“BFG” ส่งต่างชาติร่วมแก๊งคอลเซ็นเตอร์กลับประเทศ อีกกว่า 7 พันคน พบ ‘ชาวจีน’ มากสุด

วันที่ 26 ก.พ.68 หลังจากที่ กองกำลังพิทักษ์ชายแดนกะเหรี่ยง BGF ออกปฏิบัติการปราบปรามแก๊งคอลเซ็นเตอร์และค้ามนุษย์ ในพื้นที่ เมืองชเวก๊กโก่ เมืองเมียวดี และเมืองเคเคปาร์ค ล่าสุด พบว่า สามารถรวบรวมชาวต่างชาติ รวมจำนวน 7,141 คน แบ่งเป็นชาย 6,716 คน หญิง 425 คน จำนวน 29 สัญชาติ โดยพบว่าเป็นคนจีนมากที่สุด จำนวน 4,860 คน อันดับสองรองลงมาเป็นคนเวียดนาม จำนวน 572 คน, 3.อินเดีย จำนวน 526 คน, 4.เอธิโอเปีย จำนวน 430 คน, 5.อินโดนีเซีย จำนวน 283 คน, 7.ฟิลิปปินส์ จำนวน 127 คน, 8.มาเลเซีย จำนวน 70 คน, 9.ปากีสถาน จำนวน 78 คน, 10.เคนยา จำนวน 64 คน ,11.ไต้หวัน จำนวน 25 คน, 12.เนปาล จำนวน 17 คน,13.แอฟริกาใต้ จำนวน 17 คน, 14.ยูกันดา จำนวน 13 คน, 15.แอฟริกา จำนวน 9 คน, 16.ศรีลังกา จำนวน 8 คน, 17.อุซเบกิสถาน จำนวน 8 คน, 18.ไนจีเรีย จำนวน 7 คน, 19.กานา จำนวน 6 คน, 20.แคเมอรูน จำนวน 6 คน ,21.บังคลาเทศ จำนวน 6 คน, 22.นามีเบีย จำนวน 4 คน, 23.รวันดา จำนวน 4 คน, 24.ตูนีเซีย จำนวน 3 คน, 25.เชค จำนวน 2 คน, 26.ลาว จำนวน 1 คน, 27.โรมาเนีย จำนวน 1 คน, 28.แอลจีเรีย จำนวน 1 คน และ 29.สิงคโปร์ จำนวน 1 คน โดยทั้งหมดทางกองกำลัง BGF ได้สอบถามความสมัครใจในการเดินทางกลับประเทศ พบว่าต้องการกลับประเทศทั้งหมด จึงได้จัดทำรายชื่อส่งผ่านรัฐบาลเมียนมา ประสานรัฐบาลไทยและสถานฑูตต่างๆ เพื่อเร่งดำเนินการส่งทุกคนกลับประเทศต้นทาง ต่อไป

ที่มา : https://www.dailynews.co.th/news/4436957/

ไทย-เมียนมา ร่วมมือกันปราบปรามแก๊งฉ้อโกงออนไลน์

ประเทศไทย และเมียนมาได้ตกลงที่จะร่วมมือกันในการปราบปรามกลุ่มฉ้อโกงออนไลน์ โดย ข้อตกลงดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากที่รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมและการสื่อสารของสหภาพเมียนมา พลเอกเมียร์ ตุน อู และรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจดิจิทัลและกิจการสังคมของไทยได้พบกันเมื่อวันที่ 16 มกราคม ในระหว่างการประชุมรัฐมนตรีดิจิทัลอาเซียน พลเอกเมียนมากล่าวว่าการฉ้อโกงออนไลน์กำลังเพิ่มขึ้นในประเทศอาเซียน รวมถึงเมียนมา และเรียกร้องให้มีการร่วมมือกันมากขึ้นในการปราบปรามการหลอกลวงออนไลน์ นอกจากนี้ เขายังกล่าวเพิ่มเติมว่าการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลจะต้องขึ้นอยู่กับความปลอดภัย นวัตกรรม และการรวมเอาทุกฝ่ายเข้าไว้ด้วยกัน และเน้นย้ำถึงการทำงานร่วมกันเพื่อสร้างความไว้วางใจในหมู่ผู้ใช้บริการดิจิทัล และมุ่งเน้นไปที่โปรแกรมการรู้หนังสือทางดิจิทัลเพื่อให้ผู้คนและธุรกิจต่างๆ สามารถใช้บริการดิจิทัลได้อย่างมีความหมายเพื่อให้บรรลุถึงการเชื่อมต่อทางดิจิทัลที่ครอบคลุม

ที่มา : http://• https://www.gnlm.com.mm/thailand-and-myanmar-agree-to-cooperate-to-combat-online-fraud-gangs/

เศรษฐา บินกัมพูชาพรุ่งนี้ พบเพื่อนบ้านในอาเซียนครั้งแรก ถกความร่วมมือทาง ศก.-แก้แก๊งคอล

นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า การเยือนราชอาณาจักรกัมพูชาอย่างเป็นทางการครั้งนี้นับเป็นการเยือนเพื่อแนะนำตัวในโอกาสเข้ารับตำแหน่งใหม่ในประเทศอาเซียนครั้งแรกของนายกรัฐมนตรี ซึ่งมีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อกระชับความสัมพันธ์ระดับผู้นำในโอกาสที่ทั้งนายกรัฐมนตรีไทยและนายกรัฐมนตรีกัมพูชาเข้ารับตำแหน่งใหม่ รวมทั้งนายกรัฐมนตรีจะใช้โอกาสนี้หารือกับกัมพูชาเพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจเพื่อเป็นประโยชน์ต่อประชาชนทั้งสองประเทศ โดยมุ่งเพิ่มปริมาณการค้าให้บรรลุเป้าหมาย 15,000 ล้านดอลลาร์ ภายในปี 2568 และผลักดันการยกระดับจุดผ่านแดนไทย-กัมพูชาที่ยังคั่งค้าง รวมไปถึงการพัฒนาการขนส่งสินค้าทางรางของทั้งสองประเทศ ผลักดันการท่องเที่ยวและการเดินทางข้ามแดน เพื่อให้มีการใช้หนังสือผ่านแดนชั่วคราว (Temporary Border Pass) สำหรับการเดินทางข้ามแดนทางบก อำนวยความสะดวกให้ผู้ที่ไม่ได้อาศัยอยู่ในจังหวัดชายแดน และไม่มีหนังสือเดินทาง สามารถขอเอกสารเพื่อใช้เดินทางข้ามแดนได้ นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีมุ่งมั่นจะติดตามเรื่องการพัฒนาพื้นที่ชายแดน เช่น แก้ปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ การเก็บกู้ทุ่นระเบิดตามแนวชายแดน การแก้ไขปัญหา call center รวมไปถึงความร่วมมือทางด้านแรงงาน ความมั่นคงทางพลังงาน ความสัมพันธ์ระดับประชาชน และความร่วมมือเพื่อการพัฒนาและวิชาการระหว่างไทย-กัมพูชา

ที่มา : https://www.matichon.co.th/politics/news_4201241