เมียนมา เอธิโอเปีย ร่วมมือกันภาคการค้า อุตสาหกรรม และเกษตรกรรม

ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเมียนมาระบุ เอกอัครราชทูตเมียนมาประจำอินเดียและเอกอัครราชทูตเอธิโอเปียประจำอินเดีย ได้จัดการเจรจาเกี่ยวกับความร่วมมือระหว่างเมียนมาและเอธิโอเปีย ในการพัฒนาภาคการค้า อุตสาหกรรม และการเกษตร โดยมีการหารือกันเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ที่สถานทูตเมียนมาในอินเดีย U Moe Kyaw Aung เอกอัครราชทูตเมียนมาประจำอินเดีย และ Mr. Demeke Atnafu Ambulo เอกอัครราชทูตเอธิโอเปียประจำอินเดีย กล่าวถึงประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับความร่วมมือทางการเมืองและสถานการณ์การค้าระหว่างเมียนมาและเอธิโอเปีย ตลอดจนแนวโน้มความร่วมมือระหว่างทั้งสองประเทศ รวมถึงการพัฒนาอุตสาหกรรมและการพัฒนาภาคเกษตรกรรม

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-ethiopia-to-cooperate-in-trade-industrial-agriculture-sectors/#article-title

ท่าอากาศยานนานาชาติ “เสียมราฐ-อังกอร์” พร้อมให้บริการเชื่อมสายการบินต่างๆ ทั่วโลก

ท่าอากาศยานนานาชาติ เสียมราฐ-อังกอร์ (SAI) พร้อมเปิดให้บริการเชื่อมสายการบินต่างๆ ทั่วโลก โดยในช่วงแรกของการเปิดให้บริการมีจำนวนสายการบินที่ให้บริการภายในสนามบิน SAI จาก 7 สายการบิน และจะเพิ่มขึ้นเป็น 10 สายการบิน ภายในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า หลังบรรลุข้อตกลงกับสายการบินต่างๆ รวมถึงในช่วงสิ้นปีถือเป็นช่วงฤดูกาลท่องเที่ยว ซึ่งจะมีนักท่องเที่ยวเดินทางมายังกัมพูชาเป็นจำนวนมาก สำหรับจำนวนผู้โดยสารทางอากาศที่เดินทางผ่าน SAI เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเพิ่มขึ้นเป็นกว่า 3,200 คนต่อวัน จากจำนวน 2,600 คน ที่บันทึกไว้เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม ที่ผ่านมา ตามรายงานของสำนักงานเลขาธิการการบินพลเรือนกัมพูชา (SSCA) ขณะที่การรองรับเที่ยวบินสามารถรองรับได้สูงสุด 42 เที่ยวบินต่อวัน เพิ่มขึ้นจาก 34 เที่ยวบินต่อวัน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของเดือนที่แล้ว ซึ่งจุดหมายปลายทางส่วนใหญ่อยู่ในภูมิภาคอาเซียนและจีน ด้านกระทรวงการท่องเที่ยวกัมพูชาเปิดเผยเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (3 พ.ย.) ว่า กัมพูชาให้การต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติได้ราว 3.92 ล้านคน ในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 211 จาก 1.26 ล้านคน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501389376/more-airlines-set-to-operate-from-sai-airport/

อาเซียน-จีน ตั้งเป้าอัปเกรด FTA ให้ได้เกินครึ่งทางภายในปีนี้ ก่อนสรุปผลปี 67

น.ส.โชติมา เอี่ยมสวัสดิกุล อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า ไทยได้เข้าร่วมการเจรจายกระดับความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-จีน (ACFTA Upgrade Negotiations) ครั้งที่ 4 ระหว่างวันที่ 25-29 ต.ค.2566 ที่ผ่านมา ณ เมืองบันดุง สาธารณรัฐอินโดนีเซีย โดยมีนายหวี เปิ่นหลิน อธิบดีกรมเศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศ เป็นประธานฝ่ายจีน โดยไทยในฐานะประธานร่วมฝ่ายอาเซียนได้ร่วมกับจีนผลักดันให้การเจรจารอบนี้ มีความคืบหน้ามากที่สุด ซึ่งตั้งเป้าให้การเจรจาคืบหน้าได้เกินครึ่งทางภายในปีนี้ เพื่อสรุปผลการเจรจาภายในปี 2567 ทั้งนี้ จีนจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรอบต่อไป ในช่วงปลายเดือน ม.ค.2567 ณ กรุงปักกิ่ง

ที่มา : https://corehoononline.com/index.php/economy/commerce-moc/showcontent/214785.html

