ราคาอาหารที่พุ่งสูงขึ้นในสปป.ลาวกระทบผู้มีรายได้น้อย

ผู้คนจำนวนมากโดยเฉพาะผู้ที่มีรายได้ประสบปัญหาเนื่องจากราคาอาหารยังคงผันผวน ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติสปป.ลาวแสดงให้เห็นว่าราคาอาหารปรับตัวสูงขึ้น 3.20% ในเดือนมิถุนายนเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้วทำให้เป็นหนึ่งในแรงผลักดันของเงินเฟ้อ ดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนมิถุนายนระบุว่าราคาข้าวเพิ่มขึ้น 12% ในเดือนมิถุนายนเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้วในขณะที่ราคาปลาและหมูปรับตัวสูงขึ้น 3.1% อย่างไรก็ตามการเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภคล่าสุดบ่งชี้ว่าอัตราเงินเฟ้อขยายตัวที่ 2.48% ในเดือนมิถุนายนลดลงจาก 2.54% ในเดือนพฤษภาคมปัจจัยหลายอย่างที่ส่งผลผลักดันเงินเฟ้อในเดือนมิถุนายน อีกทั้งค่าเสื่อมราคาของกีบเมื่อเทียบกับเงินบาทและเงินดอลลาร์สหรัฐเป็นส่วนหนึ่งของสาเหตุของราคาอาหารที่สูงขึ้น ราคาสินค้านำเข้าเพิ่มขึ้น 1.60% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/rising-food-prices-hit-low-income-earners-101263

ระบบอิเล็กทรอนิกส์ช่วยให้รัฐบาลสปป.ลาว เพิ่มรายได้

จากข้อมูลจากกระทรวงการคลัง รายรับจากภาษีเพิ่มขึ้น 20% ในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นตามการเปิดตัวของระบบข้อมูลการจัดการสรรพกร (TAXRIS) เมื่อต้นปี จนถึงขณะนี้ระบบปฏิบัติการใน 10 เมืองใหญ่ใน 7 จังหวัดของสปป.ลาว และวางแผนที่จะขยายระบบไปยังทุกจังหวัดภายใน  ปี 63 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการปรับปรุงระบบการชำระภาษีอิเล็กทรอนิกส์และปรับปรุงความโปร่งใสในภาคการเงิน ในขณะเดียวกันผู้เสียภาษีจะได้รับการสนับสนุนให้ชำระเงินผ่าน TAXRIS และระบบธนาคารอื่น ๆ เพื่อเพิ่มรายได้ของประเทศ ระบบอิเล็กทรอนิกส์ถูกนำไปใช้ที่สะพานมิตรภาพสปป.ลาว – ​​ไทยแห่งแรก ซึ่งระบบอิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้รายได้สะสมที่สะพานมิตรภาพลาว – ​​ไทยแห่งแรกเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.25 ในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปี 61 ในปี 62 รัฐบาลมีแผนที่จะเก็บรายได้ 26.3 ล้านล้านกีบซึ่งคาดว่ารายรับในประเทศจะอยู่ที่ระดับ 24.24 ล้านล้านกีบ โดยมีค่าใช้จ่ายที่ 33.39 ล้านล้านกีบในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้การจัดเก็บรายได้คาดว่าจะถึง 12.96 ล้านล้านกีบคิดเป็น 49.2 เปอร์เซ็นต์ของเป้าหมายตลอดทั้ง

