การรถไฟเวียดนามปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน

จากข้อมูลของการรถไฟแห่งเวียดนาม (VNR) ได้ทำการวางแผนที่จะปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟที่ตอบสนองต่อความต้องการผู้ใช้บริการ รวมถึงการสร้างตู้รถไฟโดยสารใหม่ 300 คัน และสั่งซื้อหัวรถจักรเพิ่มมากขึ้น ในปี 2566 เนื่องมาจากตู้รถไฟโดยสารล้าสมัย ส่งผลต่อการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงและค่าบำรุงรักษาที่สูงขึ้น ทั้งนี้ ทางการรถไฟแห่งเวียดนามได้ร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ต่างประเทศ ในการส่งเสริมการลงทุนตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ ด้วยการที่หุ้นส่วนจะสร้างรถไฟ และเสนอให้ทางการรถไฟเวียดนามทำการลงนามข้อตกลงสัญญาเช่าซื้อ ขณะเดียวกัน ค่าใช้จ่ายดังกล่าวจะลดลงร้อยละ 10 ตัวอย่างเช่น ค่าใช้จ่ายรวมประมาณ 300 พันล้านด่อง (12.9 ล้านเหรียญสหรัฐ) เพื่อสร้างตู้รถไฟและค่าบำรุงรักษา ด้วยมูลค่า 40 พันล้านด่อง ด้วยเหตุนี้ ทางการรถไฟเวียดนามต้องใช้เงินราว 300 พันล้านด่อง แทนที่จะต้องเสียเงิน 340 พันล้านด่อง โดยไม่จำเป็นต้องกู้เงิน ซึ่งจะประหยัดเงินทุนอย่างมาก

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/vietnam-railways-to-upgrade-infrastructure-406655.vov

จีนแสวงหาเส้นทางผ่านแม่น้ำอิรวดี สำหรับระเบียงเศรษฐกิจ

จีนกำลังวางแผนที่จะสร้างการเชื่อมโยงการค้าและการขนส่งที่สำคัญกับเมียนมาผ่านแม่น้ำอิรวดี ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการระเบียงเศรษฐกิจจีน-เมียนมา (CMEC) เพื่อหลีกเลี่ยงเส้นทางที่ไม่สะดวก คาดว่าจะเชื่อมโยงมณฑลยูนนานกับมัณฑะเลย์ก่อนจะแยกทางตะวันออกเฉียงใต้สู่ย่างกุ้งและตะวันตกเฉียงใต้ ในฝั่งจีนทางรถไฟและคลังสินค้าถูกสร้างขึ้นที่ Kunming Tenjun International Dry Port ส่วนเมียนมายังต้องการการสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ท่าเรือ และสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ ในอิรวดี อย่างการสร้างท่าเรือในพะโม ในรัฐคะฉิ่น อย่างไรก็ตามนักลงทุนจากญี่ปุ่นและสิงคโปร์สนใจในโครงการท่าเรือตามแนวแม่น้ำอิระวดีซึ่งเป็นแม่น้ำที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ พะโมมีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจที่แน่นแฟ้นกับจีนดังนั้นเมืองนี้จึงเหมาะจะเป็นเมืองท่า  การเชื่อมโยง CMEC ผ่านทางอิรวดีนั้นเกิดขึ้นจากปัญหาความแออัด และความเสียหายที่เกิดจากการปะทะกันตามแนวทางหลวงของมัณฑะเลย์ – มูเซ และล่าเสี้ยว – ชินฉ่วยฮ่อ ปัจจุบันการก่อสร้างท่าเทียบเรือบรรทุกสินค้าแห้งของมัณฑะเลย์และท่าเรือนานาชาติย่างกุ้งได้เสร็จสิ้นแล้ว ซึ่งผงจาง – พะโม – มัณฑะเลย์ – ย่างกุ้ง มีการใช้ขนส่ง ขนถ่ายสินค้าแล้ว เมื่อสิ่งอำนวยความสะดวกเข้าที่แล้วเส้นทางนี้จะมีสามารถรองรับการขนส่งสินค้ากว่า 20 ล้านตันต่อปีได้

