เวียดนามยังคงนำเข้าสินค้าจากสหรัฐฯอย่างต่อเนื่อง

จากข้อมูลของกรมศุลกากร เปิดเผยว่าสหรัฐอเมริกาเป็น 1 ในแหล่งวัตถุดิบรายใหญ่ที่สุดจากเวียดนาม และมีการนำเข้าสินค้าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปีที่แล้ว พบว่ามูลค่าการนำเข้าอยู่ที่ 14.36 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 18  รวมถึงคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบด้วยมูลค่า 14.36 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับการนำเข้าผลิตภัณฑ์พลาสติกเพิ่มขึ้นร้อยละ 84.3 ด้วยมูลค่า 826.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ การนำเข้าสินค้าอื่นๆ เริ่มต้นเพิ่มขึ้นในช่วงปีนี้ ได้แก่ อาหารทะเลและวัตถุดิบอาหารเลี้ยงสัตว์ที่นำเข้าทำให้ราคาลดลง เป็นผลมาจากสงครามการค้าสหรัฐฯ-จีน และการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทั้งนี้ ทางผู้อำนวยการบริษัทเทรดดิ้งอาหารทะเลระหว่างประเทศ ระบุว่าการส่งออกล็อบสเตอร์ของสหรัฐฯไปยังจีนลดลง เนื่องมาจากราคาสินค้าและทำให้ต้องนำเข้าจากเวียดนามพุ่งสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ผู้คนไม่นิยมรับประทานอาหารนอกบ้านเท่าไรนัก เนื่องจากความกังวลต่อไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้อุปทานของภัตตาคารลดลง แต่ในทางกลับกัน จำนวนผู้คนที่ทำอาหารในบ้านเพิ่มสูงขึ้น

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/vn-imports-of-us-goods-continue-to-rise-411376.vov

เมียนมาส่งออกข้าว 40,000 ตันผ่านด่านมูเซ

จำนวนข้าวและข้าวหักรวมประมาณ 40,000 ตันถูกส่งออกผ่านแดนมูเซ 105 ไมล์ในหนึ่งเดือนเนื่องจากความต้องการจากตลาดจีน ซึ่งถือเป็นโอกาสของตลาดการค้าชายแดนกลับมาเป็นบวกอีกครั้ง โดยรัฐบาลจีนอนุญาตให้ส่งออกผ่านประตูชายแดนเนื่องจากความต้องการเพิ่มขึ้น และไม่จำเป็นต้องมีใบอนุญาต การส่งออกรายวันอยู่ที่ประมาณ 1,700 ตันทั้งข้าวและข้าวหัก การค้าชายแดนของมูเซเกือบหยุดชะงักเนื่องจาก COVID-19 แต่การค้าขายกลับอีกครั้งตั้งแต่วันที่ 13 กุมภาพันธ์ และถูกส่งออกอย่างสม่ำเสมอด้วยรถบรรทุก 40 หรือ 50 คันทุกวัน องค์การอนามัยโลกประกาศว่า COVID-19 เป็นการระบาดใหญ่ การส่งออกสินค้าเกษตรไปยังประเทศจีนได้รับผลกระทบจากการปิดชายแดนและการส่งออกที่ลดลง จำนวนข้าวส่งออกและถุงข้าวหักเพิ่มขึ้นโดยมีรถบรรทุกประมาณ 50 คันต่อวันจนถึงต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2563 หากเปรียบเทียบกับรถบรรทุกเพียง 20 คันในเดือนตุลาคมพฤศจิกายนและธันวาคมปีที่แล้ว

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/40000-tonnes-rice-exported-muse.html

