จีน-กัมพูชา ลงนาม MoU จัดตั้งโครงการผลิตยางรถยนต์มูลค่า 1 พันล้านดอลลาร์

ทางการกัมพูชาและจีนได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MoU) เกี่ยวกับแผนการลงทุนมูลค่า 1 พันล้านดอลลาร์ ในโครงการผลิตยางและยางรถยนต์ร่วมกัน ตามคำแถลงของสภาพัฒนากัมพูชา (CDC) โดยข้อตกลงดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากการไปเยือน ณ ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีวิศวกรรมยางและยางแห่งชาติของจีน (NERCRAT) ของรองนายกรัฐมนตรีกัมพูชา Sun Chanthol ซึ่งทุกฝ่ายตั้งเป้าที่จะร่วมกันเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับโครงการสำคัญๆ หลายโครงการเกี่ยวกับการพัฒนาอุตสาหกรรมยางระหว่างกัน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501423710/china-and-cambodia-sign-1billion-rubber-tire-projects-agreement/

บริษัท Sailun ตั้งเป้าขยายกำลังการผลิตยางรถยนต์ 6 ล้านเส้นต่อปี

บริษัท Sailun (กัมพูชา) ตั้งอยู่ในเขตเศรษฐกิจพิเศษ Qilu ในจังหวัดสวายเรียง ซึ่งบริหารจัดการโดย Cart Tyre วางแผนลงทุนเพิ่มมูลค่ารวมกว่า 1.47 พันล้านหยวน (ประมาณ 170 ล้านปอนด์) เพื่อขยายกำลังการผลิตยางเรเดียลกึ่งเหล็กในประเทศกัมพูชา ให้มีกำลังการผลิตสูงถึง 6 ล้านเส้นต่อปี หวังตอบสนองความต้องการของลูกค้า รวมถึงยังมุ่งมั่นที่จะเพิ่มการส่งออกยางไปยังตลาดต่างประเทศอย่างในโซนพื้นที่อเมริกาเหนือ สำหรับบริษัทดังกล่าวถือเป็นผู้ผลิตยางรถยนต์รายใหญ่ของจีนที่ได้ขยายการลงทุนมายังกัมพูชา โดยเริ่มดำเนินการในกัมพูชาเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2021 สร้างการจ้างงานให้กับคนในท้องถิ่นกว่า 4,000 ตำแหน่ง รวมถึงยังทำการซื้อแผ่นยางดิบเพื่อเป็นวัตถุดิบการผลิตยางกว่า 150,000 ตันต่อปี

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501385870/sailun-cambodia-plant-increases-tyre-production-capacity-by-6-million-units/

