เวียดนามคาดว่ายอดการส่งออกสินค้าป่าไม้ 11.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2562

จากข้อมูลของกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทของเวียดนาม (MARD) เปิดเผยว่าภาคป่าไม้ของเวียดนามยังคงเติบโตสูงถึง 5% ในปีนี้ มีมูลค่าการส่งออก 11.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 20% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ด้วยอัตราการส่งออกอยู่ในระดับสูง ส่งผลให้เวียดนามเกินดุลการค้า 8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และทำให้ภาคการเกษตรขยายตัว โดยตลาดส่งออกสำคัญของผลิตภัณฑ์ไม้เวียดนาม ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น จีน สหภาพยุโรป และเกาหลีใต้ ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนรวมกัน 80% ของมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์ไม้ทั้งหมด ทั้งนี้ มีจำนวนผู้ประกอบการแปรรูปไม้กว่า 4,500 ราย และสถานประกอบการในประเทศมีอยู่มากกว่า 1,800 แห่ง นอกจากนี้ ภาคการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI), อุตสาหกรรมไม้แปรรูปได้พัฒนาในลักษณะของโครงการขนาดใหญ่และมีการส่งเสริมเทคโนโลยีให้ทันสมัยมากขึ้น ขณะที่ ผลิตภัณฑ์แปรรูปไม้นั้นมีรูปแบบและชนิดหลากหลายขึ้น ทำให้ได้รับมาตรฐานในการส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศ

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/forestry-exports-expected-to-beat-us113-billion-during-2019-407762.vov

จัดเก็บภาษีเพิ่มสูงขึ้น จากผลกระทบของการค้าเสรี

จากข้อมูลของกรมศุลกากรเวียดนาม เปิดเผยว่าจากการลงนามและการดำเนินงานตามข้อตกลงการค้าเสรีนั้น จะมีการจัดเก็บภาษีเพิ่มขึ้นของเวียดนามในปีนี้ ซึ่งมูลค่าการจัดเก็บภาษีทั้งหมดอยู่ที่ 335.6 ล้านล้านดง (14.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) เพิ่มขึ้น 11.6% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว และยังคงสูงกว่าที่กระทรวงการคลังตั้งเป้าไว้ ผลกระทบของการค้าเสรี จะขยายไปในทิศทางที่เป็นบวกทั้งการค้าและการลงทุนของเวียดนาม สำหรับงานแถลงข่าวในวันพุธที่ผ่านมา ระบุว่าข้อตกลงการค้าเสรีเวียดนาม เกาหลีใต้ (RoK) และ ASEAN ในเรื่องข้อตกลงหุ้นส่วนทางการค้า CPTPP ส่งผลเกิดการพัฒนาของธุรกิจเวียดนามและสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกทางการค้าดีขึ้นกว่าเดิม ทั้งนี้ มูลค่าการจัดเก็บภาษีส่งออก-นำเข้า อยู่ที่ 105.16 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วง 11 เดือนแรกของปีนี้ เพิ่มขึ้น 7.97% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ส่วนสินค้านำเข้าสำคัญ ได้แก่ รถยนต์และน้ำมันดิบ นอกจากนี้ ทางสำนักงานศุลกากรเวียดนามได้ปราบปรามการลักลอบการนำเข้าและการทุจริตทางการค้า

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/570061/free-trade-agreements-increase-tax-collection.html

