เทรนด์ผู้บริโภคในอนาคต ตัวกำหนดทิศทางการส่งออก

อาหารและเครื่องดื่ม เป็นรายการสินค้าส่งออกที่ถือว่ายังรักษาระดับการเติบโตได้ดี เมื่อเทียบกับสินค้าส่งออกอื่นๆ ที่ส่วนใหญ่มีแนวโน้มหดตัวในปีนี้ โดยในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2562 มูลค่าการส่งออกอาหารและเครื่องดื่มของไทยอยู่ที่ 17,749 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อนละ 3.8 (YoY) ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่าทั้งปี 2562 การส่งออก – อาหารและเครื่องดื่มของไทยจะสามารถเติบโตในแดนบวก จากความต้องการของตลาดคู่ค้าที่ยังขยายตัวต่อเนื่อง โดยเฉพาะสินค้า กลุ่มผลไม้และปศุสัตว์ สำหรับทิศทางการส่งออกอาหารและเครื่องดื่ม คาดว่ามูลค่าการส่งออกอาหารและเครื่องดื่มมีการเติบโตที่ชะลอตัวลงจากปี 2562 ในขณะที่ การส่งออกไปยังตลาดหลักอย่างกลุ่มประเทศ CLMV (กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมาและเวียดนาม) อาจจะเติบโตชะลอลงเช่นกัน เนื่องจากผู้ประกอบการไทยหันไปขยายฐานการผลิตและจำหน่ายในประเทศดังกล่าวทดแทนการส่งออก

ที่มา : นสพ. ทันหุ้น ฉบับที่ 29 ต.ค. 2562

กลุ่มนักลงทุนจีนหนุนภาคอุตสาหกรรมสิ่งทอในกัมพูชา

สมาคมใหม่ของนักลงทุนจีนได้เปิดตัวเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มของกัมพูชาซึ่งเป็นหนึ่งในเครื่องมือสำคัญที่สุดของการเติบโตทางเศรษฐกิจในประเทศ โดยสมาคมสิ่งทอประสานงานกับรัฐบาล ซึ่งจะเน้นไปที่กลุ่มนักลงทุนจีนเป็นพิเศษ โดยกัมพูชามีโรงงานกว่า 663 แห่ง เป็นโรงงานผลิตเสื้อผ้า 520 แห่งและอีก 83 แห่งทำการผลิตรองเท้า ส่วนที่เหลือจะเป็นโรงงานผลิตถุง ซึ่งทั้งอุตสาหกรรมมีแรงงานประมาณ 800,000 คน กว่า 80% เป็นผู้หญิงตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมและหัตถกรรมระบุรายงานเมื่อปีที่แล้ว โดยจากรายงานของ NBC แสดงให้เห็นว่าการส่งออกเสื้อผ้าและรองเท้าของกัมพูชามีมูลค่าถึง 10,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 24% จาก 8,000 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2017 โดยผู้ซื้อส่วนใหญ่อยู่ในสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกา ซึ่งกัมพูชามีค่าแรงขั้นต่ำเป็นอันดับห้าในอาเซียน ค่าแรงขั้นต่ำของกัมพูชาสำหรับภาคตัดเย็บเสื้อผ้าอยู่ที่ 182 เหรียญสหรัฐต่อเดือน แต่จะเพิ่มขึ้นเป็น 190 เหรียญสหรัฐในปีหน้า

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50655062/china-textile-group-launched-to-bolster-garment-sector/

