MIC อนุมัติการลงทุนในประเทศและต่างประเทศ 8 แห่งมูลค่าสูงกว่า 270 ล้านเหรียญสหรัฐ มากกว่า 150 พันล้านจัต

ในระหว่างการประชุม (ครั้งที่ 19/2562) คณะกรรมาธิการการลงทุนของเมียนมา (MIC) ได้อนุมัติการลงทุนในประเทศและต่างประเทศแปดแห่งมูลค่า 279.88 ล้านดอลลาร์สหรัฐและสูงกว่า 156 พันล้านจัตสร้างงานในท้องถิ่นได้ถึง 33,279 อัตรา เป็นการลงทุนในที่อยู่อาศัย บริการการศึกษา อุตสาหกรรม และการเกษตร เป้าหมายการลงทุนสำหรับปีงบประมาณ 62-63 จะเกิดขึ้นเนื่องจากโครงการโครงสร้างพื้นฐานแม้จะมีการเลือกตั้งทั่วไปในปีหน้า การเลือกตั้งของเราในปีหน้าประชาคมระหว่างประเทศจะรอดูผลการเลือกตั้งและสถานการณ์ของรัฐบาลใหม่ ซึ่งเป็นปกติของ บริษัทข้ามชาติที่รอเฝ้าดูสถานการณ์ อย่างไรก็ตามยังชี้ให้เห็นถึงการมีอยู่ของ Project Bank ที่จัดตั้งขึ้นโดยรัฐบาล ซึ่งรวมถึงโครงการระดับชาติและโครงการระดับกระทรวง สำหรับโครงการโครงสร้างพื้นฐานจะเชิญนักลงทุนในปีหน้าโครงการเหล่านั้นต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมากซางโครงการเหล่านั้นจะมีผลประโยชน์แม้จะมีการเลือกตั้ง เป้าหมายการลงทุนสามารถบรรลุได้หากโครงสร้างพื้นฐาน น้ำมันและก๊าซ และการสื่อสารได้รับการพิจารณา

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/mic-approves-8-local-and-foreign-investments-worth-over-us270m-over-k150bn

เศรษฐกิจเมียนมาขยายตัว 7.1% ในปีนี้

เศรษฐกิจของเมียนมาคาดขยายตัว 6.8% ระหว่างวันที่ 1 ต.ค. 61 ถึงวันที่ 30 ก.ย. 62 เทียบกับ 6.5 % ในปีที่แล้วตามรายงานของสำนักงานวิจัยเศรษฐกิจมหภาคของอาเซียน +3 (AMRO) ซึ่งได้รับแรงหนุนจากความเชื่อมั่นทางธุรกิจการเติบโตในอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มและผลิตภัณฑ์การผลิตอื่น ๆ การบริการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชียคาดการณ์ว่าจะขยายตัว 6.6% สำหรับปีงบประมาณ 61-62 และ 6.8% ในปี 63-64 ส่วน IMF คาดว่าการเติบโตจะอยู่ที่ 6.4% ในปีงบประมาณ 61-62 และถ้าการใช้จ่ายภาครัฐเพิ่มขึ้น.ในปี 62-63จะเติบโต 6.6 ผลกระทบจากความต้องการที่ลดลงจากจีนเนื่องจากสงครามการค้า แต่ก็ยังได้รับประโยชน์จากเงินลงทุนเนื่องจากการย้ายฐานการผลิตและหากสามารถปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ แต่โครงสร้างพื้นฐานเป็นสิ่งที่ยากลำบาก ธนาคารกลางของเมียนมา (CBM) ควรปรับอัตราแลกเปลี่ยนให้สอดคล้องกับกลไกตลาดและดำเนินการสร้างทุนสำรองระหว่างประเทศเพื่อสานต่อความสามารถในการจัดการกับปัจจัยภายนอก ความเสี่ยงต่อการคาดการณ์ส่วนใหญ่มาจากความตึงเครียดทางชาติพันธุ์ในรัฐยะไข่ ความไม่แน่นอนในเศรษฐกิจโลกที่เกี่ยวข้องกับการปกป้องการค้าและราคาพลังงาน กล่าวว่าความจำเป็นเร่งด่วนคือแก้ไขปัญหาคอขวดโครงสร้างพื้นฐานและข้อจำกัดด้านทรัพยากรมนุษย์เพื่อเพิ่มการลงทุนภาคเอกชนและเพิ่มศักยภาพการเติบโต  และในขณะที่การเพิ่มขึ้นของค่าไฟฟ้าจะช่วยลดภาระทางการคลัง แต่จะช่วยเพิ่มอัตราเงินเฟ้อในระยะสั้น อัตราเงินเฟ้อคาดว่าจะสูงถึง 8.8% ในปีงบประมาณ 61-62 และประมาณ 9% ในปีงบประมาณ 62-63 ส่วนหนึ่งเนื่องจากการปรับขึ้นค่าไฟฟ้า

