รัฐบาลอัดฉีดเงิน 1 แสนล้านกีบส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม SMEs

รัฐบาลสปป.ลาวอัดฉีดเงิน 1 แสนล้านกีบในการจัดตั้งกองทุนส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) เพื่อลดอุปสรรคในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนและยังเป็นการสนับสนุนภาคธุรกิจขยาดย่อม (SMEs) สำหรับการนำเงินไปลงทุนขยายกิจการเพิ่มเติม ซึ่งกลไกลดังกล่าวจะทำผ่านธนาคารพาณิชย์ในรูปแบบของการให้เงินกู้เงินระยะยาวในอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำโดยมีเงื่อนไขดังนี้ มีแผนธุรกิจที่ชัดเจน ถือบัญชีตามกฎหมายการบัญชี การฝึกอบรม SME มืออาชีพที่ผ่านการรับรอง ซึ่งการสนับสนุนดังกล่าวจะเข้ามาช่วยแก้ปัญหาการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของภาคธุกิจซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการขยายธุรกิจของ ภาคธุรกิจขยาดย่อม (SMEs) เป็นภาคที่สำคัญของประเทศเพราะคิดเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 99 ของบริษัทจดทะเบียนทั้งหมดในสปป.ลาวรวมถึงลูกจ้างในธุรกิจที่คิดเป็นร้อยละ 82 ของลูกจ้างทั้งหมดของสปป.ลาว ดังนั้นการส่งเสริมดังกล่าวไม่เพียงแต่ช่วยส่งเสริมเติบโตของธุรกิจแต่ยังช่วยทำให้ความเป็นอยู่ของคนในประเทศส่วนใหญ่ดีขึ้นอีกด้วย

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Govt60.php

นักลงทุนยังคงมีความเชื่อมั่นในระบบเศรษฐกิจกัมพูชาอยู่หรือไม่

ธนาคารแห่งชาติของกัมพูชาได้ริเริ่มโครงการต่างๆเพื่อส่งเสริมและหมุนเวียนเงินเรียลในระบบให้มากขึ้น แต่ด้วยเงินดอลลาร์สหรัฐที่มีอยู่ในระบบปัจจุบันมากกว่าร้อยละ 80 ของระบบเศรษฐกิจกัมพูชา โดยคำถามนี้ยังคงอยู่ว่านักลงทุนจะยังคงมีความมั่นใจในเศรษฐกิจกัมพูชาอยู่หรือไม่ ซึ่งเงินสกุลดอลลาร์มีผลกระทบทั้งเชิงบวกและเชิงลบในกลุ่มเศรษฐกิจเกิดใหม่ทั่วโลก โดยธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชียอธิบายว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดคือการสูญเสียการควบคุมนโยบายด้านการเงินที่เป็นอิสระของอัตราแลกเปลี่ยน อย่างไรก็ตามในด้านผลบวกคือก่อให้เกิดความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้นจากการใช้สกุลเงินดอลลาร์ ภายใต้อัตราเงินเฟ้อที่ลดลง ซึ่งการลดปริมาณเงินดอลลาร์ในระบบลงจะเป็นสิ่งที่ดีสำหรับกัมพูชาในระยะยาวแต่ต้องเกิดขึ้นเองตามกลไกของระบบเศรษฐกิจ สาเหตุหลักของการขาดความเชื่อมั่นในเงินเรียลนั้นมากจากความไม่แน่นอนทางการเมืองและเศรษฐกิจ รวมถึงโครงสร้างทางกฎหมายที่อ่อนแอ โดยปัญหาเหล่านี้เป็นปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไขโดยตรงอย่างถูกต้องและเหมาะสม

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50705014/will-investors-remain-confident-in-a-de-dollarised-cambodian-economy/