ต้นทุนการผลิตน้ำมันลดลงเนื่องจากราคาถั่วลิสงลดลง

ผู้ผลิตน้ำมันกล่าวกับ The Global New Light of Myanmar (GNLM) ว่า ราคาถั่วลิสงที่ลดลง ช่วยลดต้นทุนการผลิตน้ำมันถั่วลิสง นอกจากนี้ อุปสงค์ของถั่วพัลส์ที่ลดลงของจีนทำให้ราคาลดลงเหลือ 5,500 จ๊าดต่อ viss จากเดิม 7,500 จ๊าดต่อ viss ในเดือนตุลาคม ราคาของถั่วลิสงป่นก็ลดลงเหลือ 2,500 จ๊าดต่อ viss จากเดิม 3,300 จ๊าดต่อ viss  ผู้ผลิตน้ำมันกล่าวอีกว่า ต้นทุนการผลิตน้ำมันถั่วลิสงลดลงอย่างมากเนื่องจากราคาถั่วลิสงที่ลดลง ขึ้นอยู่กับคุณภาพ และปริมาณการผลิตน้ำมันด้วย ซึ่งต้นทุนการผลิตน้ำมันต่อเที่ยวอยู่ที่ 10,000 – 11,500 จ๊าดต่อ viss ซึ่งหากรวมต้นทุนอื่นๆด้วย จะอยู่ที่ 14,000 – 15,000 จ๊าดต่อ viss เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม ที่ผ่านมา ราคาขายส่งน้ำมันถั่วลิสงปรับตัวอยู่ในช่วงระหว่าง 12,500 – 16,000 จ๊าดต่อ viss ขึ้นอยู่กับภูมิภาค ในขณะที่ราคาน้ำมันปาล์มอยู่ที่ 4,500-5,500 จ๊าดต่อ viss ทั้งนี้ การผลิตน้ำมันถั่วลิสง น้ำมันงา และน้ำมันดอกทานตะวันยังไม่สามารถผลิตได้เพียงพอต่อความต้องการ ดังนั้นจึงยังคงมีการนำเข้าน้ำมันปาล์มอยู่ เมื่อวันที่ 20 ตุลาคมที่ผ่านมา ราคาถั่วลิสง งาขาว และน้ำมันปาล์ม อยู่ที่ 1,627.28 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน 2,104.17 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน และ 815 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน ตามลำดับ อย่างไรก็ดี ได้ตรวจพบการเจือปนของน้ำมันปาล์มกับน้ำมันถั่วลิสงในท้องตลาด ผู้ผลิตบางรายจึงประสบปัญหาจากราคาถั่วลิสงในตลาดลดลง ส่งผลให้ราคาน้ำมันถั่วลิสงลดลงตาม และทำให้ความต้องการน้ำมันถั่วลิสงและน้ำมันงาบริสุทธิ์เพิ่มขึ้น

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/oil-production-cost-declines-as-peanut-price-drops/

‘ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์’ ดันสัดส่วนแตะ 18% ของอุตสาหกรรมเวียดนาม

อุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ มีสัดส่วน 17.8% ของอุตสาหกรรมเวียดนาม ส่งผลให้เวียดนามเป็นหนึ่งในผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์รายใหญ๋ที่สุด 15 อันดับแรกของโลก และจากรายงานของกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า (MoIT) ระบุว่าในปีที่แล้ว เวียดนามทำรายได้จากการส่งออกผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ อยู่ที่ 114 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 6% เมื่อเทียบเป็นรายปี และคิดเป็นสัดส่วนราว 30% ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด อย่างไรก็ดี กลุ่มผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์และชิ้นส่วนในเวียดนามยังคงต้องพึ่งพาการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศอย่างมาก (FDI) จากการที่ใช้แรงงานเข้มข้นสูงและพึ่งพาแหล่งวัตถุดิบในท้องถิ่นต่ำ

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/electronics-manufacturing-makes-up-nearly-18-of-vietnams-industry/267803.vnp

ผลสำรวจ ชี้โควิด-19 ทุบการผลิตภาคอุตสาหกรรมเวียดนาม

เอสแอนด์พี โกลบอล เปิดเผยว่าดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของเวียดนามเดือน มี.ค. ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ 51.7 จากระดับของเดือนก.พ.ที่ 54.3 เนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ ทำให้เกิดปัญหาการขาดแคลนแรงงานในเดือนมี.ค. ถึงแม้ว่าภาพรวมนั้น สถานการณ์การผลิตยังอยู่ในเกณฑ์ที่แข็งแกร่ง ทั้งนี้ ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน สะท้อนให้เห็นว่าบริษัทไม่สามารถรักษาระดับปริมาณการผลิตได้และผลผลิตโรงงานอุตสาหกรรมปรับตัวลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 6 เดือน รวมถึงแรงกดดันเงินเฟ้อที่ส่งผลกระทบต่อการผลิตลดลง

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1171693/viet-nams-manufacturing-sector-hit-by-wave-of-covid-19-infections.html

 

เวียดนามเผยอุตสาหกรรมการผลิตและการค้ามีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง แม้เผชิญโควิด-19 ระบาด

