โรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงขนาด 400 mW ในกันดาลจะเริ่มก่อสร้างในเดือนหน้า

การก่อสร้างโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำมันเชื้อเพลิงประเภทข้นขนาด 400 เมกะวัตต์ (mW) ในจังหวัดกันดาล ซึ่งวางแผนที่จะเริ่มดำเนินการในช่วงต้นเดือนมิถุนายนแต่ไม่สามารถดำเนินการได้ตามแผนที่วางไว้ เนื่องจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่กำลังดำเนินอยู่ ทำให้โครงการนี้หยุดชะงักเนื่องจากวิศวกรโยธาชาวต่างชาติที่มีสำคัญในการดำเนินการไม่สามารถบินไปยังกัมพูชาเพื่อทำงานต่อได้ โดยผู้อำนวยการฝ่ายพลังงานและโฆษกของกระทรวงเหมืองแร่และพลังงานได้กล่าวไว้ ซึ่งกล่าวเสริมว่าการก่อสร้างในโครงการยังคงเดินหน้าต่อไป แต่มีปัญหาในการรับทีมเทคนิคเนื่องจากข้อจำกัดด้านการเดินทาง โดยรัฐบาลยังมีแผนที่จะสร้างสถานีย่อยที่เชื่อมต่อโครงการขนาด 400 mW ไปยังกริดแห่งชาติ ซึ่งคาดว่าจะมีส่วนช่วยอย่างมากต่อการรักษาเสถียรภาพของแหล่งพลังงานของประเทศ ปัจจุบันโครงการไฟฟ้า 12 โครงการกำลังดำเนินการอยู่ 7 โครงการเป็นเขื่อนพลังน้ำด้วยกำลังการผลิตรวม 2,093 mW รัฐบาลยังได้รับใบอนุญาตสำหรับโครงการพลังงานอีก 9 โครงการซึ่งกำลังอยู่ในระหว่างการพัฒนาซึ่งมีกำลังการผลิตรวม 1,500 mW ในอนาคตอันใกล้

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50726931/kandals-400mw-heavy-fuel-power-plant-to-resume-construction-next-month/

เมียนมากู้ ADB สร้างโรงไฟฟ้าย่อยในอิรวดี

เพื่อกระจายกระแสไฟฟ้าให้มากขึ้นในภูมิภาคอิรวดี โดยการสร้างสถานีย่อย 17 แห่งด้วยความช่วยเหลือของเงินกู้ของธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (ADB) ทั้งนี้ยังขอให้รัฐบาลระดับภูมิภาคหาที่ตั้งเพิ่มสำหรับการก่อสร้างโรงไฟฟ้าย่อย 6 แห่ง แม้ว่าจะมีการใช้พลังงาน 50% ทั่วประเทศ แต่เขตอิระวดีมีการใช้พลังงานมากกว่า 20%

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/sub-power-stations-will-be-built-in-ayeyawady-under-the-adb-loan

บริษัทฮ่องกงลงทุนสร้างโรงไฟฟ้าในเจาะพยู มูลค่ากว่า 172 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

จากข้อมูลของคณะกรรมการการลงทุนและกำกับดูแลบริษัท (DICA)  บริษัท CNTIC VPower KY3 Limited จากฮ่องกงวางแผนสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนและผลิตเชื้อเพลิงด้วยเงินลงทุน 172 ล้านดอลลาร์สหรัฐในจาะพยูเพื่อผลิตและจำหน่ายไฟฟ้า ซึ่งสามารถผลิตไฟฟ้าได้ 658,800,000 กิโลวัตต์/ชั่วโมง คณะกรรมการการลงทุนแห่งเมียนมา (MIC) อนุญาตการลงทุนด้วยสี่ข้อเสนอและการลงทุนใน 17 รายการมูลค่า 310.451 ล้านดอลลาร์สหรัฐและสามารถสร้างงานให้กับคนในท้องถิ่นได้ถึง 10,102 คน MIC อนุมัติการลงทุนจากต่างประเทศมูลค่า 1,546.94 ล้านดอลลาร์สหรัฐและ 716.451 พันล้านจัตรวมถึงการลงทุนในท้องถิ่น 128.4 ล้านเหรียญสหรัฐตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคมถึง 10 มกราคมในปี 62-63  ทั้งนี้กระทรวงที่เกี่ยวข้องกำลังพิจารณาการลงทุนภาคเหมืองในปี 63 จากข้อมูลของ DCA พบว่าจนถึงสิ้นเดือนพฤศจิกายน 62 มีการลงทุนในภาคเหมืองแร่มากกว่า 2.904 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/hong-kong-company-invests-us172-m-to-build-a-power-station-in-kyaukphyu