คน.ถกผู้ผลิตสินค้ารับมือชาวบ้านแห่กักตุน

กรมการค้าภายในเชิญผู้ประกอบการสินค้าหาแนวทางรับมือประชาชนกักตุนอาหาร ชี้ผู้ผลิตยืนยันยังเหลือกำลังการผลิตอีก 30% วอนประชาชนไม่ต้องกักตุนสินค้า ขณะนี้มีข่าวลือเรื่องการระบาดของไวรัสโควิด-19  จนทำให้สัปดาห์ที่ผ่านมามีประชาชนเข้าไปซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคมากกว่าปกติ จนทำให้ชั้นวางสินค้าในบ้างห้างบ้างช่วงเวลาขาดแคลน จึงได้เรียกผู้ประกอบการค้าปลีกเข้ามาสอบถามสถานการณ์อีกครั้งเพื่อหาแนวทางในการดูแลไม่ให้สินค้าขาดแคลน เบื้องต้น  ได้รับการยืนยันจากผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคว่ามีกำลังการผลิต 70% ยังเหลือกำลังการผลิตอีก 30% ที่สามารถเพิ่มกำลังการผลิตได้ทันที หากความต้องการสินค้าเพิ่มขึ้น ขณะนี้กระทรวงพาณิชย์ติดตามสถานการณ์ปริมาณสินค้าอย่างใกล้ชิดหลังจากที่มีประชาชนวิตกกังวลจากปัญหาโรคโควิด-19 จนทำให้เร่งซื้อสินค้าอุปโภคบริโภค ไปกักตุน จนหายออกไปจากชั้นวางในห้างต่างๆ  อย่างไรก็ตามยืนยันว่า ประเทศไทย เป็นฐานการผลิตสินค้าอุปและบริโภคสำคัญของโลก โดยเฉพาะเป็นผู้ผลิตอาหาร ทั้งอาหารสำเร็จรูป และผู้ปลูกข้าวรายใหญ่ จึงไม่ต้องกลัวอาหารขาดแคลน รวมถึงสินค้าอุปโภค เช่น  กระดาษชำระที่ยังมีวัตถุดิบการผลิตเพียงพอ ดังนั้น จึงไม่มีความจำเป็นต้องกักตุนสินค้า ผู้ผลิตสินค้ารายใหญ่ของประเทศกว่า 40 ราย ต่างยืนยันสินค้ามีเพียงพอต่อความต้องการบริโภคของคนในประเทศไม่มีการขาดแคลนอย่างแน่นอน  โดยตอนนี้ผู้ผลิตสินค้าได้ใช้กำลังการผลิต 70% ยังเหลืออีก 30%   จึงไม่มีความจำเป็นต้องซื้อสินค้าไปกักตุนไว้ และได้ขอความร่วมมือกับผู้ผลิตและห้างสรรพสินค้าทุกรายของประเทศแล้วให้ช่วยกันดูแลสินค้าภายในห้างให้มีเพียงพอต่อความต้องการให้มากที่สุดด้วย

ที่มา: https://www.dailynews.co.th/economic/763212

ญี่ปุ่นสนับสนุนเงิน 3.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมและความแห้งแล้งในแม่น้ำโขง

รัฐบาลญี่ปุ่นจะมอบเงินช่วยเหลือ 412 ล้านเยนญี่ปุ่น (ประมาณ 3.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) แก่คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (MRC) เพื่อสนับสนุนการพัฒนาด้านการตรวจสอบและการพยากรณ์ถึงภัยธรรมชาติที่เกี่ยวข้องกับน้ำท่วมและภัยแล้งที่เป็นปัญหาที่สปป.ลาว ต้องเผชิญทุกปีโดยเฉพาะภาคการผลิตของเกษตร ที่ได้รับผลกระทบโดยตรง ข้อตกลงเรื่องเงินทุนได้ลงนามเมื่อสัปดาห์ที่แล้วโดยตัวแทนของ ศูนย์จัดการน้ำท่วมและภัยแล้งในภูมิภาค(MRC)และรัฐบาลญี่ปุ่นในเวียงจันทน์โดยความช่วยเหลือดังกล่าวจะเปลี่ยนศูนย์จัดการน้ำท่วมและภัยแล้งในภูมิภาคของ MRC ให้กลายเป็นศูนย์กลางของความเป็นเลิศในการจัดหาการคาดการณ์น้ำท่วมและภัยแล้งที่รวดเร็วและแม่นยำมากขึ้นและเตือนภัยล่วงหน้าไปยังประเทศลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง ญี่ปุ่นเชื่อว่าการสนับสนุนทางการเงินแก่สปป.ลาวในครั้งนี้ นอกจากเป็นการสนับสนุนในด้านดังกล่าวแล้ว ถือเป็นการสร้างสัมพันธ์ที่ดีต่อกันระหว่าง 2 ประเทศเพื่อเป็นผลดีต่อการเจรจาด้านการค้าในอนาคต

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Japan.php