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/economy-expand-much-71-year-amro.html  

กลุ่มประเทศ แม่โขง-ล้านช้าง แลกเปลี่ยนความเชี่ยวชาญด้านการจัดการพลเมือง

เจ้าหน้าที่ในการจัดการพลเมืองจากสปป.ลาว, จีน, พม่า, ไทย, เวียดนามและกัมพูชาพบกันที่เมืองปากเซ แขวงจำปาสัก เพื่อหารือเกี่ยวกับการระบบทะเบียนราษฎรและสถิติสำคัญ (CRVS)  ซึ่งผู้เชี่ยวชาญจากสาธารณรัฐเกาหลีได้พูดคุยเกี่ยวกับการควบคุมคุณภาพเชิงสถิติการรวมและการเปรียบเทียบข้อมูลสถิติการเสียชีวิต สถิติการเสียชีวิตของมารดาและเด็ก สถิติที่ยังไม่เกิดและข้อมูลเกี่ยวกับทารกที่มีอายุน้อยกว่าหนึ่งสัปดาห์ ผู้เข้าร่วมยังได้เรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพของธนาคารโลกเกี่ยวกับมุมมองระดับโลกเกี่ยวกับการลงทะเบียนครอบครัวรวมถึงระบบข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการพลเรือนการลงทะเบียนและการระบุตัวพลเมือง ผู้เชี่ยวชาญจากประเทศไทยได้แบ่งปันแนวทางปฏิบัติในการจัดการทะเบียนราษฎรและรวบรวมสถิติที่สำคัญโดยใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์และสปป.ลาวได้แนะนำกลยุทธ์ในการลงทะเบียนพลเมืองและสถิติสำคัญ  โครงการความร่วมมือได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากประเทศจีนภายใต้กรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง ซึ่งดำเนินการตั้งแต่ปี 61-63 การแบ่งปันความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติงาน CRVS ก็เกิดขึ้นเมื่อปีที่แล้ว

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/lancang-mekong-countries-share-expertise-citizen-management-106882

การใช้ smart technology ในอุตสาหกรรมการก่อสร้างสปป.ลาว

ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมในสาขาการก่อสร้างและสถาปัตยกรรมได้เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับอุตสาหกรรมการก่อสร้างอัจฉริยะในระหว่างการสัมมนา“Smart Construction – 4th Industrial Revolution and Digital Transformation in the Construction Industry” จัดขึ้นโดยสำนักงานส่งเสริมการค้าและการลงทุนแห่งประเทศสาธารณรัฐเกาหลี และบริษัท Heerim Architects and Planners จากเกาหลีใต้ โดยเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ CSR เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างสองประเทศในอุตสาหกรรมการก่อสร้างของสปป.ลาว ซึ่งในปัจจุบันอุตสาหกรรมการก่อสร้างในสปป.ลาวส่วนใหญ่ยังคงใช้เทคโนโลยีในท้องถิ่น แต่ smart technology มีข้อได้เปรียบอย่างมากในการช่วยให้บริษัทก่อสร้างสามารถใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ช่วยให้สามารถสร้างและออกแบบสิ่งปลูกสร้างที่รับประกันความปลอดภัยมากขึ้น การทำงานที่รวดเร็วขึ้น มีความแม่นยำ ใช้แรงงานจำนวนน้อยลง