การศึกษาสำหรับศูนย์โลจิสติกส์ที่สำคัญของกัมพูชาจะพร้อมในไม่ช้า

การศึกษาความเป็นไปได้สำหรับศูนย์โลจิสติกส์สำคัญในกรุงพนมเปญและสีหนุวิลล์ คาดว่าจะได้ข้อสรุปก่อนสิ้นปีนี้ โดยกระทรวงโยธาธิการและโทรคมนาคมศึกษาความเป็นไปได้สำหรับศูนย์โลจิสติกส์ในเมืองหลวงกำลังดำเนินการโดยความช่วยเหลือของธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเซีย ในขณะที่ IMF ให้ความช่วยเหลือในสีหนุวิลล์ ซึ่งศูนย์โลจิสติกส์เป็นส่วนสำคัญของแผนแม่บทด้านโลจิสติกส์ของรัฐบาล โดยมีจุดประสงค์ที่จะเพิ่มตัวเลือกสำหรับการขนส่งทางบก ทางรถไฟและทางน้ำ เพื่อลดต้นทุนโลจิสติกส์เพิ่มความสามารถในการแข่งขันของผลิตภัณฑ์และบริการในท้องถิ่น ซึ่งศูนย์บริการโลจิสติกส์ทำหน้าที่เป็น “ศูนย์บริการแบบครบวงจร” สำหรับกิจกรรมการนำเข้าและส่งออก โดยเป็นการรวมตัวกันของหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะเห็นได้ว่าปริมาณการขนส่งสินค้าที่ท่าเรือ Autonomous Sihanoukville (PAS) เพิ่มขึ้นกว่า 18% ในช่วงเก้าเดือนแรกของปีแสดงถึงการเพิ่มขึ้นของภาคการขนส่งที่สอดคล้องกับการเติบโตทางเศรษฐกิจของกัมพูชา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50655287/studies-for-major-logistics-centres-to-be-ready-soon/

กรุงศรีเปิดตัวบริการโอนเงินแบบเรียลไทม์ ในสปป.ลาว

ธนาคารกรุงศรีเป็นธนาคารพาณิชย์ไทยเปิดตัว Krungsri Blockchain Interledger เพื่อให้การโอนเงินระหว่างสปป.ลาวและไทยเป็นไปอย่างง่ายดายและระบบเรียลไทม์สำหรับ SMEs ด้วยบริการที่ทันสมัยลูกค้าจะสามารถโอนเงินระหว่างประเทศได้ ทั้งในรูปแบบดอลลาร์สหรัฐและค่าบาทไทย การทำธุรกรรมแต่ละครั้งจะแล้วเสร็จในเวลาไม่กี่วินาที เทคโนโลยีดังกล่าวจะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับธุรกิจด้วยความสะดวกสบายมากขึ้นและปรับปรุงประสิทธิภาพ การบริหารสภาพคล่องและลดต้นทุนการจัดการ สิ่งนี้สะท้อนถึงความแข็งแกร่งด้านนวัตกรรมของเทคโนโลยี ซึ่งจะผลักดันภาคธุรกิจไทยให้ขยายตัวเร็วขึ้น และจะช่วยผลักดันเศรษฐกิจในสปป.ลาว ทั้งนี้ธนาคารกรุงศรีมีสำนักงานสาขา 2 แห่งในสปป.ลาวได้แก่ นครหลวงเวียงจันทน์และแขวงสะหวันนะเขต

