กระทรวงฯเรียกร้องมีการเปิดโรงงานแปรรูปเม็ดมะม่วงหิมพานต์

กระทรวงเกษตรป่าไม้และการประมงได้เรียกร้องให้บริษัทผู้ปลูกต้นมะม่วงหิมพานต์ในเสียมเรียบเริ่มลงทุนในโรงงานแปรรูป เนื่องจากรัฐบาลกำลังพิจารณาจัดตั้งศูนย์วิจัยเม็ดมะม่วงหิมพานต์ โดยบริษัท Sophorn Theary Peanich Co Ltd. ซึ่งได้รับสัมปทานที่ดินทางเศรษฐกิจ (ELC) 4,000 เฮคเตอร์ ในจังหวัดเสียมเรียบตั้งแต่ปี 2549 โดยทำสัญญากับกระทรวงเกษตรใน 2017 ที่จะปลูกต้นมะม่วงหิมพานต์บนพื้นที่ปลูก 1,232 เฮกตาร์ ซึ่งรัฐบาลแนะนำให้บริษัทควรเริ่มขยายพื้นที่เพาะปลูก และจัดตั้งโรงงานแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับเม็ดมะม่วงหิมพานต์ โดยกระทรวงฯกล่าวว่าหากบริษัทสามารถลงทุนในโรงงานแปรรูปเม็ดมะม่วงหิมพานต์ได้จะส่งผลให้ภูมิภาคกลายเป็นศูนย์กลางการแปรรูปเม็ดมะม่วงหิมพานต์ในอนาคตและจะสร้างงานให้มากขึ้นในจังหวัด ซึ่งรายงานจากกระทรวงเกษตรแสดงให้เห็นว่ากัมพูชาส่งออกเม็ดมะม่วงหิมพานต์ 190,141 ตัน ไปยังตลาดต่างประเทศในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้เพิ่มขึ้นมากกว่า 25% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50734356/ministry-calls-for-cashew-nut-processing-factory/

ธนาคาร SME อนุมัติ 2.3 ล้านดอลลาร์

SME Co-Financing Scheme (SCFS) ได้อนุมัติคำร้องขอกู้ยืมเงินจำนวน 13 ฉบับ โดยมีมูลค่าการอนุมัติของสินเชื่อรวม 2.338 ล้านดอลลาร์ ณ วันที่ 11 มิถุนายนที่ผ่านมา ซึ่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ SME Bank แห่งกัมพูชากล่าวว่าการเบิกจ่ายทั้งหมดมีมูลค่า 1.908 ล้านดอลลาร์และคาดว่าจะมีการเบิกถอนเงินอีกจำนวน 4.3 แสนดอลลาร์ในอีกไม่กี่วันข้างหน้า โดยปล่อยเงินกู้ยืมให้แก่ธุรกิจและกิจกรรมภายในประเทศหลายภาคส่วน เช่นการผลิตและการแปรรูปอาหาร, การผลิตสินค้าสำหรับภาคการท่องเที่ยว, การผลิตผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป, อะไหล่หรือชิ้นส่วนประกอบ รวมถึงการวิจัยและพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) ซึ่งโครงการ Co-Financing SME ของรัฐบาลมีวัตถุประสงค์ในการปล่อยสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำเพื่อสนับสนุนและพัฒนา SMEs ท้องถิ่นในภาคต่างๆ ซึ่ง SMEs สามารถยืมเงินทุนหมุนเวียน 2 แสนดอลลาร์ และสำหรับเงินลงทุน 3 แสนดอลลาร์ ด้วยอัตราดอกเบี้ยสูงสุดไม่เกินร้อยละ 7 ต่อปี ระยะเวลาการชำระคืน 7 ปีและหลักประกันขึ้นอยู่กับเกณฑ์ของ PFI แต่ละรายการ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50734391/2-3-million-approved-by-sme-bank/

การลงทุนในย่างกุ้งยังคงดำเนินต่อแม้จะการระบาด ของ COVID-19

การระบาดใหญ่ของโคโรนาไวรัสไม่ได้ทำให้นักลงทุนสนใจในย่างกุ้งลดลง ตั้งแต่ตรวจพบเชื้อ COVID-19 ในเมียนมาเมื่อเดือนมีนาคม ซึ่งมี 4  ธุรกิจที่ได้รับอนุมัติให้ลงทุน 8 ล้านดอลลาร์สหรัฐในย่างกุ้ง การประชุมเชิงปฏิบัติการและโรงงานในยังดำเนินงานตามปกติและไม่ได้รับผลกระทบรุนแรง บริษัท 3 แห่งจากจีนและฮ่องกงและบริษัทท้องถิ่นแห่งหนึ่งได้รับอนุมัติให้ลงทุนในย่างกุ้ง ซึ่งการลงทุนคาดว่าจะสร้างตำแหน่งงานกว่า 656 ตำแหน่ง โดยผู้ผลิตเสื้อผ้าและรองเท้าเป็นนักลงทุนรายใหญ่ที่สุดในเขตย่างกุ้ง คณะกรรมการการลงทุนเขตย่างกุ้งจัดการประชุม 2 ครั้งต่อเดือนเพื่อตัดสินใจอนุมัติเงินลงทุนสูงสุด 5 ล้านเหรียญสหรัฐหรือ 6 พันล้านจัต

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/investments-yangon-continue-despite-pandemic.html

ยอดผู้โดยสารลดลงส่งผลกระทบต่อคนขับแท็กซี่อย่างหนัก

แท็กซี่ในเมียนมากำลังประสบปัญหาในการหาผู้โดยสารจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ในย่างกุ้ง แม้เจ้าของอู่จะลดค่าเช่าลง (ประมาณ 50%) แต่จำนวนผู้โดยสารก็ลดลงอย่างชัดเจนตั้งแต่ต้นปี สำหรับค่าธรรมเนียมการเช่ารถยนต์ที่ใช้น้ำมันลดลงจาก 10,000 จัต เหลือ 5000 จัตต่อเดือน รถที่ใช้แก๊สจะมีการลดค่าธรรมเนียมจาก 15,000 จัตเหลือ 8,000 จัตต่อคัน คนขับ taxi รายหนึ่งเล่าว่าแต่ก่อนมีรายได้มากกว่า 40,000 จัตต่อวัน แต่ตอนนี้เหลือเพียง 20,000 จัตเท่านั้น

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/falling-demand-hits-taxi-drivers-hard.html