ข้อเสนอการนำเข้าตาลของกรีกเป็นผลดีสำหรับเมียนมา

สมาคมอ้อยน้ำตาลของเมียนมาเผย กรีซเสนอซื้อน้ำตาลจากเมียนมาที่ราคา fob อยู่ที่ 400 ดอลลาร์สหรัฐ/ตัน/เดือน  ปัจจุบันราคาน้ำตาลปรับตัวลดลงเนื่องจากอุทานส่วนเกินล้นตลาด คลังสินค้าได้รับความเสียหายจากปีก่อนจึงทำให้คุณภาพลดลง นี่เป็นครั้งแรกที่กรีซนำเข้าน้ำตาลเนื่องจากอนุญาตให้นำเข้าและส่งออกและกลับมาเพิ่มปริมาณการค้าในปี 2558 ในอดีตส่วนใหญ่ส่งออกไปจีนเป็นหลัก อย่างไรก็ตามเพื่อควบคุมการส่งออกที่ผิดกฎหมาย จึงจำกัดการนำเข้าน้ำตาลจากเมียนมาและห้ามนำเข้าทั้งหมดในเดือนกันยายน 60 ปัจจุบันมีชาวไร่อ้อยเกือบ 500,000 คน ซึ่งป้อนให้กับโรงงานน้ำตาล 23 แห่งในประเทศ เกษตรกรยังขอให้รัฐบาลจำกัด การนำเข้าน้ำตาลที่ล้นตลาด ปกติแล้วอ้อยจะผลิตและแปรรูปในเดือนพฤศจิกายน แต่โรงงานน้ำตาลในพื้นที่ก็เริ่มหีบอ้อยในเดือนธันวาคมของปีนี้

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/greek-offer-myanmar-sugar-draws-interest.html

ฝรั่งเศสมีแผนเพิ่มการลงทุนในเมียนมา

จากรายงานของสภาหอการค้าและอุตสาหกรรมของเมียนมา (UMFCCI) ภายหลังจากหยุดการลงทุนไปแปดปี ฝรั่งเศสเตรียมขยายการลงทุนที่มีอยู่และกำลังเริ่มลงทุนในเมียนมาด้านต่าง ๆ เช่น พลังงาน ทางรถไฟ ท่าเรือและอื่น ๆ ทั้งนี้กำลังพูดคุยเกี่ยวกับการจับคู่ธุรกิจฝรั่งเศส – เมียนมา นำโดยสภาธุรกิจฝรั่งเศส – เมียนมา ในวันจันทร์ที่จะถึงนี้ซึ่งจัดขึ้นโดย UMFCCI ธุรกิจของฝรั่งเศสมีความกระตือรือร้นที่จะหาพันธมิตรเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจที่เป็นประโยชน์ต่อทั้งสองประเทศ แม้เมียนมากำลังเผชิญปัญหาภายในแต่ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับประเทศอื่น ๆ ยังคงต้องพัฒนาต่อไป โดยนักธุรกิจฝรั่งเศสมีความสนใจลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษติวาล่า จากข้อมูลของคณะกรรมการการลงทุนและการบริหารบริษัท (DICA) ฝรั่งเศสเป็นคู่ค้าอันดับที่เก้าจากคู่ค้า 50 อันดับแรกของเมียนมาและในปีที่แล้วมีปริมาณการค้าระหว่างประเทศ 551 ล้านเหรียญสหรัฐ ตั้งแต่ปี 1988 ถึง 2011 ฝรั่งเศสลงทุนในเมียนมาไปแล้ว 469 ล้านเหรียญสหรัฐ

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/france-keen-invest-more-myanmar-says-official.html

ระบบชำระภาษีอิเล็กทรอนิกส์ถูกติดตั้งบริเวณพรหมแดนสปป.ลาว

การใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ในการเก็บภาษีและค่าธรรมเนียมอื่น ๆ ทั้งในด้านการจัดการสำหรับยานพาหนะการท่องเที่ยวและรถบรรทุกขนสินค้าระหว่างพรหมแดน  โดยมีการติดตั้งระบบชำระเงิน QR Code ที่สะพานมิตรภาพลาว – ​​ไทยทั้ง 4 แห่ง โดยวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลให้มีประสิทธิภาพสูงสุดและยังเป็นการช่วยป้องกันการรั่วไหลของการเงินอีกด้วย นอกจากนี้ด้านการค้าและการท่องเที่ยวแพลตฟอร์มดังกล่าวจะช่วยลดความซับซ้อนของขั้นตอนให้น้อยลงเพื่อความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้นเป็นปัจจัยบวกที่จะช่วยส่งเสริมการค้าและการท่องเที่ยวของสปป.ในบริเวรพรหมแดนต่างๆ

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/electronic-tax-payment-system-installed-bokeo-friendship-bridge-113258

