สมาคมปุ๋ย ส่งหนังสือถึง ‘จุรินทร์’ ขอขึ้นราคา แบกไม่ไหว ต้นทุนนำเข้าพุ่ง 100%

วันที่ 8 มี.ค.65 นายกองเอก เปล่งศักดิ์ ประกาศเภสัช นายกสมาคมการค้าปุ๋ยและธุรกิจการเกษตรไทย เปิดเผยว่าได้ทำหนังสือถึง นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์ ขอให้ปรับขึ้นราคาเพดานควบคุมปุ๋ยยูเรียทุกชนิด เนื่องจากวิกฤติสู้รบรัสเซีย ทำให้ต้นทุนนำเข้าเพิ่มขึ้น100% จากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงซึ่งเป็นสารตั้งต้นผลิตแม่ปุ๋ยยูเรียปรับสูงขึ้น ขณะที่รัสเซีย ยูเครน และเบลารุส คู่ค้านำเข้าหยุดส่งออกมาไทย เพราะปิดท่าเรือ ทำให้ผลผลิตปุ๋ยในประเทศหายไป 6.8 แสนตัน ซ้ำเติมให้ราคาเพิ่มขึ้นอีก ที่ผ่านมาสมาคมฯ ตรึงราคามาตั้งแต่ต้นปี2564 แต่ตอนนี้ตรึงต่อไปไม่ไหว เพราะขายขาดทุนกว่า 50% ดังนั้น เพื่อบรรเทาภาระต้นทุนให้กับเกษตรกร เสนอให้รัฐบาลใช้มาตรการอุดหนุนค่าใช้จ่ายด้านปัจจัยการเกษตรหรือปุ๋ยเคมี เพื่อให้เกษตรกรสามารถทำการเกษตรต่อไปได้

ที่มา: https://www.khaosod.co.th/economics/news_6928911

ทางการกัมพูชากำหนดแผนยุทธศาสตร์ ดึงการลงทุนเพิ่มขึ้น

ทางการกัมพูชากำหนดแผนยุทธศาสตร์ (2021-2024) ในการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมการผลิต เสื้อผ้า รองเท้า และสินค้าการเดินทาง หวังดึงดูดการลงทุนมายังกัมพูชามากขึ้น รวมถึงสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืนในภาคส่วนนี้ โดย Okhna Kong Sang กล่าวรายงานเสริมว่าการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปของกัมพูชามีมูลค่ากว่า 11.389 ล้านดอลลาร์ในปี 2021 เพิ่มขึ้น 1.505 พันล้านดอลลาร์ หรือคิดเป็นการเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 15.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมูลค่าการส่งออกเสื้อผ้าของกัมพูชาอยู่ที่ 8.017 ล้านดอลลาร์ ส่วนการส่งออกรองเท้าอยู่ที่ 1.390 พันล้านดอลลาร์ และ สินค้าเพื่อการเดินทางอยู่ที่ 1.490 พันล้านดอลลาร์ และหมวดสินค้าสิ่งทออื่นๆ รวม 0.492 พันล้านดอลลาร์ ในปี 2021

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501036530/garment-footwear-and-travel-goods-development-strategic-plan-to-attract-more-investment/

อุตสาหกรรมประกันภัยกัมพูชา ขยายตัวร้อยละ 9.5 ในปี 2021

หน่วยงานกำกับดูแลการประกันภัยกัมพูชา (IRC) รายถึงสถานการณ์ภายในอุตสาหกรรมประกันภัยกัมพูชา โดยปริมาณเบี้ยประกันภัยรวมมีมูลค่ารวมอยู่ที่ 293.4 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ถึงแม้เศรษฐกิจโดยภาพรวมจะได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ก็ตาม โดยปัจจุบันกัมพูชามีผู้ประกอบการบริษัทประกันภัยทั่วไป 18 แห่ง, ประกันชีวิต 14 แห่ง, บริษัทประกันภัยรายย่อย 7 แห่ง และบริษัทประกันภัยต่อ 1 แห่ง ซึ่งค่าเบี้ยประกันภัยรวมของตลาดประกันภัยทั่วไปในปี 2021 อยู่ที่เกือบ 123 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.4 เมื่อเทียบกับปีก่อน ในขณะที่เบี้ยประกันชีวิตรวมอยู่ที่ 170.4 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 11

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501036523/cambodias-insurance-industry-grows-by-9-5-percent-to-293-3-million-in-premiums-in-2021/

กระทรวงเกษตรและป่าไม้ขยายความร่วมมือในการศึกษาระบบดิจิทัลของระบบชลประทาน

กระทรวงเกษตรและป่าไม้และบริษัท สตาร์ เทเลคอม จำกัด (Unitel) ได้ขยายความร่วมมือในการศึกษาความเป็นไปได้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลของการจัดการชลประทานตามอุตสาหกรรม 4.0 บันทึกความเข้าใจนี้เป็นข้อมูลอ้างอิงสำหรับความร่วมมือของทั้งสองฝ่ายในการศึกษาการพัฒนาบริการน้ำประปาโดยใช้ระบบดิจิทัล และเพื่อศึกษาและพัฒนาบริการทางเทคนิคที่เกี่ยวข้องกับการชลประทาน การเกษตร และการประมง กิจกรรมเหล่านี้จะปรับปรุงการจัดการน้ำและบริการด้านการชลประทานสำหรับภาครัฐและประชาชนทั่วไปตาม “การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล” ผ่านการใช้เทคโนโลยีขั้นสูงตามนโยบายและแผนการพัฒนาประเทศของรัฐบาล นอกจากนี้ การศึกษาจะพิจารณาการพัฒนาการดำเนินงานด้านน้ำในฟาร์มและแผนการจัดการโครงการในการปลูกข้าว โดยมุ่งเป้าไปที่การประหยัดน้ำเพื่อให้พืชสามารถเพาะปลูกได้อย่างมีประสิทธิภาพพร้อมทั้งลดต้นทุนการผลิต