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/china-seeks-road-river-route-ayeyarwady-economic-corridor.html

ธนาคารเพื่อการท่องเที่ยวเมียนมาปล่อยสินเชื่อให้สมาคมการท่องเที่ยว

ธนาคารการท่องเที่ยวแห่งเมียนมา (MTB) ประกาศว่าจะเริ่มปล่อยกู้แก่สมาชิกสมาคมการท่องเที่ยวแห่งสหภาพเมียนมา (UMTA) ในเดือนนี้ MTB ประกาศสินเชื่อ SMEs สำหรับสมาชิก UMTA ซึ่งส่วนใหญ่เป็นบริษัทท่องเที่ยวและการท่องเที่ยว อัตราดอกเบี้ยสำหรับสินเชื่อแบบไม่มีหลักประกันกำหนดไว้ที่ 13% ต่อปีและผู้สมัครจะต้องทำประกันสำหรับสินเชื่อ (CGI) จากเมียนมาประกันภัย จำนวนเงินสูงสุดของสินเชื่ออยู่ที่ 20 ล้านจัต ด้วยเป็นธนาคารที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวจึงมุ่งปล่อยสินเชื่อให้กับภาคนี้ แต่ยังวางแผนที่จะให้การสนับสนุนแก่ภาคอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องและธุรกิจอื่น ๆ ในมุมมองนักธุรกิจคิดว่าอัตราเงินกู้สูงเกินไป แต่ก็ประสบปัญหาในการขอสินเชื่อกับธนาคารอื่น จากสถิติของกระทรวงโรงแรมและการท่องเที่ยวมี บริษัทท่องเที่ยวและการท่องเที่ยวมากกว่า 2,500 แห่ง แต่ส่วนใหญ่เป็น SMEs ในขณะเดียวกัน UMTA มีสมาชิกประมาณ 1,000 คน MTB เป็นหนึ่งในห้าธนาคารเฉพาะกิจที่ได้รับอนุญาตจากธนาคารกลางของเมียนมา (CBM) ในปี 60 ก่อตั้งขึ้นโดย บริษัท การท่องเที่ยวสาธารณะ วัตถุประสงค์เพื่อปล่อยสินเชื่อในอัตราดอกเบี้ยต่ำเพื่อช่วยเหลือภาคการท่องเที่ยว

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/bank-provide-tourism-association-members-no-collateral-loans.html

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจะเดินทางพร้อมคณะนายกรัฐมนตรีเพื่อเข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน-สาธารณรัฐเกาหลี สมัยพิเศษ ครั้งที่ ๓

