กัมพูชางดเก็บภาษีรายเดือนโรงแรมและเกสต์เฮาส์ในเสียมราฐจากความกังวลของไวรัส

          นายกรัฐมนตรีฮุนเซนประกาศจะไม่เรียกเก็บภาษีรายเดือน 4 เดือนสำหรับโรงแรมและเกสต์เฮาส์ในเสียมเรียบเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ธุรกิจ โดยมาตรการดังกล่าวจะช่วยบรรเทาผลกระทบของการท่องเที่ยวต่อการระบาดของไวรัสโคโรนา ซึ่งปัจจุบันเป็นที่รู้จักอย่างเป็นทางการในชื่อ Covid-19 โรงแรมและเกสต์เฮาส์จะได้รับการยกเว้นภาษีเป็นเวลา 4 เดือน สำหรับธุรกิจที่ลงทะเบียนกับกรมสรรพากรกัมพูชา โดยประธานสมาคมการท่องเที่ยวเอเชียแปซิฟิกแห่งกัมพูชา (PATACC) กล่าวว่าภาคเอกชนได้สนับสนุนมาตรการใหม่ของรัฐบาลสำหรับการยกเว้นภาษีให้กับโรงแรมและเกสต์เฮาส์ในเสียมเรียบ ซึ่งยังเรียกร้องให้รัฐบาลยกเว้นภาษีสำหรับบริษัททัวร์และ บริษัทท่องเที่ยวเนื่องจากบริษัททัวร์เหล่านั้นกำลังเผชิญกับปัญหาด้านการท่องเที่ยว โดยรัฐบาลมุ่งมั่นที่จะช่วยสนับสนุน ซึ่งพยายามเพิ่มแพ็คเกจการเดินทางไปยังตลาดท้องถิ่นเพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวภายในประเทศ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50694633/tax-discount-on-siem-reap-hospitality-over-virus-fears

กัมพูชาเผชิญกับปัญหาด้านห่วงโซ่อุปทานจากไวรัส COVID-19

ซัพพลายเออร์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จากกัมพูชา เมียนมาและเวียดนามมีความสำคัญต่อแบรนด์แฟชั่นระดับโลกสูงขึ้นเกือบ 20% โดยซัพพลายเออร์เหล่านี้เผชิญกับปัญหาในด้านห่วงโซ่อุปทานเนื่องจากวัสดุส่วนใหญ่สำหรับผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้ายมาจากประเทศจีน ซึ่งได้รับความเสียหายจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 โดยเลขาธิการสมาคมผู้ผลิตเสื้อผ้าในประเทศกัมพูชาอ้างโดย Nikkei Asian Review กล่าวว่าวัตถุดิบมากกว่า 60% สำหรับอุตสาหกรรมเสื้อผ้าของประเทศกัมพูชามาจากประเทศจีน ซึ่งโฆษกกระทรวงแรงงานกล่าวกับสื่อมวลชนท้องถิ่นว่ามีคนงานมากกว่า 90,000 คน ในโรงงานกว่า 200 แห่งในกัมพูชา ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ในครั้งนี้

ที่มา :  https://www.khmertimeskh.com/50694492/cambodia-faces-supply-chain-crunch-no-thanks-to-covid-19

ธุรกิจญี่ปุ่นลงทุนภาคการค้าปลีกและบริการในเวียดนาม

ภาคการค้าปลีกและบริการเวียดนาม คาดว่าจะดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากญี่ปุ่นจำนวนมากในปีนี้ จากข้อมูลขององค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JETRO) เปิดเผยว่ากำลังซื้อของชาวเวียดนามที่เพิ่มขึ้นทั่วประเทศนั้น ทำให้ผู้ประกอบการค้าปลีกและบริการชาวญี่ปุ่น มองหาโอกาสธุรกิจในตลาดที่กำลังเติบโต ถึงแม้ว่าการลงทุนของญี่ปุ่นจะลดลงในปีที่แล้ว แต่จำนวนโครงการใหม่ของนักลงทุนญี่ปุ่นกลับเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ซึ่งจำนวนโครงการที่จดทะเบียนแตะระดับสูงสุดอยู่ที่ 435 โครงการในปีที่แล้ว ทั้งนี้ จากผลการสำรวจของเจโทร ระบุว่าผู้ประกอบการชาวญี่ปุ่นที่ทำธุรกิจในเวียดนามส่วนใหญ่ร้อยละ 63.9 ตั้งใจที่จะขยายธุรกิจในประเทศ นับว่าเวียดนามเป็นประเทศที่มีอัตราการลงทุนสูงสุดในอาเซียน ในขณะเดียวกัน องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (JICA) ได้กล่าวกับสื่อท้องถิ่นว่าเมื่อ 3 ปีก่อน ว่าประเทศไทยเป็นตลาดที่น่าสนใจอย่างมากสำหรับนักลงทุนและผู้ประกอบการชาวญี่ปุ่น แต่ด้วยแนวโน้มในปัจจุบัน ผู้ประกอบการชาวญี่ปุ่นส่วนใหญ่หันมาลงทุนในเวียดนามแทน เนื่องจากจำนวนประชากรมากกว่า 96 ล้านคน ดังนั้น ภาคบริการจีงมีศักยภาพสูงและเป็นสาเหตุที่ผู้ค้าปลีกญี่ปุ่นหลายรายเข้ามาทำตลาดในเวียดนาม นอกจากนี้ กระทรวงการวางแผนและการลงทุน ระบุว่าธุรกิจญี่ปุ่นหลายรายมักจะระมัดระวังในการลงทุน ซึ่งจากข้อมูลสถิติการลงทุน ระบุว่าในปีที่แล้ว เม็ดเงินลงทุนโดยตรงจากญี่ปุ่นอยู่ที่ 1.07 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/japanese-businesses-to-invest-in-vietnam-s-services-and-retail/169100.vnp

