The OPPORTUNITY : ธุรกิจแฟรนไชส์ในกัมพูชา
http://www.exim.go.th/doc/newsCenter/50430.pdf
ที่มา: ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
28 ธันวาคม 2561
http://www.exim.go.th/doc/newsCenter/50430.pdf
ที่มา: ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
28 ธันวาคม 2561
http://www.exim.go.th/doc/newsCenter/50383.pdf
ที่มา: ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
28 ธันวาคม 2561
http://www.exim.go.th/doc/newsCenter/50377.pdf
ที่มา: ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
27 ธันวาคม 2561
http://www.exim.go.th/doc/newsCenter/50368.pdf
ที่มา: ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
24 ธันวาคม 2561
การทำธุรกิจร้านอาหารสมัยนี้หรือที่ต่างประเทศ จำเป็นต้องรอบรู้ และใช้หลักการคิดแบบคนรุ่นก่อนไม่ได้ที่อาศัยความอดทน ขยัน ทำงานกันเป็นครอบครัว ซึ่งระบบเก่าไม่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ในยุคปัจจุบัน แนวคิดคือต้องแบ่งต้นทุนออกเป็นสองส่วนคือ หนึ่งต้นทุนคงที่ คือไม่ว่าคุณจะขายมากขายน้อย ต้นทุนนั้นก็จะเท่าเดิม แล้วนำมาหารจากมูลค่าการขาย เช่น ค่าเช่าร้านค้า หากจ่ายเดือนละหนึ่งหมื่นบาท รายรับจากการขายเดือนละหนึ่งแสนบาท คิดเป็น 10% ถ้าขายได้สองแสนบาท ค่าเช่าจะเหลือแค่ 5% เท่านั้น ต้นทุนอีกประเภทคือต้นทุนผันแปร ต้นทุนนี้จะแปรผันตามยอดขาย ยิ่งขายดี ยิ่งต้องจ่ายเยอะ เช่น ต้นทุนวัตถุดิบอาหารสด (Food Costs) เมื่อขายดีขึ้นเราต้องซื้อวัตถุดิบอาหารสดมากขึ้นเป็นตามไปด้วย หลังจากนั้นต้องควบคุมค่าใช้จ่ายให้ได้และตั้งสมมติฐานว่ายอดขายได้ 100% ปัจจัยค่าใช้จ่ายดังต่อไปนี้ 1) ค่าวัตถุดิบอาหารสด ต้องประมาณ 30-35% หากน้อยไปอย่าชะล่าใจ นั่นหมายความว่า เราเอาสินค้าไม่ได้คุณภาพมาบริการลูกค้าแล้วลูกค้าจะไม่กลับมาอีก 2) ค่าเช่าร้าน จะต้องอยู่ประมาณ 10-15% โดยประมาณ อย่าสูงกว่านี้ 3) ค่าแรงงาน ควรจะประมาณ 15-20% ส่วนนี้ต้องรวมค่าแรงคนในครอบครัวไปด้วย 4) ค่าภาษี ควรจะเตรียมไว้ 10% 5) ค่าน้ำค่าไฟ ควรจะมีไว้ 5% 6) ค่าใช้จ่ายจิปาถะ เช่น ค่าของแตกหัก ค่าเสื่อมราคาเครื่องมือ อยู่ที่ 10% 7) ค่าต้นทุนการเงิน หากไม่กู้มาเราเสียโอกาสในดอกเบี้ยเงินฝากไป หากกู้มาเราก็ต้องจ่าย ดังนั้นควรมี 5% รวมแล้วประมาณ 85-100% ดังนั้นหากคุมงบไม่ได้ไปต่อไม่ได้อย่างแน่นอน
พูดถึงอาหารไทยในเมียนมานั้น แม้จะมีชายแดนอยู่ติดกับไทยแต่อาหารจะแตกต่างจากอาหารไทย โดยได้รับอิทธิพลจากอินเดียมากกว่าไทย ในอดีตจะหาทานอาหารไทยในย่างกุ้งยากมาก จะมีร้านอยู่ไม่เกินสิบร้านที่ให้บริการอาหารไทยแท้ๆ เช่น ร้านสีลม ร้านไพลิน ร้านบางกอก เป็นต้น ปัจจุบันมีร้านอาหารไทยเปิดกันกันเยอะมาก เพราะมีทัวร์จากไทยเข้าไปไหว้พระมากกว่าแต่ก่อนเยอะ ส่วนด้านการลงทุน โดยมากที่นี่จะตกม้าตายกันที่ค่าเช่าร้านเพราะค่าเช่าที่นี่แพงมาก หากรายได้ไม่ดีจริงอยู่ไม่ได้แน่นอน ซึ่งถ้าจะทำร้านอาหารควรจะทำให้มีคลาสหรือการเจาะตลาดผู้บริโภคระดับบนไปเลย เมื่อดูเรื่องกำลังซื้อของผู้บริโภคที่นี่จะแบ่งระดับได้อย่างชัดเจน คนรวยจะรวยมาก คนจนก็จนติดดินมากด้วยเช่นกัน ดังนั้นควรเจาะกลุ่มเป้าหมายระดับสูง เริ่มจากการตกแต่งร้านต้องสวยงาม มีห้อง VIP ไว้คอยต้อนรับแขกมีระดับ อาหารดูดี ตกแต่งจานอย่างสวยงาม วัตถุดิบมีคุณภาพ รสชาติอร่อย และสุดท้ายบริการต้องดี ชาวเมียนมาเวลาจะเชิญผู้เขียนไปทานข้าวมักจะเป็นร้านอาหารไทยที่มีระดับ อีกย่างที่ต้องคอยระวังคือ ไม่ควรทำบุฟเฟต์ เพราะคนเมียนมาจะทานเยอะมาก ผู้เขียนเคยทำร้านอาหารหมูกระทะ ขายดีมาก มีลูกค้า 200-300 คนต่อวัน แต่ยิ่งขายเยอะ ยิ่งเจ๊งเร็ว เพราะเวลาเติมไลน์อาหารลงทั้งของคาวของหวาน ปรากฏว่าชาวเมียนมาทานหมดทุกอย่าง จนต้องปิดกิจการไปเลย