ผู้ผลิตรถยนต์จีนจะต้องเริ่มผลิตรถยนต์ไฟฟ้าที่ประเทศไทยในปีนี้

สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ออกรายงานการลงทุนรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ในประเทศไทย เน้นการส่งเสริมการลงทุนที่แข็งแกร่งในปี 2567 ตามมาตรการ EV 3.0 มาตรการเหล่านี้กำหนดให้บริษัทที่นำเข้ารถยนต์ไฟฟ้าเพื่อขายในประเทศไทยต้องเริ่มการผลิตในปีนี้ จากรายงานของ สศช. เกี่ยวกับสถานการณ์เศรษฐกิจในไตรมาสที่ 4 ปี 2566 และแนวโน้มเศรษฐกิจปี 2567 มีเนื้อหาส่วนที่เน้นแนวโน้มอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (EV) โดยในปี 2566 จำนวนการจดทะเบียนรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ใหม่สูงถึง 76,538 คัน เพิ่มขึ้น 695.9% เมื่อเทียบกับการจดทะเบียน 9,617 คันในปี 2565 การจดทะเบียนใหม่สำหรับรถยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงแบบดั้งเดิมอยู่ที่ 481,609 คัน ลดลง 11.3% จาก 543,072 คัน ในปี 2565 ส่งผลให้สัดส่วนการจดทะเบียนรถยนต์พลังงานไฟฟ้าใหม่ต่อยอดจดทะเบียนรถยนต์ทั้งหมดอยู่ที่ 11.6% ในปี 2566 เพิ่มขึ้นจาก 1.5% ในปี 2565 สำหรับปี 2566 การจดทะเบียนใหม่สำหรับแบรนด์รถยนต์ EV คือ BYD (จีน) 30,467 คัน Neta (จีน) 12,777 คัน MG (จีน) 12,462 คัน เทสลา (สหรัฐอเมริกา) 8,206 คัน และ GWM (ORA) (จีน) 6,746 คัน ทั้งนี้ ค่ายรถยนต์เหล่านี้ ต้องเริ่มผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยภายในปีนี้ โดยข้อมูลกำลังการผลิตรถยนต์ EVs ในประเทศไทยทั้งหมดมาจากผู้ผลิตรถยนต์จีน โดยแยกตามยี่ห้อ Neta 200,000 คัน, Changan: 100,000-200,000 คัน (กำลังการผลิตเริ่มต้น 100,000 คัน), BYD 150,000 คัน MG 100,000 คัน และ GWM 80,000 คัน หากกำลังการผลิตของโรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้าที่จัดตั้งขึ้นโดยประเทศต่างๆ สามารถเป็นไปตามเงื่อนไขของมาตรการจูงใจได้ ก็จะช่วยส่งเสริมประเทศไทยให้เป็นฐานการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าและส่วนประกอบไฟฟ้าที่สำคัญทั่วโลก

ที่มา : https://www.nationthailand.com/thailand/policies/40036474

กระทรวงพาณิชย์เมียนมา ผ่อนปรนกฎระเบียบ ใบอนุญาตนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้าสำหรับนักเดินเรือ