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Electronic_175.php

เปิดศูนย์กระจายและจัดส่งผักในเมืองกันดาลประเทศกัมพูชา

จังหวัดกันดาลได้เปิดตัวศูนย์การจัดส่งผัก ซึ่งเป็นศูนย์ปฏิบัติการด้านความปลอดภัยของอาหารและจัดหาตลาดสินค้าเกษตรที่ปลอดภัยและมีคุณภาพ โดยศูนย์แห่งนี้เป็นแห่งแรกในประเทศกัมพูชาถูกสร้างขึ้นด้วยเงินบริจาคจากรัฐบาลญี่ปุ่นผ่านโครงการ “Kusanone” มีห้องปฏิบัติการขนาดเล็กเพื่อตรวจสอบสารกำจัดศัตรูพืชเพื่อให้แน่ใจว่าอาหารที่ออกสู่ตลาดมีความปลอดภัย ความหวังคือจะช่วยเผยแพร่วัฒนธรรมเรื่องของความปลอดภัยของอาหารและกลายเป็นสัญลักษณ์ของมิตรภาพระหว่างญี่ปุ่นและกัมพูชา ซึ่งทางรัฐบาลกัมพูชาเน้นย้ำว่าจะดำเนินโครงการปฏิรูปที่ครอบคลุมเพื่อปรับปรุงประเทศให้ทันสมัย ซึ่งอุตสาหกรรมเกษตรในกัมพูชาได้เป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศ โดยจะนำมาตรฐานอุตสาหกรรมชุดใหม่ในภาคการเกษตรมาใช้ในไม่ช้า ที่เรียกกันว่า “CamGap” เพื่อให้เห็นถึงคุณภาพของสินค้าเกษตรในประเทศกัมพูชา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50629110/vegetable-shipping-centre-opens-in-kandal/

กัมพูชาและเวียดนามรวมมือพัฒนาเมืองอัจฉริยะ

กัมพูชาและเวียดนามตกลงที่จะร่วมมือกันพัฒนาเมืองที่ชาญฉลาด โดยการประชุมระหว่างกัมพูชาและเวียดนามได้พูดถึงเรื่อง กรุงพนมเปญพัฒนาขึ้นอย่างมาก แต่ต้องเผชิญกับปัญหาการจราจรที่คับคั่งและปัญหาการจัดการขยะที่ต้องได้รับการแก้ไข ซึ่งโฮจิมินห์ก็กำลังประสบกับปัญหาหลายอย่างเช่นเดียวกับที่เป็นศูนย์กลางการค้าที่สำคัญที่สุดของเวียดนาม ซึ่งฝ่ายต่างๆระบุว่าความร่วมมือในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะจะมีความสำคัญในการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ โดยสมาร์ทซิตี้จะเป็นรูปแบบการพัฒนาที่ยั่งยืนที่ใช้เทคโนโลยีและข้อมูลเพื่อทำให้การดำเนินงานและชีวิตในเขตเมืองดีขึ้นและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เป้าหมายคือการแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เมืองต้องเผชิญรวมถึงการจราจรที่ติดขัด มลภาวะและอาชญากรรมที่มีสูง

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50629109/cambodia-vietnam-to-collaborate-in-smart-cities/

2 องค์กรมองต่างมุม “ส่งออก”

กรรมการผู้จัดการธนาคารเอ็กซิมแบงก์ เผยว่า 6 เดือนแรกของปีนี มูลค่าส่งออกของไทยหดตัว 2.9% เป็นผลของสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีนที่ยังยืดเยื้อ ทำให้สินค้าส่งออกที่พึ่งพาตลาดจีนหดตัว อาทิ คอมพิวเตอร์ แผงวงจรไฟฟ้า เม็ดพลาสติก สำหรับสินค้าความหวังที่จะช่วยพยุงการส่งออก 6 เดือนสุดท้ายของปีนี้มี 4 กลุ่ม ได้แก่ 1.กลุ่มสินค้าดาวรุ่ง 2.กลุ่มสินค้าที่ได้อานิสงส์จากสงครามการค้า 3.กลุ่มสินค้าที่หนีไปตลาดหลบภัย 4.กลุ่มสินค้าที่ตอบโจทย์ความต้องการเดิมในตลาดใหม่ๆ รวมถึงการมีรัฐบาลชุดใหม่, สงครามการค้ายุติลงชั่วคราว, ประเทศไทยมีตลาดส่งออกใหม่ๆ อาทิ อินเดีย แอฟริกา ยุโรปตะวันออก ละตินอเมริกา นอกเหนือจากตลาดปัจจุบันคือ CLMV เชื่อว่าทำให้มูลค่าส่งออกตลอดทั้งปีกลับมาเติบโต 0.2% 4. ส่วนผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค ธปท.กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยเดือน มิ.ย. เป็นเดือนที่ชะลอตัวแทบทุกหมวด ยกเว้นการท่องเที่ยวที่ดีขึ้นเล็กน้อย เมื่อเทียบกับเดือน พ.ค. ส่วนการส่งออกที่ชะลอตัวต่อเนื่อง และการนำเข้าเดือน ก.ค.ที่ชะลอตัวลงมาก ทำให้การส่งออกเดือน ก.ค.-ส.ค. ซึ่งเดิมคาดว่าจะฟื้นตัวในระยะสั้นๆไม่เกิดขึ้น เป็นไปได้ว่าการ ส่งออกตลอดทั้งปีนี้ เดิมคาดว่าขยายตัว 0% อาจเปลี่ยนเป็นติดลบ.

