‘เซ็นทรัลพัฒนา’ ผู้นำอสังหาฯ ไทย จัดตั้งบริษัทย่อยในเวียดนาม

‘เซ็นทรัลพัฒนา’ (Central Pattana : CPN) หนึ่งในเครือเซ็นทรัลที่เป็นองค์กรเอกชนชั้นนำในการดำเนินธุรกิจที่หลากหลายอุตสาหกรรมของประเทศไทย เดินหน้าจัดตั้งบริษัทย่อยแห่งใหม่ในเวียดนาม เพื่อแสวงหาโอกาสทางธุรกิจจากในตลาดท้องถิ่น ในขณะที่บริษัทย่อย ซีพีเอ็น โกบอล เวียดนาม มีเงินทุนจดทะเบียนราว 20 พันล้านดอง โดยซีพีเอ็น โกบอล เวียดนาม เป็นผู้ถิอหุ้น 100% ดำเนินการจัดการอสังหาริมทรัพย์ในเวียดนาม

ทั้งนี้ จากข้อมูลของเว็บไซต์บริษัท เปิดเผยว่าเซ็นทรัลพัฒนาเป็นผู้นำด้านการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อการค้าปลีกชั้นนำในประเทศไทย และมีการจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในปี พ.ศ. 2538 โดยในปัจจุบัน เซ็นทรัลพัฒนาเป็นเจ้าของและบริหารจัดการห้างสรรพสินค้าระดับไฮเอนด์เกือบ 40 แห่ง อาคารสำนักงาน 10 แห่ง และโรงแรมอีก 5 แห่งที่มีพื้นที่เช่ารวมเกิน 2.3 ล้านตารางเมตร พร้อมอาคารอพาร์ตเมนต์จำนวน 28 หลัง

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/thai-property-developer-central-pattana-sets-up-new-subsidiary-in-vietnam-post1078025.vov

โครงการนำร่องเลี้ยงกุ้งลูกผสมน้ำจืดประสบความสำเร็จในเขตอิระวดี

U Tun Win Aung หัวหน้ากรมประมงในเมืองลาบุตตา รายงานความสำเร็จในการเลี้ยงกุ้งน้ำจืดนำร่องในเขตอิระวดี เนื่องจากเมืองลาบุตตาในเขตอิระวดีตั้งอยู่ตามแนวชายฝั่ง การเลี้ยงกุ้งทะเลจึงประสบความสำเร็จ โดยได้รับประโยชน์จากน้ำทะเลที่ไหลเข้ามาเป็นจำนวนมาก ซึ่งมีรายงานว่ากุ้งน้ำจืดลูกผสมกำลังได้รับการเพาะพันธุ์บนพื้นที่ 115 เอเคอร์ของเมืองลาบุตตา  เพื่อตอบสนองต่อความต้องการในท้องถิ่นที่เพิ่มขึ้นและตลาดที่กำลังเติบโต การทำฟาร์มนำร่องกุ้งน้ำจืดลูกผสมก็แสดงให้เห็นผลลัพธ์ที่น่าพอใจ อย่างไรก็ตาม กุ้งน้ำจืดลูกผสมมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แม้จะไม่ใช่พันธุ์ดั้งเดิมของพม่า แต่สามารถเพาะพันธุ์ได้ในเชิงพาณิชย์ โดยมีกุ้งตั้งแต่ 80,000 ตัวไปจนถึงกุ้ง 100,000 ตัวบนพื้นที่หนึ่งเอเคอร์ ซึ่งการผสมพันธุ์ใช้เวลาเพียง 6 เดือน หลังจากนั้นกุ้งเหล่านี้ก็สามารถส่งออกสู่ตลาดได้ นอกจากนี้ ธุรกิจห้องเย็นไม่เพียงดำเนินการเพื่อการส่งออกเท่านั้น แต่ยังเพื่อการบริโภคในท้องถิ่นด้วย

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/hybrid-freshwater-hybrid-shrimp-pilot-farming-successful-in-ayeyawady-region/#article-title

โครงการสะพานตันลวิน (ตะกาว) ดำเนินการแล้วเสร็จไปกว่า 84%

กระทรวงการก่อสร้าง กำลังดำเนินการก่อสร้างสะพานตันลวิน (ตะกาว) บนถนนเมะติลา-ตองยี-เชียงตุง-ท่าขี้เหล็ก ในรัฐฉานตอนใต้ และขณะนี้งานก่อสร้างร้อยละ 84 ได้ดำเนินการไปแล้ว ตามที่รองผู้อำนวยการ (โยธา) ผู้รับผิดชอบโครงการก่อสร้างสะพานกล่าว ในปัจจุบันการก่อสร้างฐานรากและโครงสร้างย่อยแล้วเสร็จ และกำลังดำเนินการติดตั้งคานเหล็กและคานเหล็กกล่อง อย่างไรก็ดี สะพานตันลวินเก่า เป็นสะพานที่เชื่อมระหว่างรัฐฉาน (ใต้) และรัฐฉาน (ตะวันออก) เป็นหลัก บนถนนเมะติลา-ตองยี-เชียงตุง-ท่าขี้เหล็ก ซึ่งเป็นถนนสายสำคัญสำหรับเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากสินค้าส่งออกและนำเข้าจะถูกขนส่งผ่านทางถนนและสะพาต่อการเข้าถึงประเทศลาว ไทย และจีน ผ่านเมืองเชียงตุงและท่าขี้เหล็กจากตอนกลางของ พม่า เนื่องจากถนนดังกล่าวถูกนำมาใช้ในการขนส่งสินค้า กระทรวงการก่อสร้างจึงได้ปรับปรุงสะพานบนถนนให้สามารถรองรับน้ำหนักได้ 60 ตัน ในขณะที่ สะพานตันลวิน (ตะกาว) แห่งใหม่นี้มีความยาว 351 เมตร (1,151.631 ฟุต) และทำจากคานเหล็กกล่องพร้อมพื้นสร้างจากคอนกรีตเสริม สูง 2.74 เมตร และเสาเข็มเจาะ 1.5 เมตร นอกจากนี้ยังมีช่วงเจ็ดช่วงที่มีความกว้างต่างกัน โดยความกว้างรวม 39.4 ฟุต ซึ่งทางเดินรถกว้าง 20 ฟุต 6 นิ้ว และสำหรับทางเท้ากว้าง 4 ฟุต 5 นิ้ว ซึ่งในแต่ละด้านสามารถรับน้ำหนักได้ถึง 60 ตัน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/thanlwin-bridge-takaw-project-completes-84-per-cent/#article-title