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/lao-construction-industry-eyes-use-smart-technology-106805

ผู้ค้าข้าวในกัมพูชาเริ่มส่งออกข้าวไปยังตลาดจีนมากขึ้น

เจ้าหน้าที่ของจีนตกลงที่จะเร่งการตรวจสอบใบสมัครของ บริษัท ในกัมพูชากว่า 40 แห่ง ที่ต้องการส่งออกข้าวไปยังตลาดจีน โดยสำนักงานควบคุมคุณภาพตรวจสอบและกักกันโรค (AQSIQ) ของประเทศจีน และกระทรวงเกษตรของกัมพูชาพบกันเพื่อหารือเกี่ยวกับการส่งออกข้าวของกัมพูชาไปยังประเทศจีน ซึ่งประธานสหพันธ์ข้าวกัมพูชากล่าวว่าการส่งมอบข้าวไปยังประเทศจีนเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนในช่วงเก้าเดือนแรกของปีเพิ่มขึ้น 44% จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยจากข้อมูลของ CRF กัมพูชาส่งออกข่าว 157,793 ตันไปยังประเทศจีนตั้งแต่เดือนมกราคมถึงกันยายนคิดเป็นกว่า 39.6% ของการส่งออกข้าวทั้งหมดของกัมพูชา ซึ่งเมื่อปีที่แล้วไม่สามารถส่งออกข้าวได้ตามโควต้าที่ทางจีนกำหนดโดยส่งออกไปเพียง 170,000 ตันจากจำนวนโควต้าที่ได้รับอนุญาตที่ 300,000 ตัน อย่างไรก็ตามในปีนี้ CRF มั่นใจว่ากัมพูชาจะสามารถส่งออกข้าวได้เต็มจำนวนโควต้าที่ได้รับอนุญาต

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50653395/more-local-rice-traders-set-to-export-to-chinese-market/

รัฐบาลกัมพูชาจะซื้อ Cintri เพื่อแก้ไขปัญหาขยะภายในประเทศ

นายกรัฐมนตรีฮุนเซนประกาศว่ารัฐบาลจะเข้าถือครองและจัดการ Cintri (กัมพูชา) ซึ่งเป็นบริษัทเอกชนที่ทำสัญญาเพื่อรวบรวมและจำกัดขยะในเมืองหลวง โดยมองเห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในเมืองหลวงคือมีขยะเป็นจำนวนมากบวกกับปัญหารถติดและที่จอดรถไม่เพียงพอ ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้ขอให้กระทรวงเศรษฐกิจและการคลังรวมถึงศาลาว่าการพนมเปญทำงานร่วมกับ Cintri ในการเข้าซื้อกิจการเพื่อให้เกิดบริการที่ดีขึ้น  โดยอดีตเมืองนี้มีขยะเพียง 500 ตันต่อวัน แต่ปัจจุบันสูงถึง 3,000 ตันต่อวัน เกิดจากการขยายตัวของเศรษฐกิจของเมืองอย่างรวดเร็ว ซึ่งจะจัดการระบบในการทำงานใหม่โดยจะมี บริษัทเอกชนรายอื่นเข้ามาร่วมในการดำเนินการเพื่อไม่ให้เป็นการผูกขาดและเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินการให้ดีขึ้น โดยในทุกๆวัน กรุงพนมเปญสร้างขยะถึง 2-3 พันตันต่อวันซึ่งเป็นขยะพลาสติกกว่า 600 ตัน โดยรวมแล้วกัมพูชาสร้างขยะมากกว่า 10,000 ตันต่อวันหรือมากกว่า 3.6 ล้านตันต่อปี ซึ่งรวมถึงขยะมูลฝอยทุกประเภทในครัวเรือนและขยะอุตสาหกรรมอื่นๆ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50653397/government-will-buy-cintri-pm/