รัฐมนตรีสหภาพแรงงานและความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจต่างประเทศ เข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน ครั้งที่ 30

คณะผู้แทนเมียนมานำโดย ดร.คาน ซอ รัฐมนตรีสหภาพแรงงานและความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจต่างประเทศ เข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน ครั้งที่ 30 ซึ่งจัดขึ้นที่หลวงพระบาง สปป.ลาว ระหว่างวันที่ 8-9 มีนาคม 2567 รัฐมนตรี โดยการประชุมดังกล่าวมีนายมาลัยทอง คมมสิต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและการพาณิชย์ สปป. ลาว เป็นประธาน และมีรัฐมนตรีเศรษฐกิจจากอาเซียน และติมอร์เลสเต เจ้าหน้าที่อาวุโสด้านเศรษฐกิจ (SEOMs) และผู้แทนจากประเทศสมาชิกอาเซียน สมาชิกสภาที่ปรึกษาธุรกิจอาเซียน เลขาธิการอาเซียน รองเลขาธิการประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และเจ้าหน้าที่ ในช่วงแรกของการประชุม สภาที่ปรึกษาธุรกิจอาเซียนได้นำเสนอลำดับความสำคัญสำหรับปี 2567 และข้อเสนอแนะสำหรับการเสริมสร้างการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคและความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน ส่วนในช่วงที่ 2 ของการประชุม รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนได้หารือและให้แนวทางกิจกรรมต่างๆ ที่จะดำเนินภายใต้เสาหลักเศรษฐกิจอาเซียน ตามผลการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 43 รวมถึง ลำดับความสำคัญสำหรับปี 2024 ประเด็นการลงนามข้อตกลงเศรษฐกิจอาเซียน ความคืบหน้าของการเจรจายกระดับความตกลงการค้าสินค้าอาเซียน และ ความคืบหน้าของการเจรจากรอบความตกลงเศรษฐกิจอื่นๆ อย่างไรก็ดี เขายังแสดงความจำเป็นที่จะต้องเร่งการเจรจาเพื่อให้ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-จีน (3.0) ยกระดับการเจรจาให้แล้วเสร็จภายในปี 2567 เกี่ยวกับการจัดตั้งหน่วยสนับสนุนความร่วมมือทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) นอกจากนี้ รัฐมนตรีสหภาพเมียนมาเน้นย้ำว่า กำลังทำงานร่วมกับประเทศสมาชิก ในฐานะประเทศสมาชิก จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรักษาหลักการของความเสมอภาค พันธกรณีร่วมกัน และความเป็นศูนย์กลางของอาเซียน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/mifer-union-minister-attends-30th-asean-economic-ministers-retreat-meeting/

การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนเริ่มขึ้นแล้วที่หลวงพระบาง สปป.ลาว

รัฐมนตรีต่างประเทศจาก 10 ชาติสมาชิกอาเซียนเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนที่หลวงพระบาง เพื่อหารือเกี่ยวกับประเด็นที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน โดยการประชุมครั้งนี้เป็นหนึ่งในการประชุมครั้งแรกที่จัดขึ้นภายใต้การเป็นประธานอาเซียนของ สปป.ลาว โดยการประชุมได้หารือและสนับสนุนลำดับความสำคัญ ของการดำรงตำแหน่งประธานอาเซียน ซึ่งมุ่งเน้นไปที่การเพิ่มการเชื่อมโยงและความแข็งแกร่งของอาเซียน องค์ประกอบการเชื่อมต่อที่เพิ่มขึ้นประกอบด้วยลำดับความสำคัญ 4 ประการ ได้แก่ (1) การบูรณาการและการเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจ (2) การสร้างอนาคตการมีส่วนร่วมที่ยั่งยืน (3) การเปลี่ยนผ่านสู่อนาคตดิจิทัล และ (4) การส่งเสริมวัฒนธรรมและศิลปะในอาเซียน องค์ประกอบความเข้มแข็งที่เพิ่มขึ้นประกอบด้วยลำดับความสำคัญ 5 ประการ ได้แก่ (1) การสร้างแผนยุทธศาสตร์เพื่อดำเนินการตามวิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียนปี 2045 (2) การเสริมสร้างความเป็นแกนกลางของอาเซียน (3) ความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อม (4) การเสริมสร้างบทบาทของสตรีและเด็ก และ (5) การปรับปรุงการสาธารณสุขในประเทศอาเซียน

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freefreenews/freecontent_21_Asean_y24.php