สปป.ลาว-รัสเซีย ตกลงขยายความร่วมมือทางการค้าและการลงทุน

ผู้นำรัฐบาลสปป.ลาว-รัสเซีย เห็นพ้องที่จะยกระดับความร่วมมือในด้านการเงินและการธนาคาร การท่องเที่ยว ผลประโยชน์ทางวัฒนธรรม การศึกษา สุขภาพ และความมั่นคงด้านข้อมูลระหว่างประเทศ ตลอดจนการสนับสนุนซึ่งกันและกันในเวทีระดับภูมิภาคและระหว่างประเทศ เช่น เวทีสหประชาชาติและอาเซียน แผนความร่วมมือดังกล่าวนี้ได้รับการเห็นชอบร่วมกันระหว่างนาย Andrey Rudenko รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศของรัสเซียและคณะผู้แทนรัฐบาลรัสเซีย กับรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของ สปป.ลาว

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freefreenews/freecontent_37_LaosRussia_y24.php

กระทรวงการคลัง สปป.ลาว ออกกฎระเบียบภาษีใหม่สำหรับธุรกิจอีคอมเมิร์ซ

กระทรวงการคลัง สปป.ลาว ได้ประกาศกฎระเบียบใหม่เกี่ยวกับการชำระภาษีภาคบังคับสำหรับแพลตฟอร์มช้อปปิ้งดิจิทัลทั้งหมด กฎระเบียบดังกล่าวแบ่งประเภทเว็บไซต์ช้อปปิ้งแพลตฟอร์มดิจิทัลออกเป็นสามกลุ่ม ได้แก่ องค์กรที่จดทะเบียนในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) องค์กรขนาดเล็กและบุคคลธรรมดา นิติบุคคลและองค์กรขนาดใหญ่ โดยองค์กรที่จดทะเบียนกับระบบภาษีมูลค่าเพิ่มจะต้องระบุหมายเลขประจำตัวผู้เสียภาษีและใบรับรองภาษีมูลค่าเพิ่มในโฆษณาสำหรับการขายสินค้าและบริการผ่านช่องทางอีคอมเมิร์ซ พวกเขายังต้องแจ้งให้ผู้ใช้ทราบทุกครั้งที่มีการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม อย่างไรก็ตาม วิสาหกิจขนาดย่อมไม่จำเป็นต้องแจ้งให้ผู้ใช้ทราบเมื่อเก็บภาษี แต่ต้องแสดงหมายเลขประจำตัวผู้เสียภาษีในการโฆษณา ทั้งนี้ เฉพาะองค์กรที่จดทะเบียนในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) เท่านั้น ที่ต้องเชื่อมต่อข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์กับระบบการจัดการข้อมูลรายได้ภาษี (TaxRIS)

ที่มา : https://laotiantimes.com/2024/02/20/lao-government-rolls-out-new-tax-regulations-on-e-commerce/

Metfone ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์กัมพูชาครองสัดส่วนการใช้ในประเทศกว่า 98%

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา Metfone บริษัทผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือในกัมพูชาได้ดำเนินกลยุทธ์ “infrastructure first, business later” ซึ่งทำการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมไปยังพื้นที่ห่างไกลของกัมพูชาเป็นเวลากว่า 15 ปี โดยขึ้นเป็นผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือชั้นนำในกัมพูชาที่ปัจจุบันครอบคลุมการใช้กว่าร้อยละ 98 ของประชากรในประเทศ ขณะที่บริษัทได้เสียภาษีกว่า 1 พันล้านดอลลาร์ ให้กับหน่วยงานรัฐบาลกัมพูชา ส่งผลทำให้บริษัทติดอันดับ 5 องค์กร ที่เสียภาษีสูงสุดและขึ้นเป็นผู้นำในภาคโทรคมนาคมกัมพูชา นอกจากนี้ จำนวนเงินสะสมที่ Metfone มอบให้กับสังคมผ่านกิจกรรมทางสังคมและการสนับสนุนชุมชนมีมูลค่าสูงถึง 120 ล้านดอลลาร์ในปีนี้

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501442494/metfone-network-reaches-98-percent-of-cambodian-population/