การขยายวีซ่าเดินทางไม่ส่งผลกับนักเดินทางชาวเมียนมา

การขยายระยะเวลาการยกเว้นวีซ่าให้กับเมียนมาและเวียดนามจาก 14 วันเป็น 30 วันอาจไม่ส่งผลดีต่อนักเดินทางเมียนมามากนัก ส่วนใหญ่นักเดินทางชาวเมียนมาที่ไปทัวร์กับเวียดนามใช้เวลาประมาณห้าวันหรือหนึ่งสัปดาห์ ซึ่งการใช้เวลารวมทั้งการเดินทางเข้า – ออก สองอาทิตย์ก็เพียงพอแล้ว ในทำนองเดียวกันชาวเวียดนามที่เดินทางมาจะอยู่ได้นานสุดประมาณห้าวัน ชาวเวียดนามไม่ได้อยู่ที่ย่างกุ้งนานนัก มักใช้เวลาประมาณสามวันในการเยี่ยมชมสถานที่ต่าง ๆ เช่น ย่างกุ้ง และพระธาตุอินทร์แขวน หรือไปที่พุกามซึ่งก็อยู่ได้ไม่นานนัก จากตัวเลขของกระทรวงโรงแรมและการท่องเที่ยวตั้งแต่เดือน ม.ค.- ต.ค. 62 มีชาวเวียดนาม 43,146 เดินทางมาเข้ามา ซึ่งลดลง 691 คนเมื่อเทียบปีที่แล้วที่มีจำนวน 43,842 คน

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/extended-free-visa-with-vietnam-does-not-benefit-myanmar-travellers-much-tourism-official

การลงทุนจากต่างประเทศสูงกว่า 1 ล้านเหรียญสหรัฐภายในสองเดือน

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนแห่งเมียนมา (MIC) ระบุว่าปริมาณการลงทุนจากต่างประเทศอยู่ที่ 1.148 พันล้านดอลลาร์สหรัฐซึ่งรวมถึงการลงทุนกว่า 15 ล้านดอลลาร์สหรัฐในเขตเศรษฐกิจพิเศษติละวา ภายในสองเดือนครึ่งในปีงบประมาณนี้ เขตย่างกุ้งอนุญาตให้มีการลงทุนจากต่างประเทศ 11 ราย และภูมิภาคหงสาวดีได้รับอนุญาต 4 การลงทุนจากต่างประเทศในสัปดาห์นี้ มีการลงทุนในภาคการผลิตไฟฟ้าและการพัฒนาที่อยู่อาศัยและ 15 รายการลงทุนในภาคอุตสาหกรรม การลงทุนจาก 14 ธุรกิจมีมูลค่า 84.171 ล้านเหรียญสหรัฐและสร้างงาน 8,538 ตำแหน่งให้กับคนในท้องถิ่น ตามกฎหมายเขตเศรษฐกิจพิเศษการลงทุนต่างประเทศทั้งหมดในติละวา อยู่ที่ 15.203 ล้านเหรียญสหรัฐตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคมถึง 14 ธันวาคมในปีงบประมาณนี้ การลงทุนที่สำคัญ ได้แก่ น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ พลังงาน การผลิต การขนส่งและการสื่อสาร ที่อยู่อาศัย โรงแรมและการท่องเที่ยว เหมืองแร่ ปศุสัตว์และการประมง การเกษตร เขตอุตสาหกรรม การก่อสร้างและ ภาคบริการอื่น ๆ ภายใน 31 ปี

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/foreign-investment-volume-reaches-over-us1-b-within-over-two-months

สหภาพยุโรปสนับสนุนการศึกษาและโครงการด้านโภชนาการสปป.ลาว

คณะผู้แทนของสหภาพยุโรป (EU) ได้ย้ำการสนับสนุนสำหรับความพยายามอย่างต่อเนื่องในการพัฒนาและปรับปรุงระบบการศึกษาและโภชนาการในทุกพื้นที่ของสปป.ลาว รวมถึงความช่วยเหลือทางการเงินและทางเทคนิคสำหรับการริเริ่มโครงการเช่นโครงการสนับสนุนการศึกษาขั้นพื้นฐานและโครงการสนับสนุนงบประมาณโภชนาซึ่งเป็นความช่วยเหลือที่สำคัญและสำคัญมากที่จะช่วยพัฒนาด้านการศึกษาและสุขภาพของคนในประเทศภายใต้งบประมาณจาก EU ถึง 18.8 ล้านยูโรโดยมีกรอบพัฒนาต่อเนื่องไปถึงปี 67 วงเงินถึง 71 ล้านยูโร ในอนาคตจะมีการพัฒนาในสปป.ลาวอย่างต่อเนื่องทั้งด้านการศึกษาเพื่อพัฒนาศักยภาพมนุษย์และด้านโภชนาเพื่อความยั่งยืนด้านอาหาร

