วิกฤตโควิด ระลอก 3 ลามหนัก ส่งผลความต้องการไข่และไก่เพิ่ม หนุนราคาพุ่ง

ราคาเนื้อสัตว์ปีกและไข่เพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจ จากความต้องการเพิ่มขึ้นจากวิกฤติ COVID-19 ที่ระลอก 3  ระบาดรุนแรงขึ้นในประเทศ ราคาไข่เพิ่มขึ้นจาก 130 จัตเป็น 220 จัต ส่วนราคาไก่เพิ่มขึ้นเป็น 12,000 จัต/viss การระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้ประชาชนมีความกังวล ต่อการปรับขึ้นราคาสินค้าโภคภัณฑ์จากความต้องการที่เพิ่มขึ้น การผลิตปศุสัตว์และสัตว์ปีกเติบโตขึ้น 10-15% ต่อปี  ตามรายงานของ MLF ปัจจุบัน มีการเลี้ยงไก่เนื้อ 1.35 ล้านตัว กึ่งไก่เนื้อประมาณ 1.465 ล้านตัว และไก่ไข่อีก 2.9 ล้านตัวในฟาร์มไก่และฟาร์มปลาที่เลี้ยงแบบผสมผสาน นอกจากนี้ ภาคปศุสัตว์ในประเทศกำลังเผชิญกับแรงกดดันจากนักลงทุนต่างชาติอย่างจีน ไทย และอินเดีย เพราะการเพาะเลี้ยงพันธุ์สัตว์ปีกส่วนใหญ่เป็นของเกษตรกรในท้องถิ่น ดังนั้นพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ในท้องถิ่นจึงต้องเปลี่ยนไปใช้วิธีผสมพันธุ์สมัยใหม่และเพิ่มกำลังการเพาะเลี้ยงเพื่อปรับตัวให้ทันกับนักลงทุนต่างชาติที่เข้ามา

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/egg-poultry-prices-surge-on-rising-demand-in-covid-19-crisis/

TFG คาดรายได้ปี 64 โต 15% ลุยขยายการผลิตไก่ปรุงสุก-ธุรกิจหมูรองรับดีมานด์

นายเพชร นันทวิสัย รองประธานสายงานฟาร์มและพัฒนาคุณภาพ บมจ.ไทยฟู้ดส์ กรุ๊ป (TFG) เปิดเผยว่า บริษัทฯ คาดรายได้ปี 64 จะเติบโตได้ราว 15% จากปีก่อน ซึ่งยังคงมาจากธุรกิจไก่ โดยเฉพาะไก่ปรุงสุกที่มีการเติบโตอย่างมากในส่วนของลูกค่าเก่า โดยบริษัทฯ ก็มีแผนเพิ่มกำลังการผลิตในปีนี้เป็น 15,000 ตัน/ปี จากสิ้นปี 63 อยู่ที่ 9,000-10,000 ตัน/ปี ของกำลังการผลิตที่สามารถรองรับได้ทั้งหมด 20,000 ตัน/ปี เพื่อรองรับการเติบโตที่เพิ่มเป็นเท่าตัว อีกทั้งยังมาจากการส่งออกไก่ ที่ปีนี้มีแผนเปิดตลาดใหม่ๆ มากขึ้น เช่น เกาหลี เป็นต้น ทำให้ในภาพรวมของธุรกิจไก่ก็น่าจะเติบโตได้ 5%  ทั้งนี้ ธุรกิจสุกร ทั้งในประเทศไทยและเวียดนามก็ถือว่าเป็น Growth Driver ที่สำคัญในปีนี้ โดยบริษัทฯ คาดว่าจะมีรายได้เติบโต 20-25% จากในประเทศโต 15% และเวียดนามเติบโตเป็นเท่าตัว เนื่องจากซัพพลายสุกรยังขาดแคลนทั้งในภูมิภาค เช่น จีน, เวียดนาม หรือใน CLMV รวมถึงฟิลิปปินส์ สืบเนื่องจากปัญหาโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (African swine fever:ASF) แม้ว่าปีนี้จีนจะดูฟื้นตัวขึ้นมาได้บ้างพอสมควร แต่โดยรวมทั้งภูมิภาคสุกรก็ยังลดลง หรือซัพพลายยังน้อยกว่าดีมานด์ และราคาสุกรก็อยู่ในระดับสูง นายเพชร เปิดเผยว่า บริษัทจึงมีแผนลงทุนขยายฟาร์มสุกรในปีนี้ โดยวางเป้าเติบโต 30% จากปัจจุบันที่มีการจำหน่ายสุกรอยู่ที่ 100,000 ตัว/เดือน รวมถึงลงทุนโรงชำแหละสุกร และโรงงานอาหารสัตว์ เพื่อรองรับกับความต้องการที่เพิ่มขึ้น โดยวางงบลงทุนไว้ราว 2,500 ล้านบาท 

ที่มา : https://www.ryt9.com/s/iq05/3193473

เมียนมาหยุดนำเข้าไก่จากความต้องการที่ลดลง

เมียนมาระงับการนำเข้าไก่เป็นระยะเวลาหนึ่งเดือนตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 63 เนื่องจากความต้องการสัตว์ปีกในท้องถิ่นที่ลดลงมากกว่าครึ่งหนึ่งจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 แม้ว่าต้นทุนของลูกไก่จะสูงกว่า 500 จัต แต่ราคาตลาดปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 150 จัตต่อตัว ประธานสมาพันธ์ปศุสัตว์เมียนมาจึงได้เสนอให้งดนำเข้าเป็นเวลาสามเดือน แต่ทางการได้อนุมัติการระงับหนึ่งเดือนไปก่อน สมาคมผู้เพาะพันธุ์และผู้ผลิตปศุสัตว์แห่งเมียนมาตัดสินใจว่าจะขยายการห้ามนำเข้าเป็นรายเดือนหรือไม่ขึ้นอยู่กับการบริโภคในท้องถิ่น ส่วนการนำเข้าลูกไก่กว่า 1.9 ล้านตัวตั้งแต่กลางเดือนกรกฎาคมถึงกลางเดือนสิงหาคมแต่ลดลงเหลือประมาณ 1 ล้านตัวตั้งแต่กลางเดือนสิงหาคมถึงกลางเดือนกันยายนเนื่องจากมีมีการพบผู้ติดเชื้อ COVID-19 ในประเทศ การผลิตและการบริโภคในท้องถิ่นของเมียนมาอยู่ที่ประมาณ 1.4 ล้านตัวต่อเดือน การบริโภคไก่อยู่ที่ประมาณ 500,000 ตัวต่อวันและเนื่องจากความต้องการที่ลดลงผู้เลี้ยงไก่จึงสูญเสียรายได้ต่อวันประมาณ 50 ล้านจัต

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/chicken-imports-banned-myanmar-poultry-demand-falls.html