รัฐบาล สปป.ลาว เล็งขึ้นเงินเดือนให้แก่ ข้าราชการ-ลูกจ้างภาคเอกชน ผู้มีรายได้น้อย

รัฐบาล สปป.ลาว กำลังศึกษาความเป็นไปได้ในการให้เงินสนับสนุนสำหรับข้าราชการที่มีค่าแรงต่ำ และเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำสำหรับพนักงานภาคเอกชน เพื่อให้สามารถรับมือกับค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้นได้ กล่าวโดยนายกรัฐมนตรี Sonexay Siphandone ด้านกระทรวงมหาดไทยและกระทรวงการคลังได้รับความไว้วางใจให้ดำเนินการศึกษาเพื่อพิจารณาว่างกรอบงบประมาณสำหรับโครงการนี้ ร่วมกับกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม รวมถึงสภาหอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งชาติ สปป.ลาว โดยในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ ต้นทุนสินค้าและบริการพุ่งสูงขึ้นถึงร้อยละ 38.06 ซึ่งส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจและการใช้ชีวิตของภาคประชาชนที่มีรายได้ไม่สอดคล้องกับค่าครองชีพ สำหรับสมาชิกสมัชชาแห่งชาติ (NA) ได้เรียกร้องให้เพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำรายเดือนจาก 1.3 ล้านกีบ เป็น 2 ล้านกีบ หวังช่วยแรงงานรับมือกับความยากลำบากในสภาวะเงินเฟ้อที่กำลังเผชิญอยู่

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Govt140.php

ปัจจัย 3 ประการที่เป็นตัวกำหนดการเติบโตทางเศรษฐกิจของเวียดนาม

ตามบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ Vietnam Briefing เปิดเผยว่าการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน สภาพแวดล้อมทางการค้าและค่าจ้าง ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจเวียดนามเติบโตได้อย่างต่อเนื่องและไปในทิศทางที่เป็นบวก โดยเฉพาะการใช้จ่ายทางด้านโครงสร้างพื้นฐาน ประมาณ 6% ของ GDP สูงสุดในกลุ่มประเทศอาเซียน ทั้งนี้ ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เวียดนามมีการลงนามข้อตกลงการค้าทวิภาคีกับประเทศต่างๆ ทั่วโลก และเป็นหนึ่งในประเทศสมาชิกของอาเซียน ทำให้เวียดนามได้รับประโยชน์จากการทำ FTA หลายรายการสินค้า อีกทั้ง การรับรองมาตรฐานสินค้า การผลิตและสิทธิของพนักงานในข้อตกลงเหล่านี้จะทำให้เวียดนามกลายเป็นศูนย์กลางการผลิตและการส่งออก นอกจากนี้ สภาพแวดล้อมทางธุรกิจของเวียดนามยังเปิดกว้างและรัฐบาลได้กำหนดนโยบายที่เป็นมิตรต่อนักลงทุน และปัจจัยสุดท้ายที่ทำให้เวียดนามได้เปรียบมากที่สุด คือค่าจ้างแรงงานที่สามารถแข่งขันกับประเทศอื่นได้

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/three-factors-keep-vietnams-economy-humming-along-post987158.vov

แรงงานสปป.ลาวมีฝีมือเริ่มกลับมาทำงานที่ไทย

สถิติจากกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมระบุว่า แรงงานกว่า 246,000 คน ได้เดินทางกลับจากไทยไปยังลาวตั้งแต่เริ่มมีการระบาดใหญ่ เมื่อมีการเลิกจ้างจำนวนมาก โดยมีคนประมาณ 150,000 คน ที่เดินทางกลับประเทศไทยเมื่อปีที่แล้ว นายพงษ์สายศักดิ์ อินทรรัตน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงานและสังคมสงเคราะห์ กล่าวว่า กว่าร้อยละ 50 ของแรงงานที่กลับมาทำงานในสปป.ลาวได้กลับมาทำงานที่ประเทศไทยแล้ว เขายังกล่าวเสริมว่านายจ้างในประเทศไทยมีความต้องการแรงงานที่มีทักษะเพิ่มขึ้นและเสนอค่าจ้างที่เหมาะสม ในขณะที่บริษัทในลาวยังคงประสบปัญหาการขาดแคลนแรงงาน ในขณะที่รัฐบาลกำลังจัดตั้งศูนย์จัดหางานในทุกจังหวัดของสปป.ลาวเพื่อช่วยเหลือแรงงานต่างด้าวที่กลับมาโดยให้ข้อมูลเกี่ยวกับงานใหม่แก่พวกเขา ศูนย์แห่งใหม่นี้จะช่วยให้สามารถวิเคราะห์ตลาดแรงงาน ทำหน้าที่เป็นฐานสำหรับการติดตามและรายงานเกี่ยวกับนโยบายการจ้างงานและแรงงาน และส่งเสริมการพัฒนาทักษะในการทำงาน

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Skilledlao_22_22.php

คนงานหลายพันคนในพะโคเจอปัญหาการเงินจากการปิดโรงงาน

คนงานหลายหมื่นคนกำลังประสบปัญหาด้านการเงินจากการปิดโรงงาน 47 แห่งในเขตพะโคไปจนถึงวันที่ 11 ตุลาคม 63 ซึ่งปกติจะได้รับค่าจ้างในวันที่ 5 ของทุกเดือน โดยเมื่อวันที่ 25 กันยายน 63 กระทรวงสาธารณสุขและกีฬาออกคำสั่งให้อยู่บ้านหรือที่พำนักสำหรับ 11 เมือง ในพะโค มน มัณฑะเลย์ อิรวดีและรัฐต่าง ๆ

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/thousands-workers-face-financial-difficulty-bago.html

นายจ้างยังคงต้องจ่ายค่าจ้างให้แรงงานตามปกติ

กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมของลาวได้สั่งให้นายจ้างตรวจสอบให้แน่ใจว่าแรงงานได้รับการชดเชยอย่างเป็นธรรมในช่วง COVID-19 ระบาด อธิบดีกรมจัดการแรงงานนาย Phongxaysack Intharath พูดในงานแถลงข่าวเมื่อวันอังคารที่มาถึงขั้นตอนที่กระทรวงแรงงานใช้ในการประกันการจ่ายเงินของพนักงานและการจ่ายเงินประกันสังคมแก่แรงงานที่ได้รับผลกระทบจากกCOVID-19 เพื่อบรรเทาอัตราการว่างงานที่มีแนวโน้มสูงขึ้นเลื่อยๆ และจะทำให้เศรษฐกิจตกต่ำลง กระทรวงได้ออกคำสั่งเฉพาะสำหรับนายจ้างธุรกิจที่หยุดดำเนินการในเดือนเมษายน จะต้องจ่ายค่าจ้างพนักงานตามปกติและธุรกิจที่ประสบปัญหาทางการเงินอย่างรุนแรงต้องจ่ายพนักงานอย่างน้อยร้อยละ 50 ของค่าจ้างปกติทั้งนี้กระทรวงได้ขอให้นายจ้างเคารพกฎหมายแรงงานและปฏิบัติตามกฎระเบียบและสัญญาจ้างที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ปัจจุบันอัตราการว่างงานในประเทศลาวเพิ่มขึ้นจากระดับเฉลี่ย 2% เป็น 25% และคาดว่าจะมีการเพิ่มขึ้นไปอีกหากรัฐบาลไม่มีมาตราการที่ช่วยเหลือแรงงาน

ที่มา : https://laotiantimes.com/2020/06/04/ministry-of-labor-orders-employers-to-pay-wages-despite-pandemic/