ที่มา : https://www.thairath.co.th/news/business/market-business/1627530

กลุ่มอุตสาหกรรมยางเวียดนามมีรายได้และกำไรพุ่งสูงขึ้น

จากรายงานของอุตสาหกรรมยางเวียดนาม (GVR) เปิดเผยว่าในช่วงครึ่งแรกของปี 2562  ธุรกิจของอุตสาหกรรมยางเวียดนามมีรายได้ และกำไรหลังหักภาษี ด้วยมูลค่ารวม 7.6 ล้านล้านด่อง และ 1 ล้านล้านด่อง ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.5 และ 15.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ตามลำดับ โดยกลุ่มธุรกิจของอุตสาหกรรมยางเวียดนามมีข้อได้เปรียบในด้านการพัฒนาวัตถุดิบ และไม้แปรรูปให้มีคุณภาพ โดยบริษัทในเครือกลุ่มอุตสาหกรรมนี้ มีโครงการแปรรูปไม้กว่า 13 โครงการ ที่สามารถผลิตสินค้าทำมาจากไม้ ได้แก่ แผ่นใยไม้อัดความหนาแน่นปานกลาง (MDF) ไม้อัด และยาง เป็นต้น ซึ่งกลุ่มธุรกิจของอุตสาหกรรมนี้ มีการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานในเขตอุตสาหกรรมพิเศษอย่างต่อเนื่อง ในนิคมอุตสาหกรรม Nam Tan Uyen , Rach Bap และ Thai Binh เป็นต้น นอกจากนี้ ก็มีการพัฒนาทางด้านที่อยู่อาศัย และการบริการ ในนิคมอุตสาหกรรมดังกล่าว

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/523414/rubber-group-sees-both-revenue-and-profit-rise.html#YtS2E50RP8KLJwOb.97

นครเกียนซางอนุมัติโครงการรวม 20 โครงการ ด้วยมูลค่า 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

จากรายงานของคณะกรรมการประชาชนในจังหวัดเกียนซาง เปิดเผยว่าเขตจังหวัดเกียนยาง (Kien Giang) มีมูลค่าการลงทุนกว่า 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ด้วยโครงการรวม 20 โครงการ ซึ่งการลงทุนดังกล่าว มาจากการได้รับใบอนุญาตจากคณะกรรมการ ซึ่งโครงการลงทุนที่สำคัญ ได้แก่ โครงการขุดเหมืองหินปูน และดินเหนียว รวมทั้งปูนซีเมนต์ เป็นต้น ดำเนินการโดยบริษัทปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัด (มหาชน) ด้วยเงินลงทุนประมาณ 467.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ นอกจากนี้ ทางคณะกรรมการของจังหวัดเกียนซางจะมุ่งเน้นการพัฒนาสภาพแวดล้อมทางด้านธุรกิจและกฎหมายให้สอดคล้องกับนักลงทุนให้รอบด้าน และให้สิทธิประโยชน์ทางด้านนโยบายของภาครัฐ รวมไปถึงหารือกับหน่วยงานท้องถิ่นของจังหวัดในการหาทางแก้ไขกับปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อให้โครงการดังกล่าวสามารถสำเร็จตามที่ตั้งเป้าหมายไว้

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/523409/kien-giang-approves-20-projects-worth-total-2-billion.html#Y7gIoZtx3Ge2ZYqw.97