ทางการกัมพูชาจัดงานประกวด “หนึ่งหมู่บ้าน หนึ่งผลิตภัณฑ์”

คณะกรรมการแห่งชาติกัมพูชาวางแผนจัดการประกวด หนึ่งหมู่บ้าน หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OVOP) ซึ่งเป็นโครงการริเริ่มที่คาดว่าจะสนับสนุนให้ผู้ผลิตปรับปรุงคุณภาพและเพิ่มการส่งออกไปยังต่างประเทศ โดยปัจจุบันทางการได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการสำหรับกำหนดกฎเกณฑ์การเป็นสมาชิก OVOP ณ กรุงพนมเปญ เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา (7 พ.ย.) นำโดย Ouk Rabun รัฐมนตรีอาวุโสและประธานคณะกรรมการแห่งชาติสำหรับ OVOP โดยจะจัดอันดับให้กับผลิตภัณฑ์ ได้แก่ 1,2,3,4 และ 5 ดาว ผ่านการพิจารณาของผู้เชี่ยวชาญบนมาตรฐานที่ทางการได้กำหนดไว้ สำหรับปัจจุบันมีสินค้าประมาณ 680 รายการ ที่ลงทะเบียนภายใต้โครงการ OVOP และส่วนใหญ่มีการจัดหน่ายแล้วในห้างสรรพสินค้าและซูเปอร์มาร์เก็ตท้องถิ่น ซึ่ง OVOP ถือเป็นกลไกในการส่งเสริมให้ชุมชนท้องถิ่นใช้ทรัพยากรและทักษะอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ที่เป็นเอกลักษณ์สำหรับตลาดในประเทศและต่างประเทศ อีกทั้งยังส่งเสริมการเพิ่มรายได้ให้กับภาคประชาชน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501389363/contest-to-rate-village-products-planned/

‘อินเทล’ ระงับแผนการผลิตชิปในเวียดนาม

สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่าบริษัทอินเทล (Intel) ผู้ผลิตชิปรายใหญ่ของสหรัฐฯ ตัดสินใจระงับการลงทุนในเวียดนาม ซึ่งเป็นแผนที่จะเพิ่มขนาดของการดำเนินธุรกิจได้เกือบ 2 เท่า โดยการระงับการลงทุนในครั้งนี้ นับเป็นอุปสรรคสำคัญของประเทศที่ตั้งเป้าหมายที่มีความต้องการในการเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่อุปทานเซมิคอนดักเตอร์โลก ทั้งนี้ โรงงานผลิตของบริษัทในเมืองโฮจิมินห์ มีมูลค่า 1.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเปิดเมื่อปี 2010 ถือเป็นโรงงานที่ใหญ่ที่สุดสำหรับการประกอบ บรรจุภัณฑ์และการทดสอบ รวมถึงโรงงานแห่งนี้ยังมีพนักงานรวมทั้งสิ้น 2,800 คน และส่งออกสินค้าของบริษัทมากกว่า 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในระยะเวลาของการดำเนินงาน 15 ปี นอกจากนี้ ในอีกประเด็นข้อกังวล คือ ระบบราชการที่เคร่งครัดของเวียดนามที่เป็นปัญหาของธุรกิจต่างชาติ

ที่มา : https://thediplomat.com/2023/11/intel-backs-out-of-planned-vietnam-chip-expansion-report-claims/

‘เวียดนาม’ เล็งยกระดับผลิตภาพแรงงานเติบโตเฉลี่ย 6.5% ต่อปี

สำนักข่าวเวียดนาม (Vietnam News Agency : VNA) รายงานว่าเวียดนามได้ตั้งเป้าหมายที่จะยกระดับการเติบโตของผลิตภาพแรงงานเฉลี่ยของภาคอุตสาหกรรมการผลิตและแปรรูป อยู่ที่ 6.5-7% ต่อปี ภายในปี 2573 ตามมาด้วยภาคเกษตรกรรมและภาคบริการ 7-7.5% โดยเวียดนามวางแผนที่จะเพิ่มขีดความสามารถของผลิตภาพแรงงาน และมุ่งมั่นที่จะเป็น 1 ใน 3 ประเทศชั้นนำในอาเซียนภายในปี 2573 อีกทั้ง ผลิตภาพแรงงานเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 4.65% ในปี 2564-2565 ซึ่งต่ำกว่าอัตราการเติบโตเป้าหมาย 6.5% ต่อปี

ที่มา : https://english.news.cn/20231109/643d4fa42d6749719fb8ae7a3ea79c1d/c.html