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_EU_274.php

รัฐบาลผลักดันแผนพัฒนาปี 63

รัฐบาลจัดประชุมพิเศษเพื่อสร้างพื้นฐานร่วมกันระหว่างหน่วยงานของรัฐเกี่ยวกับวิธีที่จะทำให้มั่นใจว่าการดำเนินการตามแผนพัฒนาแห่งชาติในปี 63 มีประสิทธิภาพจากการเปิดเผยของสื่อจากสำนักนายกรัฐมนตรีประเด็นสำคัญที่กล่าวถึงการระบุถึงการพัฒนาและเป้าหมายสำคัญที่รัฐบาลและหน่วยงานของรัฐต้องบรรลุในปี 63 หนึ่งในเป้าหมายหลักของรัฐบาลคือการลดการขาดดุลงบประมาณและในขณะเดียวกันต้องรักษาระดับการเติบโตทางเศรษฐกิจในระดับสูงไว้ที่ 6.5 เปอร์เซ็นต์ในปี 63 โดยนายกรัฐมนตรีกล่าวว่าที่ผ่านมาโครงการลงทุนขนาดใหญ่จะช่วยรักษาอัตราการเติบโตของ GDP ส่วนดุลการค้าต้องลดการนำเข้าและพึ่งพาการผลิตและบริโภคในประเทศให้ได้  นอกจากนี้ที่ประชุมยังได้มีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาในการปรับปรุงบริการเบ็ดเสร็จเพื่ออำนวยความสะดวกในการลงทุนทั้งในและต่างประเทศรวมถึงในหัวข้ออื่นอีกเช่น การส่งเสริมการผลิตเพื่อการค้าความมั่นคงด้านอาหารการบริโภคสินค้าในประเทศ การบริหารและกฎระเบียบของการนำเข้า โครงการสัมปทานที่ดินและการพัฒนาของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Govt_274.php

ได้ฤกษ์ปัดฝุ่นเจรจา เอฟตา ไทยส่งออกผลไม้กระหึ่มโลก

อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า ผู้แทนของสมาคมการค้าเสรียุโรป (เอฟตา) 4 ประเทศ คือ สวิตเซอร์แลนด์ นอร์เวย์ ลิกเตนสไตน์ และไอซ์แลนด์ มาเข้าพบ และยื่นหนังสือเพื่อขอเริ่มต้นการเจรจาจัดทำข้อตกลงการค้าเสรี (เอฟทีเอ) กับไทย ที่กรมต้องเดินหน้าเจรจาเอฟทีเอเดิม และเริ่มต้นเจรจาเอฟทีเอกับประเทศใหม่ๆ ซึ่งก็คือการเจรจากับเอฟตาที่ขณะนี้ อยู่ระหว่างนำผลการศึกษาที่เคยทำมาตั้งแต่ปี 2549 มาปัดฝุ่นใหม่ เพื่อดูว่ามีประเด็นใด ที่จะนำเข้าสู่การเจรจาเพิ่มเติมอีก รวมถึงจะหารือกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องถึงผลดี ผลเสีย มาตรการเยียวยา โดยจะรวบรวมทำเป็นข้อสรุป เสนอนโยบายเพื่อตัดสินใจต่อไป โดยล่าสุด เอฟทีเอ ที่ไทยทำกับประเทศต่างๆ ทำให้ประเทศคู่ค้าเอฟทีเอได้ลด/เลิกเก็บภาษีนำเข้าผลไม้จากไทย ทำให้การส่งออก 10 เดือนแรกของปีนี้ (ม.ค.-ต.ค.) เพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยมีมูลค่าการส่งออก 3,213 ล้านเหรียญสหรัฐ มากที่สุดเป็นอันดับ 6 ของโลก รองจากสเปน เนเธอร์แลนด์ เม็กซิโก สหรัฐฯ ชิลี ขยับขึ้นจากอันดับ 10 เมื่อปี 2561 มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้น 41% จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ อาเซียน และจีน

ที่มา : https://www.thairath.co.th/news/business/1729453