ACV คาดผลกำไรลดลง 6 ล้านล้านดองในปี 63 จากโควิด-19

จากข้อมูลขององค์กรท่าอากาศยานเวียดนาม (ACV) คาดว่ากำไรในปีนี้จะสูงถึง 1.7 ล้านล้านดอง (73.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ลดลงมากกว่า 6 ล้านล้านดองเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว เนื่องมาจากผลกระทบของสถานการณ์แพร่ระบาดโรคโควิด-19 โดยในปีที่แล้ว บริษัทมีรายได้สุทธิอยู่ที่ 18.3 ล้านล้านดองและกำไรหลังหักภาษีอยู่ที่ 8.3 ล้านล้านดอง เป็นผลมาจากการเติบโตของปริมาณผู้โดยสารและการขนส่งสินค้าทางอากาศ ซึ่งในระหว่างการประชุมกับคณะรัฐมนตรี ระบุว่าทาง ACV ได้เสนอให้รัฐบาลและนายกรัฐมนตรีทำการพิจารณาความคืบหน้าของโครงการลงทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โครงการพัฒนาระบบดาดฟ้าเรือบรรทุกเครื่องบินในท่าอากาศยานนานาชาติเตินเซินเญิ้ตและท่าอากาศยานนานาชาติโหน่ยบ่าย ทั้งนี้ เอกสารทางกฎหมายนั้น เป็นแนวทางในการกำหนดของสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศเวียดนามปัจจุบัน ไม่ได้กำหนดบทบาทของผู้ประกอบการท่าอากาศยานอย่างชัดเจนในด้านการลงทุน พัฒนาและขยายธุรกิจท่าอากาศยาน ซึ่งมอบหมายให้ธุรกิจได้บริหารและการใช้หาประโยชน์ ซึ่งจากข้อมูลข้างต้นส่งผลต่อการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานของท่าอากาศยานเวียดนาม (ACV) นอกจากนี้ ในวันที่ 31 ธ.ค. 62 บริษัทมีเงินฝากระยะสั้นราว 31.2 ล้านล้านดอง คิดเป็นสัดส่วนมากกว่าสินทรัพย์รวมทั้งสิ้น ด้วยปัญหาข้างต้น จึงดำเนินการร่างแก้ไขพระราชกฤษฎีกา 102/2015 เกี่ยวกับการดำเนินงานของท่าอากาศยาน

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/ha-tinhs-cage-fish-farmers-restore-production/169071.vnp