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Unitel_45_22.php

หัวหอมราคาดิ่ง กระทบเกษตรกรแบกต้นทุนอ่วมหนัก

เกษตรกรในอำเภอปหวิ่น-พยู เขตมะกเว ทำการปลูกหัวหอมตลอดทั้งปีโดยใช้นำจากชลประทานและน้ำบาดาล แม้จะให้ผลผลิตสูงแต่ก็ได้รับผลกระทบจากราคาลดลง ปัจจุบันผลผลิตหัวหอมอยู่ที่ประมาณ 3,000-4,000 viss (viss เท่ากับ 1.6 กก.) ต่อเอเคอร์ เมื่อปีก่อนราคาอยู่ที่ประมาณ 1,500-2,000 จัตต่อ viss แต่ในปัจจุบันราคาดิ่งลงเหลือ 300-400 จัตต่อ viss ทำให้รายได้ไม่สามารถครอบคลุมต้นทุนที่พุ่งไปถึง 1 ล้านต่อเอเคอร์ อีกทั้งตลาดหัวหอมยังคงซบเซา เนื่องจากความต้องต่างประเทศลดลง ซึ่งก่อนหน้าในปี 2562 ราคาหัวหอมพุ่งไปถึง 4,000 จัตต่อ viss กระตุ้นให้เกษตรเพิ่มปริมาณการปลูก แต่เมื่อเกิดการระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้ตลาดค้าขายหัวหอมเสียหายอย่างหนัก ทั้งนี้หัวหอมส่วนใหญ่ปลูกในเขตมัณฑะเลย์ มาเกว ย่างกุ้ง รัฐเนปิดอว์ และรัฐฉาน

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/onion-market-fallout-hits-growers/#article-title

‘เวียดนาม’ เผยอุตสาหกรรมปศุสัตว์ ได้รับผลกระทบจากวิกฤตสงครามยูเครน-รัสเซีย

บริษัท Agribank Securities JSC (Agriseco) เปิดเผยว่าอุตสาหกรรมปศุสัตว์เวียดนาม มีแนวโน้มจะได้รับผลกระทบจากราคาวัตถุดิบและราคาอาหารสัตว์ที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น ตั้งแต่เกิดความขัดแย้งของสมรภูมิรัสเซีย-ยูเครน โดยประเทศรัสเซียและยูเครนเป็นผู้ส่งออกข้าวสาลีชั้นนำของโลกและอยู่ในอันดับที่ 3 ของผู้ส่งออกรายใหญ่ของโลก ทำให้ระดับราคาสูงขึ้น 17.8% อีกทั้ง ยูเครนเป็นผู้ส่งออกข้าวโพดรายใหญ่อันดับที่ 4 ของโลก หรือคิดเป็นสัดส่วน 22% ของอุปทานทั่วโลก ดังนั้นราคาข้าวโพดจึงเพิ่มขึ้น 8.4% นับตั้งแต่เริ่มเกิดสงคราม ทั้งนี้ ตามรายงานของ Agriseco ชี้ว่าความตึงเครียดของสงครามยูเครนและรัสเซีย ส่งผลกระทบอย่างมากต่อราคาอาหารทั่วโลก โดยทั้งสองประเทศมีสัดส่วนการส่งออกข้าวสาลี 29% ของการส่งออกทั่วโลก และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 19% ในขณะที่อุตสาหกรรมปศุสัตว์ในประเทศส่วนใหญ่จะนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศ ตั้งแต่ข้าวสาลีไปจนถึงธัญพืช ซึ่งตั้งข้อสังเกตว่าราคาอาหารที่สูงขึ้นจะส่งผลต่อต้นทุนการผลิตของธุรกิจปศุสัตว์และอาหารสัตว์ในท้องถิ่น

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1161595/russia-ukraine-crisis-hits-local-livestock-industry.html

 

อคส.จับมือเอกชนเมียนมาตั้งคลังสินค้า

นายเกรียงศักดิ์ ประทีปวิศรุต ผู้อำนวยการองค์การคลังสินค้า (อคส.) เปิดเผยว่า สัปดาห์ที่ผ่านมา อคส.ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) กับบริษัท Maha Shwe Ngwe จำกัด จากเมียนมา เพื่อหาช่องทางร่วมลงทุนสร้างคลังกระจายสินค้าอุปโภค-บริโภคในเมียนมา รองรับการค้าขายผ่านช่องทางออนไลน์ในตลาดเมียน ถือเป็นการขยายสาขาคลังสินค้าในต่างประเทศของ อคส.เป็นแห่งแรก ทั้งนี้ ยังมีแผนร่วมมือส่งเสริมการปลูกถั่วเหลืองกับเมียนมา ซึ่งไทยต้องนำเข้าปีละกว่า 2 ล้านตัน และกากถั่วเหลืองสำหรับผลิตอาหารสัตว์ อีกกว่าปีละ 2 ล้านตัน จะส่งผลให้เกิดความมั่นคงทางด้านวัตถุดิบอาหารสัตว์ให้กับเกษตรกรไทย โดยไม่ถือเป็นการทำการค้าแข่งกับภาคเอกชนของไทย เพราะไทยมีผลผลิตถั่วเหลืองน้อยมากไม่ถึงปีละ 0.1 ล้านตัน

ที่มา: https://www.naewna.com/business/639690