การผลิตไฟฟ้าในประเทศลาวส่งออก 6,457MW ในการส่งออก

ตลอด 5 ปีที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 2559-ปัจจุบัน กำลังการผลิตไฟฟ้าของสปป.ลาวสามารถผลิตได้มากถึง6,457MW จากจำนวนโรงไฟฟ้าพลังน้ำที่เพิ่มขึ้น 63 แห่งโดยมีกำลังการผลิตติดตั้ง 7,213 เมกะวัตต์ /โรงงาน ทำให้มีไฟฟ้าเพื่อส่งออกได้เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 145 สร้างรายได้แก่ประเทศมากกว่า 1.3 พันล้านกีบหรือเพิ่มขึ้น 35% เมื่อเทียบกับในช่วงเดียวกันเมื่อ 5 ปีก่อน (2554-2558) ซึ่งปัจจุบันสปป.ลาวมีการขยายสายส่งไฟฟ้าเพิ่มติมเพื่อให้เอื้อต่อการตอบสนองอุปสงค์ในประเทศที่เพิ่มขึ้นและอุปสงค์ของภาคต่างประเทศที่มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นไทย กัมพูชา พม่าที่เป็นคู่ค้าพลังงานไฟฟ้าที่สำคัญของสปป.ลาวโดยมีการคาดการณ์ว่าประเทศเล่านี้จะมีความต้องการพลังงานาไฟฟ้าในอีก 5 ปีข้างหน้าเพิ่มเติมจากเดิมไปอีก เป็นผลดีแก่ภาคพลังงานไฟฟ้าที่จะสร้างรายได้แก่ประเทศมากขึ้นดังนั้นเศรษฐกิจของสปป.ลาวที่มีภาคพลังงานค่อยขับเคลื่อนก็จะมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องตามการเติบโตของภาคพลังงานไฟฟ้า

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/electricity-generation-laos-sparks-6457mw-exports-113257

การค้าระหว่างกัมพูชาและเกาหลีใต้มีมูลค่ารวมแตะ 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ

เมื่อปีที่ผ่านมาปริมาณการค้าระหว่างกัมพูชาและเกาหลีใต้สูงกว่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยนายกรัฐมนตรีฮุนเซนกล่าวว่าผลที่เกิดขึ้นเป็นผลมาจากความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นระหว่างสองประเทศ ซึ่งนายกกล่าวในช่วงการประชุมสหพันธ์สันติภาพสากล (UPF) World Summit 2020 โดยปริมาณการค้าของระหว่างสองประเทศมีมูลค่ารวม 1,032 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2562 ซึ่งการส่งออกของกัมพูชาไปยังเกาหลีใต้มีมูลค่าอยู่ที่ 335 ล้านเหรียญสหรัฐและกัมพูชานำเข้าสินค้าจากเกาหลีใต้มูลค่า 696 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยความต้องการสินค้าจากเกาหลีใต้ของคนกัมพูชาส่วนใหญ่คือรถยนต์และโทรทัศน์ ส่วนการส่งออกของกัมพูชาไปยังเกาหลีใต้ส่วนใหญ่เป็นเสื้อผ้า เครื่องใช้ไฟฟ้า รองเท้า เครื่องดื่มกระเป๋า ยาง ยาเวชภัณฑ์ กระดาษแข็งและสินค้าเกษตร ซึ่งรัฐบาลของทั้งสองประเทศได้แลกเปลี่ยนข้อมูลเชิงลึกเพื่อส่งเสริมการลงทุน ด้านการค้าและการท่องเที่ยว รวมถึงเที่ยวบินตรงระหว่างสองประเทศตามที่นายกรัฐมนตรีฮุนเซนระบุว่าการที่มีเที่ยวบินตรงจะนำมาซึ่งการลงทุนที่มากขึ้นและเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวขาเข้า

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50687228/cambodias-trade-volume-with-south-korea-exceeds-1-billion-dollars

องค์กรการเงินระดับฐานรากร่วมส่งเสริมภาคการเงินในกัมพูชา

สมาคมไมโครไฟแนนซ์กัมพูชา (CMA) ประกาศเปิดตัวโครงการด้านการเงิน โดยมีเป้าหมายเพื่อช่วยเหลือประชาชนชาวกัมพูชาในการเข้าถึงบริการทางการเงินอย่างทั่วถึงผ่านช่องทางด้านการศึกษา เพื่อให้ภาคการเงินสำหรับรายย่อยเติบโตอย่างยั่งยืน ซึ่งโครงการมีค่าใช้จ่ายเกือบ 1 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยจะได้รับการสนับสนุนจากสมาชิก CMA และดำเนินการภายในระยะเวลาสามปีมีจุดมุ่งหมายเพื่อแก้ไขข้อกังวลโดยช่วยให้ผู้คนเข้าใจในบริการทางด้านการเงินที่ดีขึ้น ซึ่งโครงการนำร่องนี้จะช่วยสนับสนุนยุทธศาสตร์การรวมกลุ่มทางการเงินของธนาคารแห่งชาติกัมพูชาปี 2553-2568 โดยการดำเนินโครงการจะเกี่ยวข้องกับการทำงานอย่างใกล้ชิดกับสมาชิกผู้ให้บริการการเงินรายย่อย พันธมิตรสำคัญและผู้มีส่วนได้เสียเช่นธนาคารกลาง สมาคมธนาคารในประเทศกัมพูชา สำนักงานสินเชื่อแห่งกัมพูชาและหุ้นส่วนด้านการพัฒนาอื่นๆ ซึ่งนอกจากนี้การศึกษาด้านการเงินในหมู่ประชาชนจะเพิ่มการรับรู้บทบาทของ องค์กรการเงินระดับฐานราก (MFI) ต่อการแก้ไขปัญหาความยากจนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของลูกค้าในชนบท จากข้อมูลของ CMA ระบุว่า ณ สิ้นปีที่ผ่านมา MFI ได้ให้เครดิตแก่ชาวกัมพูชาไปกว่า 2.2 ล้านเหรียญสหรัฐ ในขณะที่มี 2.7 ล้านคนฝากเงินอยู่ทั้งหมด 3.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50687227/mfi-players-to-boost-financial-inclusion-in-kingdom