เวียดนามเผยเกินดุลการค้ากับอินเดีย ไตรมาสแรก

กรมศุลกากรเวียดนาม รายงานว่าในไตรมาสแรกของปีนี้ เวียดนามมียอดเกินดุลการค้ากับอินเดีย 343 ล้านดอลลาร์สหรัฐ การค้าระหว่างสองประเทศมีมูลค่า 2.345 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเวียดนามมีมูลค่าส่งออก 1.398 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า กล่าวว่าอินเดียเป็นหุ้นส่วนทางการค้าใหญ่ที่สุด 10 อันดับแรกของเวียดนาม อย่างไรก็ตาม ยังคงไม่ได้ใช้ตลาดดังกล่าวอย่างเต็มที่ สำหรับสินค้าเวียดนามจำนวนมาก ได้แก่ ลำไย ลิ้นจี่ เงาะและทุเรียน ล้วนเป็นสินค้าที่นิยมในอินเดีย นอกจากนี้ ทั้งสองประเทศมุ่งมั่นที่จะบรรลุการค้าระหว่างสองฝ่าย มีมูลค่า 15 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปีนี้

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnam-records-trade-surplus-with-india-in-q1/172836.vnp

เวียดนามเผยยอดส่งออกเครื่องนุ่งห่มลดลง 6.6% ในช่วง 4 เดือนแรก

จากข้อมูลของสมาคมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มเวียดนาม (VITAS) เปิดเผยว่าในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ มูลค่าส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มรวม อยู่ที่ 10.64 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 6.6 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ในขณะเดียวกัน มูลค่านำเข้ารวม 6.39 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 8.76 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะในเดือนเมษายนนั้น มูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 20 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน เป็นผลมาจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้ยอดส่งออกและนำเข้าดิ่งลงฮวบ แสดงให้เห็นว่าอุตสาหกรรมสิ่งทอไม่มียอดคำสั่งซื้อและคาดว่าจะลดลงอีกในเดือนพ.ค., มิ.ย. เนื่องจากคำสั่งซื้อส่วนใหญ่อยู่ในเดือนดังกล่าวอาจถูกยกเลิก ทั้งนี้ ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ที่อยู่ในอุตสาหกรรมนี้ล้วนแต่มีหนี้เสีย สำหรับธุรกิจส่งออกสิ่งทอได้ลดกำลังการผลิตลง เนื่องจากไม่ได้รับคำสั่งซื้อใหม่ นอกจากนี้ ทางรองผู้อำนวยการกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าระหว่างประเทศ กล่าวว่าการระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าหลายชนิด รวมถึงสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ทำให้ผู้ประกอบการส่วนใหญ่หันมาผลิตหน้ากากผ้า เพื่อตอบสนองความต้องการในประเทศและส่งออกไปยังต่างประเทศ

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/garment-exports-fall-66-percent-in-four-months/172848.vnp

Onepay เปิดตัวแอพบริการมือถือระหว่างธนาคารในเมียนมา

สัปดาห์นี้ Onepay ได้เปิดตัวแพลตฟอร์มการให้บริการระหว่างธนาคาร (interbank) บนมือถือใหม่ซึ่งผู้ใช้สามารถโอนเงินระหว่างธนาคารในประเทศเจ็ดแห่ง ได้แก่ Asia Green Development Bank (AGD), Ayeyarwady Bank (AYA), CB Bank, KBZ Bank, Myanma Apex Bank (MAB), uab Bank และ Yoma Bank  โดยไม่ต้องไปที่สาขาของธนาคารบริการดังกล่าว การเปิดตัวกลาง COVID-19 โดยมีเป้าหมายเพื่อลดการพบปะ/ติดต่อทางสังคมและการสังสรรค์ รวมทั้งเพิ่มความสะดวกสบายในการใช้งาน ผู้ใช้สามารถโอนเงินระหว่างธนาคารโดยการเพิ่มเงินไปยังกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ Onepay ซึ่งสามารถทำได้ผ่านบัญชีธนาคาร AGD หรือด้วย MPU, Visa หรือ Mastercard ที่เปิดใช้งานอีคอมเมิร์ซ โดยแอพกำลังเปิดตัวในช่วงเวลาที่รัฐบาลได้ให้การสนับสนุนอีคอมเมิร์ซในแผนกระตุ้นเศรษฐกิจ COVID-19 หนึ่งในเป้าหมายภายใต้แผนคือการส่งเสริมการใช้แพลตฟอร์มมือถือ อย่างบริการชำระเงินผ่านมือถือ เช่น KBZ Pay, CB Pay, Wave Money, M Pitesan และ OK Dollar เมื่อเวลาทำการของธนาคารสั้นลงการใช้การชำระเงินผ่านมือถือและการโอนเงินสดจะทำให้การทำธุรกรรมสะดวกสบาย ซึ่งเป็นเวลาที่ดีในการปลูกฝังนิสัยการใช้การชำระเงินแบบดิจิทัลตอนนี้