ตามการแถลงข่าวประจำไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ ทางกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า เผยว่ากิจกรรมอุตสาหกรรมและการค้าของเวียดนาม ยังคงเติบโตได้ดีอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ว่าการระบาดของโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบไปยังบางจังหวัดและเมืองที่มีสวนอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ในขณะที่ การส่งออกยังคงเติบโตสูงเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว สาเหตุมาจากการขนส่งสินค้าสำคัญ ได้แก่ อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องนุ่งห่ม รองเท้า เครื่องจักรและผลผลิตทางการเกษตร ไปยังตลาดหลัก อาทิ สหรัฐฯ จีน สหภาพยุโรป เกาหลีใต้ ญี่ปุ่นและอาเซียน ทั้งนี้ การล็อกดาวน์ที่เกิดขึ้นจากการะบาดของโควิด-19 ในบางพื้นที่นั้น ส่งผลให้การบริโภคลดลง โดยเฉพาะสินค้าที่ไม่จำเป็น

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/industrial-trade-growth-trend-sustained-despite-covid19-official/203243.vnp

TFG คาดรายได้ปี 64 โต 15% ลุยขยายการผลิตไก่ปรุงสุก-ธุรกิจหมูรองรับดีมานด์

นายเพชร นันทวิสัย รองประธานสายงานฟาร์มและพัฒนาคุณภาพ บมจ.ไทยฟู้ดส์ กรุ๊ป (TFG) เปิดเผยว่า บริษัทฯ คาดรายได้ปี 64 จะเติบโตได้ราว 15% จากปีก่อน ซึ่งยังคงมาจากธุรกิจไก่ โดยเฉพาะไก่ปรุงสุกที่มีการเติบโตอย่างมากในส่วนของลูกค่าเก่า โดยบริษัทฯ ก็มีแผนเพิ่มกำลังการผลิตในปีนี้เป็น 15,000 ตัน/ปี จากสิ้นปี 63 อยู่ที่ 9,000-10,000 ตัน/ปี ของกำลังการผลิตที่สามารถรองรับได้ทั้งหมด 20,000 ตัน/ปี เพื่อรองรับการเติบโตที่เพิ่มเป็นเท่าตัว อีกทั้งยังมาจากการส่งออกไก่ ที่ปีนี้มีแผนเปิดตลาดใหม่ๆ มากขึ้น เช่น เกาหลี เป็นต้น ทำให้ในภาพรวมของธุรกิจไก่ก็น่าจะเติบโตได้ 5%  ทั้งนี้ ธุรกิจสุกร ทั้งในประเทศไทยและเวียดนามก็ถือว่าเป็น Growth Driver ที่สำคัญในปีนี้ โดยบริษัทฯ คาดว่าจะมีรายได้เติบโต 20-25% จากในประเทศโต 15% และเวียดนามเติบโตเป็นเท่าตัว เนื่องจากซัพพลายสุกรยังขาดแคลนทั้งในภูมิภาค เช่น จีน, เวียดนาม หรือใน CLMV รวมถึงฟิลิปปินส์ สืบเนื่องจากปัญหาโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (African swine fever:ASF) แม้ว่าปีนี้จีนจะดูฟื้นตัวขึ้นมาได้บ้างพอสมควร แต่โดยรวมทั้งภูมิภาคสุกรก็ยังลดลง หรือซัพพลายยังน้อยกว่าดีมานด์ และราคาสุกรก็อยู่ในระดับสูง นายเพชร เปิดเผยว่า บริษัทจึงมีแผนลงทุนขยายฟาร์มสุกรในปีนี้ โดยวางเป้าเติบโต 30% จากปัจจุบันที่มีการจำหน่ายสุกรอยู่ที่ 100,000 ตัว/เดือน รวมถึงลงทุนโรงชำแหละสุกร และโรงงานอาหารสัตว์ เพื่อรองรับกับความต้องการที่เพิ่มขึ้น โดยวางงบลงทุนไว้ราว 2,500 ล้านบาท 

