงปลายปีนี้ จากนั้นจะเพิ่มสูงขึ้นอย่างก้าวกระโดดร้อยละ 25 ในช่วงเทศกาลตรุษจีนเร็วๆนี้ ทางด้านผู้รักษาการอำนวยการกระทรวงเกษตรและการพัฒนาชนบทเวียดนาม (MARD) เปิดเผยว่าต้องมีการร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างภาคเกษตรกรรมกับภาคอุตสาหกรรมและการค้า ซึ่งราคาเฉลี่ยเนื้อหมูในภาคเหนือยังอยู่ในระดับเสถียรภาพอยู่ที่ 65,000-66,000 ด่องต่อกิโลกรัม ส่วนภาคใต้อยู่ที่ 60,000-61,000 ด่องต่อกิโลกรัม แต่เมื่อเร็วนี้ๆ ราคาพุ่งสูงขึ้นอยู่ที่ 75,000 ด่องต่อกิโลกรัม เป็นผลมาจากการสื่อสารที่ผิดพลาด และข้อผิดพลาดในการจำหน่ายสินค้า ทั้งนี้ จากรายงานของกรมอนามัยสัตว์ ระบุว่าโรคไข้หวัดหมูแอฟริกาได้แพร่กระจายไปยังกว่า 63 จังหวัดและทุกเมืองเวียดนาม โดยมีสุกรมากกว่า 5 ล้านตัว ได้ถูกการคัดแยกแล้ว เพื่อหยุดการแพร่กระจายเชื้อโรคดังกล่าว นอกจากนี้ ผู้ผลิตเนื้อหมูควรใช้มาตรการด้านความปลอดภัยทางชีวภาพและควบคุมปริมาณสุกรอย่างเข็มงวด
เวียดนามตั้งเป้ายอดส่งออกข้าว 6.5 ล้านตัน ภายในปี 2562
จากข้อมูลของสมาคมอาหารเวียดนาม (VFA) คาดว่าจะส่งออกได้ 6.5 ล้านตัน ในปี 2562 โดยประเทศจีนเป็นตลาดส่งออกข้าวรายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม ประกอบกับเวียดนามส่งออกไปยังกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน เฉลี่ยอยู่ที่ 2 ล้านตันต่อปี คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 30 ของยอดส่งออกข้าวรวมทั้งสิ้น ถึงแม้ว่าเวียดนามจะมีส่วนแบ่งการตลาดสูงและมีขนาดตลาดใหญ่ แต่ในช่วงตั้งแต่ปี 2561 มีแนวโน้มลดต่ำลง เนื่องมาจากกฎระเบียบทางด้านคุณภาพสินค้า และข้อกำหนดทางด้านเทคนิคที่เข็มงวด ด้วยเหตุนี้ จึงต้องหันมาส่งออกไปยังตลาดอื่น ทั้งนี้ จากข้อมูลของกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าเวียดนาม (MoIT) ระบุว่าในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ เวียดนามส่งออกข้าวไปยังประเทศจีน ลดลงร้อยละ 67 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ถึงแม้ว่าสถานการณ์การส่งออกข้าวลดลงก็ตาม แต่คาดว่าในปีนี้ จะสามารถส่งออกข้าวรวมตรงตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้
ที่มา : https://english.vov.vn/economy/rice-exports-set-to-reach-65-million-tonnes-during-2019-406267.vov
ผลิตภัณฑ์เหล็กกล้าเวียดนาม เผชิญกับการบริโภคที่ตกต่ำ ในช่วงเดือนตุลาคม
จากข้อมูลของสมาคมเหล็กเวียดนาม (VSA) เปิดเผยว่าการบริโภคผลิตภัณฑ์เหล็กกล้าลดลง โดยเฉพาะเหล็กแผ่นเคลือบสี (Colour-coated steel) ในช่วงเดือนตุลาคมของปีนี้ ขณะที่ ผลผลิตยังคงเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง หากจำแนกผลิตภัณฑ์เหล็กที่มีผลผลิตและการบริโภคเพิ่มขึ้น พบว่ามีเพียงผลิตภัณฑ์เหล็กก่อสร้างชนิดเดียว ส่วนผลิตภัณฑ์ชนิดอื่น ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เหล็กแผ่นรีดเย็นมีผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว แต่การบริโภคหดตัวลงร้อยละ 1.5 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผลิตภัณฑ์เหล็กแผ่นเคลือบสีที่มีผลผลิตลดลงมากที่สุดในช่วงเดือนตุลาคม แตะระดับ 348,902 ตัน ลดลงร้อยละ 15.3 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว เช่นเดียวกับการบริโภคที่หดตัวลงร้อยละ 5.3 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ทั้งนี้ จากการส่งออกลดลงอย่างมากของผลิตภัณฑ์เหล็กขั้นกลาง ขณะที่การนำเข้ายังคงเพิ่มขึ้นทุกๆปี ซึ่งส่วนใหญ่นำเข้าจากประเทศเกาหลีใต้ จีน ไต้หวัน และอินเดีย ด้วยเหตุนี้ ทางกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าเวียดนาม ตัดสินใจในการป้องกันการทุ่มตลาดของผลิตภัณฑ์เหล็กเคลือบสีบางชนิดที่มีต้นกำเนิดมาจากประเทศเกาหลีใต้ และจีน นอกจากนี้ ยังขยายการตอบโต้การทุ่มตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์สเตนเลสรีดเย็น
ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/steel-products-experience-slow-consumption-in-october/163815.vnp