บริษัทโรงสีข้าวและโกดังเมียนมา 448 ราย ยื่นขึ้นทะเบียนกับ GACC ช่วงครึ่งแรกปี 2566

กระทรวงพาณิชย์ของเมียนมา รายงานว่าในปีนี้ มีบริษัท 145 ราย โรงสีข้าว 161 ราย และคลังสินค้า 182 ราย เข้าขอยื่นขึ้นทะเบียนกับสำนักงานศุลกากรแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (GACC) และหากเปรียบเทียบกับปีที่แล้ว มีเพียงบริษัท 62 ราย โรงสีข้าว 79 ราย และคลังสินค้า 19 ราย ทั้งนี้ มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (SPS) เป็นสิ่งที่จำเป็นในการส่งออกข้าวไปยังต่างประเทศ รวมถึงตลาดจีน โดยข้าวเป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญของภาคการส่งออกของเมียนมา ดังนั้น กลุ่มสหพันธ์ข้าวของเมียนมาจึงจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อให้ตระหนักถึงมาตรการสุขอนามัยทางชีวภาพ รวมไปถึงการศึกษากฎหมายและกฎระเบียบของประเทศคู่ค้า และความปลอดภัยของอาหารในประเทศ นอกจากนี้ ยังเรียกร้องให้นายจ้างและผู้ที่เกี่ยวข้องกับโกดังข้าวและคลังสินค้า ทำการจัดเก็บข้าวอย่างเป็นระบบและตรวจสอบกฎระเบียบตามการส่งออกของต่างประเทศ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/banking-transactions-for-imports-on-myanmar-china-border-to-commence-1-august/#article-title

ราคาข้าวในเมียนมาพุ่งสูงขึ้น

จากข้อมูลของศูนย์ค้าส่งข้าววาดัน พบว่า ในวันที่ 20 มกราคม 2566 ราคาข้าวหอม “Pearl Paw San” อยู่ระหว่าง 61,000 ถึง 80,000 จัตต่อกระสอบ ส่วนข้าวเกรดธรรมดาราคาอยู่ระหว่าง 43,500-67,000 จัตต่อกระสอบ ต่อมาวันที่ 23 มกราคม 2566 ราคาข้าวหอม “Pearl Paw San” เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 1,000-4,000 จัตต่อกระสอบ ราคาจะอยู่ระหว่าง 45,500-70,000 จัตต่อกระสอบ ส่วนราคาข้าวเกรดธรรมดา เพิ่มขึ้นเฉลี่ยถุง 2,000-4,000 จัตต่อถุง ราคาจะอยู่ระหว่าง 63,000-84,000 จัตต่อกระสอบ เป็นผลมาจากความต้องการข้าวเปลือกสูงทำให้ราคาข้าวในตลาดเพิ่มขึ้นไปด้วย ที่ผ่านมา สหพันธ์ข้าวแห่งเมียนมา สมาคมผู้ผลิตและปลูกข้าวแห่งเมียนมา สมาคมโรงสีข้าวแห่งเมียนมา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพยายามร่วมมือกันเพื่อหาทางออกในการกำหนดราคาที่เหมาะสมเพื่อไม่ให้กระทบกับผู้ค้าส่งและผู้บริโภค

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/rice-price-skyrockets-in-domestic-market/

โรงสีข้าว โรงงานยางพารา ในเมืองมะริด มีส่วนสร้างรายได้ให้คนในท้องถิ่น

โรงสีข้าวโอเคยาดานา และ บริษัท โปลามินรับเบอร์อินดัสเตรียล โรงงานแปรรูปยางพารา ในอำเภอมะริด เขตตะนาวศรี ยังคงเดินหน้าเปิดทำการ ซึ่งโรงสีข้าวโอเคยาดานายังคงเปิดรับซื้อข้าวเปลือกและกระจายเมล็ดพันธุ์ข้าวเปลือกที่ให้ผลผลิตสูงให้กับชาวนาในพื้นที่อีกทั้งยังใช้แกลบในการผลิตกระแสไฟฟ้า ส่วน บริษัท โปลามินรับเบอร์อินดัสเตรียล จำกัด โรงงานแปรรูปยางพาราเพื่อการส่งออกไปยังจีน มาเลเซีย และสิงคโปร์ ยังรับซื้อยางจากเกษตรกรในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ทั้งโรงสีข้าว สวนยางพารา และโรงงานต่างๆ ได้สร้างโอกาสในการทำงานให้คนในท้องถิ่นได้มีรายได้เพื่อการยังชีพในครอบครัว

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/rice-mills-rubber-factories-contribute-to-livelihoods-of-local-people-in-myeik-district/#article-title

Wilmar Myanmar สร้างโรงสีข้าวที่ใหญ่ที่สุดในติลาว่า

ย่างกุ้ง-วิลมาร์เมียนมาร์ซึ่งเป็น บริษัทลูกของวิลมาร์อินเตอร์เนชั่นแนลซึ่งเป็นหนึ่งในธุรกิจการเกษตรที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียของสิงคโปร์กำลังจะสร้างโรงสีข้าวที่ใหญ่ที่สุดในเขตเศรษฐกิจพิเศษติวาลา ซึ่งสามารถผลิตข้าวได้ถึง 1,200 ตันต่อวัน ผลิตข้าวสาลี 530 ตันต่อวันส่วนโรงงานแปรรูปจะผลิตน้ำมันเพื่อบริโภคได้ 460 ตันต่อวัน โดยการส่งออกต้องผ่านท่าเทียบเรือติวาลา ซีอีโอของ Wilmar International Limited กล่าวว่าเมียนมามีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับสองของอาเซียน ดินอุดมสมบูรณ์ ฝนตกชุกและมีประชากร 54 ล้านคน เชื่อว่าภาคธุรกิจการเกษตรต้องประสบผลสำเร็จอย่างแน่นอน วิลมาร์เมียนมาเปิดท่าเรือไปเมื่อปี 61 คณะกรรมาธิการการลงทุนของเมียนมา (DICA) อนุญาตให้สร้างท่าเทียบเรือวิลมาร์ – เมียนมา (ติลาว่า) ภายใต้ข้อตกลงการสร้างและถ่ายโอน 50 ปีกับรัฐบาล ถือเป็นท่าเทียบเรือสินค้าทั่วไปลำดับที่ 3 ของประเทศ

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/singapores-wilmar-myanmar-will-build-largest-rice-mill-in-thilawa-sez