“สมคิด”สั่ง”กฟผ.” ศึกษาลดค่าไฟอุ้มผู้มีรายได้น้อย-ไมโครเอสเอ็มอี

“สมคิด” รุดมอบนโยบาย “กฟผ.” เร่งดันศก.ฐานรากให้ศึกษาโครงสร้างค่าไฟเฉพาะอุ้มผู้มีรายได้น้อยและผู้ประกอบการรายเล็กเพื่อลดต้นทุน ลุยโรงไฟฟ้าชุมชน และรุกธุรกิจรับยานยนต์ไฟฟ้า(อีวี) เร่งรัดลงทุนรับบาทแข็ง “สนธิรัตน์” รับเล็งหารือทุกส่วนปรับโครงสร้างค่าไฟ พร้อมถกรับมือน้ำมันพรุ่งนี้(10 ม.ค.)โดยนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีเปิดเผยหลังการตรวจเยี่ยมและมอบนโยบายการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) ว่า ได้มอบหมายให้ กฟผ. ดูแลค่าไฟฟ้าโดยเฉพาะในช่วงความตึงเครียดในภูมิภาคตะวันออกกลางที่ให้มีเพียงพอซึ่งก็อุ่นใจได้ว่าจะไม่เกิดปัญหาเพราะได้ร่วมมือกับกระทรวงพลังงานดูแลอย่างใกล้ชิด ขณะเดียวกันต้องการให้ดูแลค่าไฟฟ้าให้ต่ำท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจโลกที่ไม่ดีนักสำหรับกลุ่มผู้มีรายได้น้อยและผู้ประกอบการรายเล็ก (ไมโครเอสเอ็มอี) เพื่อลดค่าครองชีพ ทั้งนี้ กฟผ. เองมีวิสัยทัศน์ที่จะก้าวไปสุ่ธุรกิจแห่งอนาคต มุ่งเน้นนวัตกรรมที่จะขยายธุรกิจได้มากขึ้น โดย กฟผ. ได้มองถึงอนาคตในการทำธุรกิจในประเทศกลุ่ม CLMV ที่ขณะนี้ กฟผ. มีความแข็งแรงมากและด้วยธุรกิจไฟฟ้าที่เข้มแข็งสามารถประยุกต์เทคโนโลยีไปสู่ผู้บริโภค ทำให้สามารถแข่งขันกับประเทศต่างๆ

ที่มา : https://mgronline.com/business/detail/9630000002627

โรงไฟฟ้าพลังงานน้ำ “Nam Che 1 hydropower project” เปิดอย่างเป็นทางการ

โครงการไฟฟ้าพลังงานน้ำ “Nam Che 1” ได้เปิดอย่างเป็นทางการหลังจากเริ่มก่อสร้างตั้งแต่ปี 2560 ในแขวงไชยสมบูรณ์เป็นการร่วมทุนระหว่างบริษัท บี. กริมเพาเวอร์ (ลาว) จำกัดกับบริษัท น้ำแจ ไฮโดร พาวเวอร์ จำกัด เป็นโรงไฟฟ้าขนาดเล็กโดยออกแบบมาเพื่อใช้ประโยชน์จากแม่น้ำงิ้วและแม่น้ำโขง โดยมีกำลังการผลิตไฟฟ้า 15MW ซึ่งโรงงานได้ทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้าระยะเวลา 25 ปีเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าให้กับสปป.ลาวโดยถือเป็นอีกก้าวหนึ่งของการพัฒนาพลังงานไฟฟ้าในสปป.ลาวและยังเป็นโครงการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอีกด้วยนอกจากนี้ยังมีความสำคัญต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจของสปป.ลาวโดยเฉพาะในแขวงไชยสมบูรณ์ โดยโรงงานเปิดทำการเชิงพาณิชย์มาตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย. 62 ถือเป็นก้าวที่สำคัญในด้านการพัฒนาพลังงานและเศรษฐกิจที่สำคัญในอนาคตของสปป.ลาว