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/onepay-introduces-mobile-interbank-service-app-myanmar.html

บ้านเรือนกว่า 100 หลังได้รับความเสียหายจากลูกเห็บในเซียนควง

เมื่อไม่นานมานี้มีพายุลูกเห็บและฝนตกหนักทั่วอำเภอขามจังหวัดเซียนควงทำลายบ้านเรือนในพื้นที่กว่า 100 หลัง นายชัยเพ็ญพิมพ์วงศ์สาผู้ว่าการอำเภอกล่าวกับหนังสือพิมพ์เดอะไทมส์ “ลูกเห็บมีขนาดเท่าลูกเทนนิสและฝนตกหนักทำให้หมู่บ้านหลายแห่งในพื้นที่โดยเฉพาะหมู่บ้านสามไซ ได้รับความเสียหาย แต่โชคดีที่ไม่มีใครได้รับบาดเจ็บ” เขากล่าว ขณะนี้สถานการณ์ดังกล่าวดีขึ้นแต่อยู่ในขั้นตอนที่ต้องช่วยเหลือประชาชนทั้งการหาที่อยู่ชั่วคราวรวมถึงการซ่อมบำรุงบ้านเรือนต่างๆ โดยเจ้าหน้าที่กำลังระดมทุนจากภาคธุรกิจโดยเฉพาะเจ้าของเหมืองแร่สังกะสีเพื่อช่วยเหลือชาวบ้านในการซ่อมแซมบ้านของผู้ที่ได้รับความเสียหาย พายุดังกล่าวถูกแจ้งเตือนจากกรมอุตุนิยมวิทยาและอุทกวิทยาภายใต้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในช่วงวันที่ 24-26 เมษายน อย่างไรก็ตามถึงแม้สถาการณ์จะดีขึ้นรัฐบาลขอให้ผู้คนจับตาดูสภาพอากาศอย่างใกล้ชิดและตรวจสอบสถานีข่าวระดับชาติและท้องถิ่นเพื่อรับข้อมูลล่าสุดเพื่อป้องกันและรับมือกับสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นได้อีกในช่วงฤดูนี้

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Over86.php

การนำเข้าสินค้าเดือนเมษายนมีมูลค่า 529 ล้านดอลลาร์

ศูนย์ข้อมูล – กระทรวงข้อมูลการค้าของสปป. ลาวภายใต้กระทรวงอุตสาหกรรมและการพาณิชย์เปิดเผยว่ามูลค่าการนำเข้าและส่งออกของสปป. ลาวในเดือนเมษายน 2563 สูงถึง 529 ล้านดอลลาร์ โดยการส่งออกมีมูลค่า 208 ล้านดอลลาร์และมูลค่าการนำเข้า 320 ล้านดอลลาร์ขาดดุลประมาณ 112 ล้านดอลลาร์ สปป.ลาวส่งออกสินค้าสำคัญได้แก่ ไม้แปรรูป เศษเหล็ก ทองแดง แร่ทองคำ แตงโม เสื้อผ้า ในด้านมูลค่าการนำเข้าถึงแม้จะยังมีแนวโน้มที่เพิ่มอย่างเนื่องแต่สินค้าที่นำเข้าโดยส่วนใหญ่เป็นเครื่องจักรกลที่ใช้ในอุตสาหกรรมรวมถึงเครื่องใช้ไฟฟ้า บ่งชี้ให้เห็นถึงการเติบในด้านอุตสาหกรรมของสปป.ลาวทำให้ต้องมีการนำเข้าสินค้าทุนมามากขึ้น นอกจากนี้การเติบโตของเศรษฐกิจสปป.ลาวส่งผลต่อรายได้ต่อหัวของประชากรสูงขึ้นทำให้ระดับผู้ที่มีรายได้ปานกลางของสปป.ลาวมีมากขึ้น จึงมีความต้องการบริโภคมากขึ้นมูลค่าการนำเข้าของสปป.ลาวจึงสูงนั้นเอง