ที่มา : https://www.ryt9.com/s/iq05/3193473

ภาคการผลิตเมียนมาได้รับผลกระทบจากการล็อกดาวน์ครั้งใหม่

จากข้อมูลล่าสุดของการสำรวจดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) โดย IHS Markit ในเดือนกันยายนภาคการผลิตของเมียนมาได้รับผลกระทบอย่างหนักจากมาตรการล็อกดาวน์ครั้งใหม่ภายหลังพบผู้ติดเชื้อ COVID-19 ที่เพิ่มสูงขึ้น ให้โรงงานปิดตัวลงเป็นเวลาสองสัปดาห์และให้พนักงานบางส่วนทำงานจากที่บ้าน ดัชนี PMI ของเมียนมาลดลงสู่ระดับ 35.9 ในเดือนกันยายนจาก 53.2 ในเดือนสิงหาคม และ 51.7 ในเดือนกรกฎาคม ซึ่งดัชนีจะมีค่าระหว่าง 0 ถึง 100 โดยค่าที่สูงกว่า 50 แสดงถึงการซื้อโดยรวมเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ส่วนคะแนนที่ต่ำกว่า 50 หมายถึงการซื้อลดลงจากเดือนที่ผ่านมา ผลกระทบดังกล่าวมีความรุนแรงในเดือนเมษายนเมื่อดัชนี PMI อยู่ที่ 29 อุปสงค์ในประเทศลดลงท่ามกลางข้อจำกัดครั้งใหม่ในขณะที่อุปสงค์จากต่างประเทศก็ซบเซาลงเช่นกัน โดยความต้องการที่ลดลงมาจากตลาดเอเชีย ได้แก่ อินเดีย ไทย เวียดนาม และกาตาร์ เนื่องจากโรงงานหลายแห่งปิดทำการชั่วคราวในเดือนกันยายนระดับการจ้างงานโดยรวมลดลงอย่างรวดเร็วเช่นกัน

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanmar-manufacturing-sector-hit-new-lockdown-measures.html

เผยตัวเลขการผลิตเพิ่มขึ้น 3 เดือนติด

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.อุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือน ก.ค.อยู่ที่ระดับ 85.47 ขยายตัวจากเดือน มิ.ย. 3.12% เป็นการขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 แต่หดตัว 14.69% เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา เนื่องจากยังได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ที่ส่งผลให้เศรษฐกิจทั่วโลกชะลอตัว รวมถึงประเทศไทย ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นเล็กน้อยอยู่ที่ 56.01% จากเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมาอยู่ที่ระดับ 55.07% ดังนั้น จึงเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นว่าภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทยได้ผ่านจุดต่ำสุดแล้ว และกำลังทยอยฟื้นตัวขึ้น สู่ระดับปกติในช่วงก่อนเกิดโควิด-19 ภายใต้เงื่อนไขว่าจะไม่มีการระบาดของโควิด-19 รอบที่ 2 กรณีดังกล่าว ได้ส่งผลให้เกิดการขยายตัวเพิ่มขึ้นในบางอุตสาหกรรมที่สามารถตอบสนองต่อผู้บริโภคได้ เช่น อุตสาหกรรมอาหารและยารักษาโรค ที่ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 ติดต่อกัน ขณะที่สถานการณ์โควิด-19 ในประเทศคู่ค้าที่สำคัญ และสงครามการค้าสหรัฐฯและจีน รวมถึงปัญหาน้ำท่วมจีน ได้ส่งผลให้ภาคอุตสาหกรรมทั่วโลกต้องชะงักลง และอุตสาหกรรมบางประเภทต้องขาดแคลนชิ้นส่วนการผลิต เกิดปัญหาด้านการขนส่งสินค้าและวัตถุดิบจากฐานการผลิตในต่างประเทศ ได้ส่งผลให้ผู้ประกอบการหลายราย ต้องย้ายฐานการผลิตออกเพื่อกระจายความเสี่ยง นับเป็นโอกาสของประเทศไทย กรณีดังกล่าว จึงสอดรับกับนโยบายของกระทรวงอุตสาหกรรม ที่มุ่งพัฒนาฝีมือแรงงานเพื่อรองรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย ให้สามารถรองรับอุตสาหกรรมที่จะย้ายเข้ามาใหม่ได้ รวมถึงการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกที่มีการเตรียมความพร้อมในสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน และสิ่งอำนวยความสะดวกที่สามารถรองรับการย้ายฐานการผลิตของนักลงทุนต่างชาติได้ทันที.

ที่มา : https://www.thairath.co.th/news/business/market-business/1918876