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจะเดินทางพร้อมคณะนายกรัฐมนตรีเพื่อเข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน-สาธารณรัฐเกาหลี สมัยพิเศษ ครั้งที่ ๓ และการประชุมระดับผู้นำกรอบความร่วมมือลุ่มน้ำโขงกับสาธารณรัฐเกาหลี ครั้งที่ ๑ ระหว่างวันที่ ๒๔-๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๒ ณ นครปูซาน สาธารณรัฐเกาหลี โดยนายกรัฐมนตรีจะเข้าร่วมการประชุมฯ ในฐานะประธานอาเซียนและปฏิบัติหน้าที่เป็นประธานร่วมการประชุมฯ กับประธานาธิบดีสาธารณรัฐเกาหลี ในวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๒ ทั้งนี้ การประชุมจะทบทวนถึงความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับสาธารณรัฐเกาหลีในช่วง ๓๐ ปีที่ผ่านมา และการกำหนดทิศทางในอีก ๓๐ ปีข้างหน้า รวมถึงจะแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นความเชื่อมโยง (connectivity) เพื่อส่งเสริมความเจริญรุ่งเรืองและความยั่งยืนระหว่างกัน และในการประชุมอย่างไม่เป็นทางการ ในวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๒ นายกรัฐมนตรีมีกำหนดการเข้าร่วมการประชุมระดับผู้นำกรอบความร่วมมือลุ่มน้ำโขงกับสาธารณรัฐเกาหลี ครั้งที่ ๑ โดยการประชุมครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ยกระดับการประชุมสู่ระดับสูงสุด ซึ่งสะท้อนให้เห็นการให้ความสำคัญของความร่วมมือระหว่างกลุ่มประเทศลุ่มน้ำโขง (กัมพูชา สปป. ลาว เมียนมา ไทย และเวียดนาม) กับสาธารณัฐเกาหลี โดยที่ประชุมจะรับรองปฎิญญาแม่น้ำโขง-แม่น้ำฮัน โดยให้ความสำคัญกับประชาชน ความเจริญรุ่งเรืองของอนุภูมิภาค และสันติภาพ ซึ่งสอดรับกับแนวนโยบายของไทยที่จะส่งเสริมความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีและผู้นำประเทศสมาชิกจะร่วมชมนิทรรศการความร่วมมือเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพระหว่างประเทศสมาชิกลุ่มน้ำโขงกับสาธารณรัฐเกาหลี ภายใต้หัวข้อ “วิถีชีวิตในลุ่มน้ำโขง เชื่อมโยงประชาชน สร้างอนาคตใหม่” (Life on the Mekong: Connecting People, Creating a New Future) ซึ่งจะจัดขึ้นเป็นกิจกรรมคู่ขนานของการประชุมด้วย อนึ่ง กรอบความร่วมมือลุ่มน้ำโขงกับเกาหลี จัดตั้งขึ้นเมื่อปี ๒๕๕๔ ประกอบด้วยสมาชิก ๖ ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา สปป. ลาว เมียนมา เวียดนาม ไทย และสาธารณรัฐเกาหลี

ที่มา: https://www.ryt9.com/s/mfa/3070979

การลงทุนการศึกษาในเมียนมา

เมื่อหลายวันก่อนสถาบันที่ปรึกษาอัจฉริยะด้านการค้าและการลงทุน (AITI) ของสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ได้ส่งผู้ประกอบการที่ต้องการจะไปลงทุนในเมียนมา มาขอคำปรึกษาจากทั้งหมด 3 ราย หนึ่งในนั้นเป็นผู้ประกอบการที่อายุยังน้อยทำธุรกิจเกี่ยวกับโรงเรียนกวดวิชาที่มีการสอนด้านภาษา ด้านดนตรี ด้านวิชาการและสันทนาการเข้ามาปรึกษาขายแฟรนไชส์การศึกษาที่เมียนมา มีความเป็นไปได้หรือไม่ ซึ่งอยากให้เขาทำการบ้านให้มากกว่านี้ แล้วค่อยมาปรึกษากันใหม่ เมียนมามีความเสี่ยงมากเพราะการศึกษาของเมียนมาต่างจากที่อื่น เมียนมาเรียนในระบบ 6-2-2 ไม่เหมือนไทยที่เรียนระบบ 6-3-3 การสอบเข้ามหาวิทยาลัยที่จะไม่ใช้วิธีการสอบเอนทรานส์ ที่นั่นใช้วิธีวัดผลสอบ โดยเอาคะแนนการสอบปลายปีของปี 10 มายื่นเรื่องขอเรียนต่อในมหาวิทยาลัยได้เลย ข้อสอบจากส่วนกลางจะส่งตรงไปที่เขตจังหวัดเลย ข้อดีคือไม่ซ้ำซ้อน และไม่ต้องสิ้นเปลืองทรัพยากรมากแต่ต้องซื่อสัตย์ การเรียนการสอนของที่เมียนมาคุณภาพจึงเข้มข้นมากๆ ตำราเรียนคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ที่นี่ใช้ตำราเรียนเป็นภาษาอังกฤษ เด็กจึงมีคุณภาพ จบแค่ปี 8 ก็สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ จบจากที่นี่สามารถสอบเข้าเรียนที่สิงคโปร์ ออสเตรเลีย อังกฤษ สหรัฐอเมริกาได้เลย ถ้ามีฐานะดีมักจะคาดหวังที่สี่ประเทศดังกล่าวเป็นอันดับต้นๆ ส่วนที่มีฐานะรองลงมาหรือคนในรัฐฉานที่เป็นไทยใหญ่ ก็ต้องมาที่ประเทศไทยเพราะถูกดีและสามารถพูดไทยได้ อันดับแรกเลยคือต้องทำการสำรวจตลาดก่อน ด้วยการเดินตามโรงเรียนเอกชนต่างๆ และโรงเรียนอินเตอร์อาจจะซึ่งอาจไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายก็เป็นได้ เพราะถ้าสามารถเรียนโรงเรียนอินเตอร์ เป้าหมายไปไกลแล้ว การศึกษาของเราน่าจะสู้สิงคโปร์ลำบาก จากนั้นค่อยมาวางแผนว่าวิสัยทัศน์ว่าจะเดินไปอย่างไร น่าจะเป็นทางออกที่เสี่ยงน้อยกว่า