ที่มา : http://kpl.gov.la/En/Detail.aspx?id=49016

เจ้าหน้าที่สปป.ลาว ประเมินผลกระทบของการพัฒนาชุมชนในระดับภูมิภาค

กองทุนลดความยากจน ภายใต้กระทรวงกสิกรรมและป่าไม้ ได้หารือเกี่ยวกับโครงการวิจัยเกี่ยวกับผลกระทบของการพัฒนาที่ขับเคลื่อนด้วยชุมชนที่มีต่อการพัฒนาชนบทซึ่งสปป.ลาว โครงการวิจัยร่วมจะดำเนินการโดยกัมพูชา จีน พม่า สปป.ลาว ไทยและเวียดนามซึ่งได้รับทุนจากรัฐบาลจีนผ่านกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง (MLC) โครงการดังกล่าวจะเริ่มตั้งแต่เดือนนี้จนถึง ก.พ. 63 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมโดยลดช่องว่างการพัฒนาระหว่างประเทศ เจ้าหน้าที่กล่าวถึงเกณฑ์ที่เหมาะสมและหน้าที่ในการประเมินการพัฒนาที่ขับเคลื่อนด้วยชุมชนและวิธีนำไปใช้กับระบบของรัฐบาล การวางแผนยังเป็นการทดสอบแบบจำลองมาตรฐานและแง่มุมทางทฤษฎีของงานภาคปฏิบัติของทุกประเทศ MLC และการจัดตั้งเครือข่ายมืออาชีพเกี่ยวกับการวิจัยในอนาคตและความร่วมมือเพิ่มเติม ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาอัตราความยากจนทั่วสปป.ลาวลดลงเหลือ 62,384 ครัวเรือนหรือ 5.13 % เป็น 1,433 หมู่บ้านหรือ 16.97 % และ 23 อำเภอหรือ 15.54 %

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/authorities-assess-impacts-regional-community-driven-development-107169

ออสเตรีย เมียนมาตกลงร่วมมือกันการค้าการลงทุนต่อไป

สำนักงานกงสุลกิตติมศักดิ์ออสเตรียได้จัดการประชุมระหว่างการเยี่ยมเอกอัครราชทูตอเล็กซานเดอร์มาร์ชชิก ซึ่งเป็นผู้อำนวยการฝ่ายการเมืองและหัวหน้าฝ่ายกิจการทวิภาคีในกระทรวงการต่างประเทศออสเตรียและชุมชนธุรกิจออสเตรียและหุ้นส่วนในท้องถิ่นในย่างกุ้ง ระหว่างการประชุมผู้เข้าร่วมประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับเงื่อนไขการทำธุรกิจในเมียนมาและโอกาสการลงทุน ทั้งยังตกลงที่จะร่วมมือกันมากขึ้นระหว่างสองประเทศในอนาคต มีตัวแทนจากกระทรวงการต่างประเทศ ได้แก่ EuroCham Myanmar, Carlsberg Myanmar, สำนักงานกฎหมาย Luther, บริษัท Sea Lion Co, กลุ่ม Shwe Taung และ Mingalar Myanmar

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/austria-myanmar-agree-collaborate-further.html

Wilmar Myanmar สร้างโรงสีข้าวที่ใหญ่ที่สุดในติลาว่า

ย่างกุ้ง-วิลมาร์เมียนมาร์ซึ่งเป็น บริษัทลูกของวิลมาร์อินเตอร์เนชั่นแนลซึ่งเป็นหนึ่งในธุรกิจการเกษตรที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียของสิงคโปร์กำลังจะสร้างโรงสีข้าวที่ใหญ่ที่สุดในเขตเศรษฐกิจพิเศษติวาลา ซึ่งสามารถผลิตข้าวได้ถึง 1,200 ตันต่อวัน ผลิตข้าวสาลี 530 ตันต่อวันส่วนโรงงานแปรรูปจะผลิตน้ำมันเพื่อบริโภคได้ 460 ตันต่อวัน โดยการส่งออกต้องผ่านท่าเทียบเรือติวาลา ซีอีโอของ Wilmar International Limited กล่าวว่าเมียนมามีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับสองของอาเซียน ดินอุดมสมบูรณ์ ฝนตกชุกและมีประชากร 54 ล้านคน เชื่อว่าภาคธุรกิจการเกษตรต้องประสบผลสำเร็จอย่างแน่นอน วิลมาร์เมียนมาเปิดท่าเรือไปเมื่อปี 61 คณะกรรมาธิการการลงทุนของเมียนมา (DICA) อนุญาตให้สร้างท่าเทียบเรือวิลมาร์ – เมียนมา (ติลาว่า) ภายใต้ข้อตกลงการสร้างและถ่ายโอน 50 ปีกับรัฐบาล ถือเป็นท่าเทียบเรือสินค้าทั่วไปลำดับที่ 3 ของประเทศ

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/singapores-wilmar-myanmar-will-build-largest-rice-mill-in-thilawa-sez