สปป. ลาวเตรียมพัฒนาระบบชำระเงินให้มีความทันสมัยเพื่อรองรับการเป็นศูนย์กลางการชำระเงิน

ธนาคารแห่ง สปป. ลาว กล่าวว่า ปัจจุบันเป็นยุคที่โลกขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี อุปกรณ์สื่อสารต่าง ๆ สามารถเชื่อมโยงและทำงานร่วมกันได้โดยอัตโนมัติ โดยเฉพาะด้านการเงินและการธนาคารที่ใช้เทคโนโลยีทางการเงิน FinTech เปลี่ยนรูปแบบการดำเนินธุรกิจโดยใช้นวัตกรรมในการต่อยอดธุรกิจบนพื้นฐานการแข่งขันที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยก้าวไปสู่ระบบ High Value Service เพื่อความมั่นคงทางธุรกิจ ส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบสถาบันการเงินและเงินตราของ สปป. ลาวในระยะ 10 ปี (2559 – 2568) และวิสัยทัศน์ปี 2573 ได้เน้นการพัฒนาระบบชำระเงินของประเทศให้เป็นศูนย์กลางการชำระเงินที่ทันสมัย ปลอดภัย

ที่มา : https://globthailand.com/laos-03012020/

ไซยะบุรี สู่ หลวงพระบาง เขื่อนใหม่บนความกังวล 2 ฝั่งโขง

น้ำโขงจัดเป็นแม่น้ำนานาชาติที่ 6 ประเทศ จีน-เมียนมา-ไทย-ลาว-กัมพูชา-เวียดนาม ใช้ประโยชน์ร่วมกันมาซึ่งที่ผ่านมาประเทศที่ใช้ประโยชน์จากแม่น้ำโขงโดยเฉพาะอย่างยิ่งคือจีน ได้เริ่มโครงการก่อสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำโขงเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า ส่งผลให้แม่น้ำโขงเกิดการเปลี่ยนแปลงตามมาด้วยโครงการก่อสร้างเขื่อนยกระดับน้ำโขงเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าใน สปป.ลาว ที่เพิ่งเปิดดำเนินการอย่าง เขื่อนไซยะบุรี เขื่อนนี้ถูกวิพากษ์วิจารณ์จากชุมชน และภาคประชาสังคมทั้งในไทยและ สปป.ลาว ในเรื่องของระบบนิเวศ การทำประมง แต่ถึงอย่างไรล่าสุด สปป.ล่าวได้เริ่มดำเนินโครงการเขื่อนหลวงพระบาง จัดเป็นโครงการไฟฟ้าพลังน้ำที่ “ถอดแบบ” มาจากเขื่อนไซยะบุรีโดยโครงการนี้มีผู้ร่วมทุน 3 ประเทศ ประกอบด้วย เวียดนาม สปป.ลาว  ไทย อย่างไรก็ตามชาวบ้านส่วนใหญ่ต่างกังวลกับโครงการก่อสร้างเขื่อนไม่ต่างกับเขื่อนแห่งอื่นๆ มีการกล่าวกันว่า น้ำในแม่น้ำโขงลดต่ำลง เป็นเพราะจีนไม่ปล่อยน้ำจากเขื่อนทำให้การก่อสร้างครั้งจะต้องมีการศึกษาอย่างระเอียดทั้งในแง่ของพลังงานและระบบนิเวศที่มั่นคงและปลอดภัย 

ที่มา : https://www.prachachat.net/economy/news-407210

‘กรมเจรจาฯ’ แนะผู้ประกอบการเพิ่มแปรรูปผลไม้พร้อมใช้เอฟทีเอช่วยขยายตลาดช่วงวิกฤตโควิด-19

อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า จากสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้หลายประเทศมีความต้องการบริโภคอาหารที่เก็บไว้ได้นานโดยไม่เน่าเสียเพิ่มขึ้น จึงแนะนำให้เกษตรกรและผู้ประกอบการในกลุ่มสินค้าผลไม้ปรับเปลี่ยนรูปแบบผลผลิต โดยเน้นการผลิตและส่งออกผลไม้แปรรูปมากขึ้น ที่ผ่านมาผลิตภัณฑ์ผลไม้กระป๋องและผลไม้แปรรูปของไทย ได้รับการยอมรับว่ามีคุณภาพ รวมถึงมีศักยภาพในการผลิตและส่งออกสูงเป็นอันดับที่ 5 ของโลก ซึ่งความตกลงการค้าเสรี (เอฟทีเอ) เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยผลักดันให้ผลิตภัณฑ์ผลไม้กระป๋องและผลไม้ แปรรูปของไทยเติบโตได้ในตลาดโลก โดยปัจจุบัน 13 ประเทศคู่เอฟทีเอ ได้แก่ อาเซียน 9 ประเทศ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ชิลี และฮ่องกง ได้ยกเลิกภาษีศุลกากรที่เก็บกับสินค้าผลไม้กระป๋องและแปรรูปทุกรายการจากไทยแล้ว เหลือเพียง จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย และเปรู ที่ยังคงเก็บภาษีนำเข้าบางรายการ เมื่อเปรียบเทียบมูลค่าการส่งออกผลไม้กระป๋องและแปรรูปของไทย ปีก่อนที่ไทยจะมีเอฟทีเอฉบับแรกกับอาเซียนในปี 35 จนถึงปัจจุบัน การส่งออกสินค้าผลไม้กระป๋องและผลไม้แปรรูปของไทยให้ขยายตัวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 190 ประเทศคู่ค้าสำคัญ 5 อันดับแรก คือ สหรัฐฯ สหภาพยุโรป อาเซียน ญี่ปุ่น และ จีน ซึ่งมีแนวโน้มเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะพฤติกรรมผู้บริโภคสมัยใหม่ที่ต้องการความสะดวกในการดำเนินชีวิตมากขึ้น และในช่วงที่สินค้าผลไม้สดกำลังเผชิญปัญหาการส่งออกชะงักงันจากสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 จึงถือเป็นโอกาสที่เกษตรกรและผู้ประกอบการไทยจะเพิ่มการแปรรูปสินค้าผลไม้สด เป็นผลไม้กระป๋องและผลไม้แปรรูป

ที่มา : https://www.ryt9.com/s/beco/3111542

นครโฮจิมินห์ดึงดูดการลงทุน FDI ลดลง 33% เมื่อเทียบกับปีก่อน ในช่วงไตรมาสแรก

จากข้อมูลของสำนักงานสถิตินครโฮจิมินห์ ระบุว่านครโฮจิมินห์ดึงดูดเม็ดเงินทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) มากกว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในวันที่ 20 มีนาคม ลดลงร้อยละ 33 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีจำนวน 290 โครงการใหม่ ด้วยเงินทุนจดทะเบียน 142.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่ จำนวนโครงการใหม่เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และมูลค่ารวมกันลดลงร้อยละ 50.7 สำหรับโครงการที่มีอยู่ มีมูลค่า 80.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และมูลค่าจากการซื้อหุ้น 829.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ การลงทุนเชิงพาณิชย์ใหม่ คิดเป็นสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 60 ของเงินทุนใหม่ทั้งหมดในโครงการใหม่ นอกจากนี้ จาก 37 ประเทศที่เข้ามาลงทุนในนครโฮจิมินห์ อาทิ สิงคโปร์ ฮ่องกงและญี่ปุ่น เป็นต้น ในด้านการลงทุนในประเทศนั้น นครโฮจิมินห์มีจำนวนธุรกิจก่อตั้งใหม่ 8,100 ราย ด้วยเงินทุนจดทะเบียน 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 30.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

ที่มา :https://vietnamnews.vn/economy/674564/fdi-into-hcm-city-in-q1-drops-33-year-on-year.html

ภาคเกษตรเวียดนาม เกินดุลการค้าราว 49% ในช่วงไตรมาสแรก

จากข้อมูลของกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบท เปิดเผยว่าภาคเกษตรเวียดนาม มียอดเกินดุลการค้าราว 2.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2563 เพิ่มขึ้นร้อยละ 48.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการส่งออกสินค้าพืชสวนสำคัญอยู่ที่ 4.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 3.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีแนวโน้มที่เหมือนกับสินค้าส่งออกป่าไม้ ประมงและปศุสัตว์ ด้วยมูลค่า 2.8, 1.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และ 109 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 16.13, 14 และ 21.8 ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม มีสินค้าหลายรายการยังคงเติบโต ได้แก่ ข้าว สำปะหลัง ไม้และไม้แปรรูป เป็นต้น ในขณะเดียวกัน การส่งออกปลาสวายหดตัวอย่างมาก ลดลงร้อยละ 61.5 ด้วยมูลค่า 238 ล้านดอลลาร์สหรัฐ รองลงมายาง (26.1%), ชา (19%) และพริกไทย (13.9%) เนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้ตลาดสหรัฐฯ แทนที่ตลาดจีน ในฐานะผู้ซื้อรายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม ด้วยมูลค่าการนำเข้าสินค้าเกษตรอยู่ที่ 2.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ  คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 23.2 ของยอดส่งออกรวม รองลงมาจีน (21.4%), สหภาพยุโรป (13.1%), ญี่ปุ่น (8.9%) และอาเซียน (16.4%)

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/qi-agriculture-posts-nearly-49-growth-in-trade-surplus-412069.vov