อุปสรรคการเติบโตของเศรษฐกิจสปป.ลาวในสถานการณ์ปัจจุบัน

ในปีนี้เศรษฐกิจสปป.ลาวจะมีอุปสรรคในการเติบโตจากผลกระทบในเรื่อง ภัยแล้งอาจส่งผลกระทบต่อการผลิตทางการเกษตรและระดับอ่างเก็บน้ำต่ำอาจทำให้เกิดการลดการผลิตไฟฟ้า การระบาดของ covid-19ทำให้สูญเสียนักท่องเที่ยวหรือคิดเป็นมูลค่ากว่า20-25 ล้านเหรียญสหรัฐและจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัวจากสงครามการค้าและความขัดแย้งระหว่างสหรัฐอเมริกาและอิหร่านจะส่งผลให้การส่งออกสินค้าสปป.ลาวลดลง ปัจจัยต่างๆเหล่านี้จะทำให้การเติบโตไม่เป็นไปตามเป้าที่วางไว้ อย่างไรก็ตามแม้จะมีอุปสรรคในการเติบโตเศรษฐกิจ สปป.ลาวก็น่าจะยังสามารถเติบโตในระดับร้อยละ 6.3-6.4 จากการผลิตไฟฟ้าโดยเฉพาะโรงไฟฟ้าพลังน้ำ Xayaboury ซึ่งเริ่มดำเนินการเชิงพาณิชย์ในเดือนธันวาคมปีที่แล้ว รวมถึงการลงทุนจากสินเชื่อภายในประเทศคาดว่าจะเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ สิ่งสำคัญที่จะทำให้เศรษฐกิจยังคงเติบโตได้ในสถานณ์การณ์นี้แบบคือการปรับปรุงมาตรฐานการศึกษาเพื่อให้แรงงานมีทักษะสูงมีความรู้และความสามารถมากขึ้นรวมถึงการเพิ่มมูลค่าห่วงโซ่โดยการยกระดับโดยใช้เทคโนโลยีขั้นสูง

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/growth-laos-remain-resilient-despite-economic-headwinds-114398

การลงนามความร่วมมือระหว่างสปป.ลาว-สาธารณรัฐเช็กส่งเสริมการค้าและการลงทุนทั้ง 2 ประเทศ

หอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งชาติลาว (LNCCI) และหอการค้าเช็กได้ตกลงที่จะร่วมมือเพื่อส่งเสริมการค้าและการลงทุนระหว่างทั้ง 2 ประเทศ การลงนามเกิดขึ้นระหว่างผู้นำ LNCCI และผู้ประกอบการธุรกิจสปป.ลาวกับคณะผู้แทนสาธารณรัฐเช็ก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดระหว่างนักธุรกิจของทั้งสองประเทศและเพื่อค้นหาโอกาสใหม่ ๆ สำหรับความร่วมมือทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของ 2 ประเทศโดยแนวโน้มการค้าระหว่าง 2 ประเทศมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นโดยในปี 62มีมูลค่ามากถึง 1.04 ล้านเหรียญสหรัฐและคาดว่าในปีนี้ยังคงมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ดังนั้นการลงนามดังกล่าวจะช่วยส่งเสริมความแข็งแกร่งของธุรกิจให้วสามารถเติบโตไปได้และมีคู่ค้าที่แข็งแกร่งอย่างสาธารณรัฐเช็กนอกจากนี้พัฒนาการในอุตสาหกรรมของสปป.ลาวก็ได้รับการพัฒนาและเติบโตควบคู่ไปอีกด้วย

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/lao-czech-chambers-boost-trade-investment-114396

โรงงานถุงของจีนในเมียนมาปิดตัวลงเพราะพิษ COVID-19

วันจันทร์ที่ผ่านมาโรงงานถุงของจีนในย่างกุ้งประกาศปิดตัวลงเนื่องจากการขาดแคลนวัตถุดิบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ในประเทศจีน โรงงานถุงลัคกี้สกายในเขตอุตสาหกรรม Mya Sein Yaung เมือง Hlaing Tharyar ปิดตัวลงโดยไม่ได้แจ้งให้พนักงานทราบ ซึ่งเริ่มมีพนักงานประท้วงภายหลังปิดตัวลง หนึ่งในผู้นำของการประท้วงเรียกร้องให้เพิกถอนใบอนุญาตของโรงงานและให้เนรเทศพนักงานชาวจีน 20 คน โรงงานมีคนงาน 642 คน ซึ่งส่งออกกระเป๋าหนังไปยุโรป คนงานนัดหยุดงานตั้งแต่วันที่ 31 มกราคมถึง 11 กุมภาพันธ์ส่งผลให้คำสั่งซื้อลดลง หลังจากบรรลุข้อตกลงกับโรงงานเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์คนงานกลับมาทำงาน แต่ 10 วันต่อมาเลขาธิการสหภาพแรงงานถูกไล่ออกโดยไม่มีเหตุผลดังนั้นจึงเกิดการประท้วงและโรงงานปิดตัวลง ทั้งนี้ผู้บริหารโรงงานยืนยันว่าจะจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงาน ลัคกี้สกายเป็นบริษั จีนแห่งที่สามที่ต้องปิดตัวลงในช่วงสามสัปดาห์ที่ผ่านมาเนื่องจากการระบาดของ COVID-19 เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาสมาคมผู้ผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปเมียนมาแสดงความกังวลว่าครึ่งหนึ่งของโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าในประเทศอาจปิดตัวลงในเดือนหน้าเนื่องจากขาดแคลนวัตถุดิบจากจีน ซึ่ง 90% ของผ้า สิ่งทอ และซิปที่ใช้ในโรงงานล้วนมาจากจีนทั้งสิ้น