ตามประกาศที่เผยแพร่เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2566 กระทรวงพาณิชย์ของเมียนมา ประกาศลดการเก็บรายได้เงินโอนระหว่างประเทศขาเข้าของผู้เดินเรือเป็น 50,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อปี จากเดิมกว่า 200,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อปี เพื่ออนุญาตให้นำเข้ารถยนต์ไฟฟ้า (EV) จากคำแถลงที่เผยแพร่เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม ที่ผ่านมา หากพลเมืองเมียนมารวมถึงนักเดินเรือที่มีการโอนเงินค่าจ้างต่างประเทศไปยังธนาคารท้องถิ่นในประเทศ พวกเขาจะได้รับสิทธิในการนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้าหนึ่งคัน ซึ่งมีมูลค่าเท่ากับร้อยละ 5 ของเงินโอนเข้าประเทศที่มีมูลค่ามากกว่า 200,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อปี ยกเว้นผู้ที่ได้รับเงินเดือนประจำจากต่างประเทศ ซึ่งบางรายได้รับอนุญาตให้นำเข้ายานพาหนะไฟฟ้าหรือรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า เทียบเท่ากับร้อยละ 5 หากส่งเงินเข้าประเทศมูลค่า 50,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อปี ทั้งนี้ เพื่อเป็นการสนับสนุนการเติบโตของอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าและส่งเสริมกิจกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ใบอนุญาตนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้าหรือรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าจึงได้รับการอนุญาตเป็นกรณีพิเศษให้สำหรับผู้ที่มีการโอนเงินเดือนต่างประเทศเข้ามาในประเทศ หรือพลเมืองเมียนมาที่ได้รับค่าจ้างประจำจากต่างประเทศ อย่างไรก็ดี ในกรณีที่การโอนเงินเข้าประเทศของแต่ละบุคคลไม่ถึงเกณฑ์รายได้ที่กำหนด ก็สามารถใช้สิทธิขออนุญาตนำเข้ายานยนต์ไฟฟ้าร่วมกันได้ โดยการดำเนินการขอใบอนุญาตนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้าดังกล่าวมีผลตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2566 เป็นต้นไป

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/moc-eases-import-rule-of-ev-permit-for-seafarers/

“VinFast” รถยนต์ไฟฟ้าเวียดนาม เรียกรถเกือบ 2,800 คัน

‘VinFast’ ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้า (EV) สัญชาติเวียดนาม เรียกคืนรถสปอร์ตยูทิลิตี้รุ่น VF8 ในประเทศ จำนวน 2,781 คัน เพื่อทำการตรวจสอบและเปลี่ยนสลักเกลียวที่เชื่อมต่อคาลิเปอร์เบรกหน้า เนื่องมาจากรายการประกอบชิ้นส่วนเฉพาะพิเศษ สายรัดที่เชื่อมต่อคาลิเปอร์ด้านหน้ากับดุมล้ออาจมีการคลายตัวเมื่อรถใช้งานอยู่ ซึ่งอาจลดประสิทธิภาพของเบรกด้านหน้าได้ และจะเร่งแก้ไขแรงบิดสำหรับรถยนต์ไฟฟ้ารุ่น VF8 จำนวน 999 คันที่ส่งไปยังสหรัฐอเมริกา อย่างไรก็ตาม บริษัทยังไม่พบข้อร้องเรียนใดๆ จากลูกค้าเกี่ยวกับคลายสลักที่อาจก่อให้เกิดปัญหาในการเบรก

ที่มา : https://www.investing.com/news/stock-market-news/vietnams-ev-maker-vinfast-recalls-nearly-2800-units-domestically-3007508

สภาอุตฯ ขอแรงจีนช่วย ยกระดับการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า

นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ส.อ.ท. ได้ร่วมหารือกับท่านทูตหาน จื้อเฉียง เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำราชอาณาจักรไทย โดยได้หารือถึงการแลกเปลี่ยนนโยบาย และแนวทางความร่วมมือ ในด้านการส่งเสริมการค้าและการลงทุน การถ่ายทอดความรู้ด้านเทคโนโลยีและดิจิทัล 5.0 เพื่อนำมาปรับใช้ในทุกภาคธุรกิจ เช่น การนำเทคโนโลยีการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า หรือ EV ซึ่งจะเป็นการนำร่องให้อุตสาหกรรม และผู้ประกอบการไทย ต้องเร่งปรับตัว และยกระดับการแข่งขัน ให้เท่าเทียมกับตลาดโลกในทุกๆ มิติ อีกทั้ง ยังได้ร่วมมือกับ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) จัดกิจกรรมอบรม “Thai SME GP แต้มต่อธุรกิจดิจิทัล และอุปกรณ์การแพทย์ สู่คู่ค้าภาครัฐ  ณ จังหวัดภูเก็ต ซึ่งจะมีการจัดอีกจำนวน 3 ครั้ง ที่เชียงใหม่ ขอนแก่น และกรุงเทพฯ ตามลำดับ

ที่มา: https://www.naewna.com/business/655231