ที่มา: https://www.posttoday.com/aec/trade/607276

การกระตุ้นเศรษฐกิจของเมียนมา

การใช้นโยบายลดความร้อนแรงในตลาดอสังหารัมทรัพย์ ในช่วงปี 58 เพราะในช่วงดังกล่าวการเก็งกำไรทำให้ราคาของอสังหาริมทรัพย์ ราคากระโดดไปสูงมาก ทำให้การลงทุนในภาคการผลิตก็หยุดชงักลง ดังนั้นจึงออกมาตรการกฎหมายเงินขาว-เงินดำ คือให้จ่ายภาษีซื้อ-ขายอสังหาริทรัพย์ด้วยอัตรา 30% ทำให้เกิดการชะงักทันที เกิดปัญหาในตลาดอสังหาฯ ในย่างกุ้งเพราะเมื่อไม่มีการซื้อขาย ทำให้กระแสเงิน M1 M2 M3 ขาดไปจากตลาดจนเกิดปัญหาเงินฝืด การลงทุนภาคการผลิตลดลง จับจ่ายใช้สอยของประชาชนฝืดเคืองลงอย่างรวดเร็ว ดังนั้นจึงมีกฎหมายใหม่ออกมา โดยมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ต.ค. 62 นี้ คือลดภาษีซื้อ-ขายสินค้าทุกชนิดรวมถึงอสังหาริมทรัพย์ ในอัตราก้าวหน้าทั้งหมด กล่าวคือ การซื้อขาย ตั้งแต่ 1 ล้านถึง 100 ล้าน ให้เสียภาษี 3% 101 ล้านถึง 300 ล้าน ให้เสียภาษี 5% 301 ล้านถึง 1,000 ล้าน ให้เสียภาษี 10% 1001 ล้านถึง 3,000 ล้าน ให้เสียภาษี 15% 3001 ล้านขึ้นไป ให้เสียภาษี 30% สิ่งที่ตามมา คือ ภาษีน้อยลงไปทันที ราคาสินค้าถูกลง สิ่งที่จะตามมาคือกลับเข้าสู่ภาคเงินออม Saving Money เงินเหล่านี้มีบางส่วนจะเข้าไปกระตุ้นเศรษฐกิจในรูปของการบริโภค เมียนมาเพียงลดอัตราดอกเบี้ยลง คนก็จะไม่นิยมฝากเงิน เพราะได้ไม่มากเท่าการนำเงินไปลงทุนในภาคการผลิตซึ่งจะส่งผลไปยังภาคการผลิตทันที ถ้าจะเปรียบเทียบกับประเทศอื่นแล้ว รัฐบาลมีอิสระในการจัดการแก้ปัญหา เพียงแต่ปัญหาของเมียนมาเริ่มมีมานานเกือบ 70 ปีมาแล้ว

ที่มา: https://www.posttoday.com/aec/trade/603433