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/chinese-bag-maker-shuts-down-myanmar-over-covid-19.html

ลุ้นรัฐกระทุ้งงบ-ออกมาตรการฟื้นเศรษฐกิจ

วิจัยกรุงศรีฯ ลุ้นรัฐกระทุ้งงบ-ออกมาตรการฟื้นเศรษฐกิจ คาดไวรัสโควิดจบมี.ค.นี้หนุนนักท่องเที่ยวดีครึ่งปีหลัง ได้ประเมินเศรษฐกิจไทยไตรมาสแรกจะขยายตัวติดลบ 0.7% แต่เชื่อว่าจะกลับมาขยายตัวเป็นบวกได้ในครึ่งปีหลัง โดยคาดหวังว่าจะมีนโยบายการเงินและนโยบายการคลังเข้ามาช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง ซึ่งคาดว่าคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) จะลดดอกเบี้ยอีก 1 ครั้งในเดือนมี.ค.นี้เหลือ 0.75% จากปัจจุบัน 1% และรอภาครัฐออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มหลังจากงบประมาณ 63 มีผลบังคับใช้คาดกลางเดือนมี.ค.นี้ ทั้งนี้จากที่ประมาณการเศรษฐกิจไทยปีนี้จะขยายตัว 1.5% เนื่องจากภาคการท่องเที่ยวได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 ค่อนข้างมากจนอาจกระทบต่อเนื่องถึงภาคการผลิต การจ้างงาน และการจับจ่ายใช้สอยในประเทศ ขณะเดียวกันงบประมาณ 63 ที่ล่าช้ายังส่งผลให้งบเบิกจ่ายสูญเสียไปแล้ว 1.5 แสนล้านบาท คาดหลังจากเดือนมี.ค.นี้เมื่องบประมาณ 63 มีผลบังคับใช้ โดยรัฐบาลจะต้องเร่งเบิกจ่ายให้เร็วที่สุดอาจมีเหลือ 2.8 แสนล้านบาท ซึ่งที่ผ่านมางบประมาณล่าช้ากระทบต่องบลงทุนภาครัฐและลงทุนเอกชนเพราะโครงการลงทุนภาครัฐไม่ชัดเจน มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจควรเริ่มจากช่วยกระตุ้นจับจ่ายใช้สอยในประเทศ เช่นที่ผ่านมาแจกเงินเช็คช่วยชาติ ยังทำให้ห้างร้านได้ลดราคา ให้คนที่ไม่ได้เช็คช่วยชาติได้เข้าถึงสินค้าที่ลดราคานั้นด้วย ยิ่งทำให้เกิดกำลังซื้อเพิ่มได้อีก อย่างไรก็ตามไวรัสโควิด-19 คาดจะไม่ยืดเยื้อ เชื่อว่าจะกระทบเศรษฐกิจสูงสุดเดือนก.พ.-มี.ค.นี้ และจะค่อย ๆ ลดลง หลังเดือนพ.ค.จากอัตราการแพร่กระจายจะลดลง โดยครึ่งปีหลังเมื่อไวรัสฯ กลับมาดีขึ้น จะทำให้การท่องเที่ยวจะเริ่มกลับมาดีขึ้นตามไปด้วย

ที่มา: https://www.dailynews.co.th/economic/759323

แรงงานเมียนมาไม่หวั่นพิษโคโลน่ากลับเข้าทำงานในจีนเพิ่มขึ้น

ในไม่กี่วันที่ผ่านมาแรงงานเมียนมากลับไปยังประเทศจีนเนื่องจากโรงงานที่ตั้งอยู่ระหว่างสองประเทศยังเปิดทำการปกติ

แม้ว่าภูมิภาคโคโรนาไวรัสจะยังคงปิดอย่างต่อเนื่อง โรงงานในจีนกำลังเรียกคนงานกลับมาที่นี่ ทุกวันมีผู้คนราวหมื่นคนเดินทางกลับประเทศจีนผ่านประตูชายแดนมูเซ นอกจากนี้ยังมีบางคนที่ไปตอนเช้าและกลับตอนเย็น เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 63 ตลาดผลไม้ของเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนมูเซ (Muse 105th Mile Border Trade Zone) มีรถบรรทุก 230 คันบรรทุกแตงโมและบรรทุกเมลอน 219 คัน มาขาย

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/more-myanmar-workers-returning-to-their-jobs-despite-virus-threat