ที่มา : https://laoedaily.com.la/2020/05/07/77633/

แผนด้านการท่องเที่ยวในจังหวัดแกบของกัมพูชาจะถูกส่งภายในเดือนกรกฎาคม

กระทรวงการท่องเที่ยวกำลังทำงานเพื่อเปลี่ยนจังหวัดแกบ ซึ่งเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมมากที่สุดของกัมพูชา เพื่อเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวที่ได้มาตรฐานระดับโลก โดยปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวกล่าวว่ากระทรวงกำลังดำเนินการแผนแม่บทสำหรับการพัฒนาเพื่อให้จังหวัดกลายเป็น “ปลายทางการท่องเที่ยวที่น่าสนใจที่สุดในภูมิภาคและทั่วโลก” ปัจจุบันแผนแม่บทของจังหวัดแกบยังคงดำเนินต่อไปและกระทรวงมั่นใจว่าแผนจะเปลี่ยนจังหวัดให้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศและการพักผ่อนที่ดีที่สุดในภูมิภาคและทั่วโลก ซึ่งรัฐบาลกัมพูชาได้จัดตั้งคณะกรรมการระหว่างกระทรวงเพื่อศึกษาแผนการพัฒนาตั้งแต่ต้นปี 2563 โดยกระทรวงกำลังต้องการข้อมูลและการสนับสนุนเพิ่มเติมจากภาคส่วนต่างๆเพื่อการนำมาปรับปรุงและพัฒนาต่อไปในระดับท้องถิ่นเพื่อเตรียมแผนอย่างเหมาะสม ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดแกบกล่าวในระหว่างการประชุมว่าในปัจจุบันมี 13 เกาะ โดยยังไม่ได้รับการพัฒนา ซึ่งเขากล่าวว่านักลงทุนต่างชาติกำลังมองหาพื้นที่ศักยภาพของจังหวัดเพื่อทำการพัฒนาพื้นที่ต่อ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50720251/kep-tourism-masterplan-to-be-submitted-by-july/

รัฐฯ สนับสนุนเงินกู้ยืมเพื่อการพัฒนาสำหรับผู้ผลิตสินค้าทางการเกษตรในกัมพูชา

ธนาคารเพื่อการเกษตรและพัฒนาชนบท (ARDB) ของรัฐได้เรียกร้องให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ขยายการผลิตแปรรูปทางการเกษตรและขอสินเชื่อฉุกเฉินอัตราดอกเบี้ยต่ำเพื่อพัฒนาภาคการเกษตร โดยการเรียกดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากที่ธนาคารได้รับคำขอกู้เงินเพียง 5 รายการจาก SMEs ในภาคการแปรรูปสินค้าเกษตร ผู้อำนวยการ รพช. กล่าวว่าเนื่องจากกองทุนฉุกเฉินจำนวน 50 ล้านดอลลาร์ ได้มีการรับการอนุมัติจากรัฐบาลไว้สำหรับธุรกิจการแปรรูปทางการเกษตร เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันการเพิ่มผลผลิตและการดำเนินธุรกิจ ท่ามกลางผลกระทบของการระบาดของโรค Covid-19 โดยกองทุนได้รับการออกแบบมาเพื่อมุ่งเน้นเฉพาะในการแปรรูปการเกษตรการแปรรูปอาหารธุรกิจเกษตรพืชผล รวมถึงผัก, ปศุสัตว์, ธุรกิจสัตว์น้ำ และองค์กรใดๆ ที่ใช้วัตถุดิบจากการเกษตร

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50720250/agriprocessors-urged-to-take-out-loans-and-expand-work/