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/nam-che-1-hydropower-plant-officially-opened-109186

กระทรวงไฟฟ้าฯ เซ็นสัญญาซื้อไฟฟ้าจากโครงการเจ้าผิว

กระทรวงไฟฟ้าและพลังงาน (MOEE) ได้ลงนามในข้อตกลงเพื่อซื้อไฟฟ้าที่ผลิตจากโรงไฟฟ้าเจ้าผิว ใช้เป็นเชื้อเพลิง 135 เมกะวัตต์ ซึ่งจะผลิตโดยผู้ผลิตไฟฟ้าอิสระ Kyauk Phyu Electric Power Co. โดยสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (PPA) ได้ลงนามเมื่อวันอังคารที่แล้ว Kyauk Phyu Electric Power Co เป็นการร่วมทุนระหว่าง Supreme Group ของเมียนมาและ Power China ของจีน โรงไฟฟ้าพลังงานก๊าซในเจ้าผิว รัฐยะไข่ เป็นหนึ่งในสี่โครงการที่ได้รับอนุมัติจากรัฐบาล ซึ่งคาดว่าจะผลิตไฟฟ้าได้ 3111 เมกะวัตต์ ซึ่งจะช่วยตอบสนองความต้องการไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นประมาณ 1,000 เมกะวัตต์ต่อปีของเมียนมา โรงไฟฟ้าถูกสร้างโดยระบบ build-operat (BOT) จะมีกำลังการผลิต 146 เมกะวัตต์แม้ว่าจะใช้งานได้ที่ 135 เมกะวัตต์ โรงงานแห่งนี้ผลิตไฟฟ้า 1.05 พันล้านหน่วยต่อปีซึ่งเป็นที่ต้องการอย่างมากในยะไข่และภูมิภาคอื่น ๆ ของประเทศเพื่อตอบสนองความต้องการที่คาดไว้ 1,000 เมกะวัตต์ในปี 64 สัญญาซื้อขายไฟฟ้า (PPAs) ระยะสั้นจะถูกนำมาใช้อย่างต่อเนื่อง

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/deal-signed-purchase-power-kyaukphyu-power-plant-project.html

บริษัทญี่ปุ่นเข้าถือหุ้นในโรงไฟฟ้าพลังน้ำโพธิ์ซัด

บริษัท ผลิตไฟฟ้าญี่ปุ่น eRex Co Ltd. ประกาศว่าการมีส่วนร่วมในการก่อสร้างและการจัดการโรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาด 80 เมกะวัตต์ในจังหวัดโพธิ์ซัด โดยบริษัทในโตเกียวมีแผนที่จะลงทุน 23.5 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อรักษาสัดส่วนการถือหุ้นให้อยู่ในระดับ 34% ในโครงการนี้กับบริษัท Asia Energy Power ประเทศกัมพูชาและ ISDN Energy Pte. Ltd. ซึ่งโครงการนี้กำลังได้รับการพัฒนาโดย SPHP (กัมพูชา) ซึ่งได้รับใบอนุญาตในการสร้างเขื่อน และได้ลงนามในข้อตกลงกับ Electricite Du Cambodge (EDC) ภายใต้ข้อตกลงนี้จะขายไฟฟ้าที่ 7.9 เซนต์ต่อวัตต์ ไปยัง EDC โดยการก่อสร้างและคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2565 หรือ 2566 โดยรัฐบาลต้องการกระจายการผลิตพลังงานซึ่งตอนนี้ส่วนใหญ่ครอบคลุมด้วยพลังน้ำซึ่งคิดเป็นประมาณ 50% ของพลังงานทั้งหมดที่ใช้ไปเมื่อปีที่ และพลังงานแสงอาทิตย์คิดเป็นสัดส่วนน้อยกว่า 1% ของพลังงานทั้งหมดในปี 2018 ซึ่งด้วยกลยุทธ์การกระจายการลงทุนที่หลากหลายของรัฐบาลหวังที่จะยุติการขาดแคลนในด้านพลังงานที่ส่งผลกระทบต่อประเทศในระยะหลัง

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50655894/japanese-firm-acquires-stake-at-upcoming-pursat-hydropower-plant/