รัฐบาลกัมพูชาขยายมาตรการช่วยเหลือภาคแรงงานต่อไปอีก 3 เดือน

รัฐบาลได้ขยายมาตรการสนับสนุนเพื่อช่วยเหลืออุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มและสิ่งทอ การท่องเที่ยวและการบินจนถึงสิ้นปี 2020 โดยถือเป็นการออกมาตรการเป็นรอบที่ 6 ที่รัฐบาลให้การสนับสนุนภาคเอกชนที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากการระบาดของโควิด-19 ในปัจจุบัน โดยรัฐบาลจะจ่ายเงิน 40 ดอลลาร์ต่อเดือนสำหรับคนงานที่ถูกปลดออกจากงานในอุตสาหกรรมเสื้อผ้าและสิ่งทอ รองเท้า กระเป๋าเดินทาง และการท่องเที่ยวไปอีกสามเดือนจนถึงสิ้นปี 2020 อย่างไรก็ตามเจ้าของโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าจะต้องเพิ่มเงินอีก 30 ดอลลาร์ต่อเดือนเพื่อเป็นการช่วยเหลือภาคแรงงาน และรัฐบาลยังคงยกเว้นการจ่ายภาษีรายเดือนในทุกประเภทสำหรับโรงแรม เกสต์เฮาส์ ร้านอาหารและตัวแทนการท่องเที่ยวที่จดทะเบียนกับแผนกจัดเก็บภาษีและดำเนินธุรกิจในกัมพูชา ซึ่งรัฐบาลกล่าวว่าแม้ว่าความพยายามในการพัฒนาวัคซีนป้องกันไวรัสโควิด-19 จะมีความคืบหน้าไปมาก แต่ก็ไม่มีใครรู้ว่าการระบาดจะสิ้นสุดลงเมื่อใดและจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมมากเพียงใด เช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ โดยกัมพูชาได้รับผลกระทบอย่างหนักจาก โควิด-19 ทั้งในด้านเศรษฐกิจและด้านอื่นๆ แม้ว่ารัฐบาลจะพยายามอย่างมากในการควบคุมการแพร่ระบาดและช่วยเหลือในหลายด้าน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50768727/govt-extends-support-measures-for-3-months/

ไทยพยายามเรียกคืนแรงงานพม่ากลับเข้าประเทศ

ประเทศไทยกำลังเตรียมต้อนรับแรงงานอพยพชาวเมียนมาที่ออกประเทศภายหลังจากตกงานเนื่องจากการระบาดของ COVID-19 สหพันธ์นายจ้างจัดหางานต่างประเทศเมียนมากล่าวว่ารัฐบาลไทย เมียนมาและบริษัทจัดหางานกำลังเจรจาเรื่องการดูแลสุขภาพสำหรับแรงงาน ภายใต้ข้อบังคับของไทยชาวต่างชาติต้องมีประกันสุขภาพอย่างน้อย 100,000 ดอลลาร์สหรัฐ (K138.1 ล้านบาท) เพื่อครอบคลุมค่าใช้จ่ายในการรักษา COVID-19 แรงงานต้องถูกกักกันเป็นเวลา 14 วันด้วยโดยแรงงานต้องเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายเอง ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2562 ถึงมีนาคม 2563 เมียนมาส่งออกแรงงานประมาณ 100,000 คนมายัง ไทย มาเลเซีย ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ จากข้อมูลของรัฐบาล ณ วันที่ 21 มิถุนายน มีแรงงานกว่า 71,000 คนกลับจากไทย ชาวเมียนมากว่า 4 ล้านคนที่ทำงานในต่างประเทศโดยส่วนใหญ่อยู่ในประเทศไทย เมื่อปีที่แล้วมีแรงงานกว่า 305,000 คนออกจากประเทศเพื่อทำงานและมีแรงงานที่ทำงานในประเทศ 2.3 ล้านคน แรงงานเมียนมาส่งเงินกลับประเทศประมาณ 910 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2561 หรือคิดเป็นประมาณ 1.06% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/thailand-seeks-return-myanmar-workforce.html

นายจ้างยังคงต้องจ่ายค่าจ้างให้แรงงานตามปกติ

กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมของลาวได้สั่งให้นายจ้างตรวจสอบให้แน่ใจว่าแรงงานได้รับการชดเชยอย่างเป็นธรรมในช่วง COVID-19 ระบาด อธิบดีกรมจัดการแรงงานนาย Phongxaysack Intharath พูดในงานแถลงข่าวเมื่อวันอังคารที่มาถึงขั้นตอนที่กระทรวงแรงงานใช้ในการประกันการจ่ายเงินของพนักงานและการจ่ายเงินประกันสังคมแก่แรงงานที่ได้รับผลกระทบจากกCOVID-19 เพื่อบรรเทาอัตราการว่างงานที่มีแนวโน้มสูงขึ้นเลื่อยๆ และจะทำให้เศรษฐกิจตกต่ำลง กระทรวงได้ออกคำสั่งเฉพาะสำหรับนายจ้างธุรกิจที่หยุดดำเนินการในเดือนเมษายน จะต้องจ่ายค่าจ้างพนักงานตามปกติและธุรกิจที่ประสบปัญหาทางการเงินอย่างรุนแรงต้องจ่ายพนักงานอย่างน้อยร้อยละ 50 ของค่าจ้างปกติทั้งนี้กระทรวงได้ขอให้นายจ้างเคารพกฎหมายแรงงานและปฏิบัติตามกฎระเบียบและสัญญาจ้างที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ปัจจุบันอัตราการว่างงานในประเทศลาวเพิ่มขึ้นจากระดับเฉลี่ย 2% เป็น 25% และคาดว่าจะมีการเพิ่มขึ้นไปอีกหากรัฐบาลไม่มีมาตราการที่ช่วยเหลือแรงงาน

ที่มา : https://laotiantimes.com/2020/06/04/ministry-of-labor-orders-employers-to-pay-wages-despite-pandemic/

สหภาพยุโรปให้เงินฉุกเฉิน 5 ล้านยูโรแก่แรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าชาวเมียนมา

สหภาพยุโรป (EU) จะให้เงินสด 5 ล้านยูโร (7.9 พันล้านจัต) ให้กับแรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าชาวเมียนมาที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 กองทุนเงินสดฉุกเฉิน Myan Ku (เงินช่วยเหลือด่วน) สำหรับอุตสาหกรรมเน้นผลิตเสื้อผ้าแบบแบบ Cutting Making และ Packaging (CMP) ที่ตกงานเนื่องจาก COVID-19 ณ สิ้นเดือนมีนาคมมีพนักงานกว่า 25,000 คนจาก 40 โรงงานถูกปลดในขณะที่ 350,000 คนมีความเสี่ยงสูงที่จะถูกพักงานโดยไม่ได้รับค่าจ้างหรือตกงาน อุตสาหกรรมมีการว่าจ้างมากถึง 700,000 คนส่วนใหญ่เป็นแรงงานหญิงในโรงงาน 600 แห่ง

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/eu-provides-eu5-million-emergency-cash-myanmar-garment-workers.html