“สุชาติ”ชี้ไทยเศรษฐกิจทรุดหนักกว่าทุกประเทศในอาเซียน

ศาสตราจารย์ ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่าเหตุที่ทำให้เศรษฐกิจไทยไม่เจริญเติบโต คือ (1) รัฐบาลมาจากเผด็จการทำให้ขาดความเชื่อมั่น จึงไม่สอดคล้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจแบบเปิดกว้าง ที่มีสิทธิ เสรีภาพ เสมอภาค และความยุติธรรมเป็นที่ตั้งด้วยเหตุนี้นักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ ก็ได้ย้ายหนีจากประเทศไทย ไปประเทศที่มีระบบการปกครองที่ดีกว่า มั่นคงกว่า เช่น อินโดนีเซีย มาเลเซีย เวียดนาม ลาว พม่า เป็นต้น (2) มาตรการทางการเงิน ที่ปล่อยให้ค่าเงินบาทแข็งค่ามาก มาตรการด้านการเงินแบบล้าหลัง ควบคุมอัตราเงินเฟ้อ (Inflation targeting) จนต่ำเกินไปมาก หลายครั้งติดลบ ประชาชนและเอกชน ค้าขายไม่ได้กำไร หลายแห่งขาดทุน จนต้องลดการผลิต (ซึ่งลดรายได้หรือ GDP ลงด้วย) ดูได้จากการใช้กำลังการผลิตโดยรวมของไทย ปี 2563 (Capacity utilization rate) เพียง 66% เกือบต่ำที่สุดในโลก และ(3) พรก.ฉุกเฉิน ที่ใช้การแก้ไขการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้รัฐบาลกลาง กทม.และจังหวัด สั่งปิดสถานที่ต่างๆ

ที่มา  https://www.posttoday.com/politic/news/643895

ตลาดในประเทศยังเป็นปัจจัยสำคัญของอุตฯการบินเวียดนาม ปี 64

เวียดนามควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้ความต้องการเดินทางทางอากาศในประเทศเพิ่มสูงขึ้นในปี 2564 ซึ่งจำนวนผู้โดยสานทางอากาศสามารถกลับไปสู่ระดับก่อนเกิดโควิด-19 ที่ 73 ล้านคนในปีนี้ เพิ่มขึ้น 23% เมื่อเทียบเป็นรายปี ทั้งนี้ บริษัทหลักทรัพย์ของเวียดนามอย่าง SSI Securities Corp. คาดการณ์ว่าตลาดในประเทศยังคงเป็นปัจจัยที่สำคัญของอุตสาหกรรมการบินเวียดนาม จนกว่าจะสิ้นสุดครึ่งแรกของปี 2564 อย่างไรก็ตาม สถานการณ์โควิด-19 ที่รุนแรงไปทั่วโลกนั้น ชี้ให้เห็นว่ารัฐบาลเวียดนามต้องปิดพรมแดนจนถึงครึ่งหลังของปีนี้ อีกทั้ง ประสิทธิภาพของวัคซีนโควิด-19 จะเป็นปัจจัยชี้ขาดในการปลดล็อกข้อจำกัดในการเดินทางในปัจจุบันและกลับมาเปิดให้บริการเที่ยวบินระหว่างประเทศ

ที่มา : http://hanoitimes.vn/domestic-market-to-remain-priority-for-vietnam-aviation-industry-in-2021-316061.html

FDI เวียดนามเดือน ม.ค. พุ่ง 1.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ

กระทรวงวางแผนและการลงทุน (MPI) เปิดเผยว่ายอดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) เมื่อวันที่ 20  ม.ค. 2564 อยู่ที่ 1.51 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 4.1% เมื่อเทียบรายปี ในจำนวนเงินลงทุนดังกล่าว มุ่งเน้นไปที่อุตสาหกรรมการผลิตและแปรรูป ด้วยมูลค่าราว 1.54 พันล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นสัดส่วน 76.4% ของยอดการลงทุนจากต่างชาติรวม รองลงมาภาคอสังหาริมทรัพย์ มูลค่า 179 ล้านเหรียญสหรัฐ, การขนส่ง คลังสินค้าและการเกษตร ป่าไม้ ประมง มูลค่า 111.9 และ 60.4 ล้านเหรียญสหรัฐ ตามลำดับ ทั้งนี้ สิงคโปร์เป็นผู้ลงทุนจากต่างประเทศรายใหญ่ที่สุดในเวียดนาม เป็นเงินทั้งสิ้น 680.7 ล้านเหรียญสหรัฐ (33.8% ของทั้งหมด) รองลงมาจีน ฮ่องกง ตามลำดับ

 ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/january-fdi-tops-15-billion-usd/195512.vnp

MTB อุ้มบริษัททัวร์ หนุนการท่องเที่ยวเมียนมา

ธนาคารการท่องเที่ยวแห่งเมียนมา (MTB) ได้เซ็น MoU กับสมาคมการท่องเที่ยวเมียนมา (Union of Myanmar Travel Association) เพื่อหาเงินกู้สำหรับสมาชิกสมาคมที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ที่ทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องงดกิจกรรมทั้งหมดและผู้ประกอบการต้องการความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน ซึ่งภาคการท่องเที่ยวเมียนมาได้รับผลกระทบมากที่สุด ทั้งนี้ธนาคารการท่องเที่ยวแห่งเมียนมา (MTB) เป็นธนาคารเอกชนที่ได้รับใบอนุญาตจากธนาคารกลางแห่งเมียนมา (CBM) เมื่อปี 2561 ปัจจุบันมีสาขาทั้งหมด 6 แห่งเพื่อรองรับความต้องการของ SMEs และภาคการท่องเที่ยวในเมียนมา

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanmar-tourism-bank-provide-loans-tour-companies.html

KB Bank รุกหนัก ภาคก่อสร้างเมียนมา

KB Bank พร้อมให้ความสำคัญกับภาคการก่อสร้างของเมียนมา นาย เฮอร์ยิน ประธานกรรมการกล่าวในงานการเปิดตัวในเมียนมามื่อวันที่ 27 มกราคม 64 KB Bank เป็นบริษัทย่อยของ KB Kookmin Bank จากเกาหลีใต้ที่ให้บริการ เช่น สินเชื่อที่อยู่อาศัย ธนาคารดิจิทัล ธนาคารสำหรับองค์กรและโครงสร้างพื้นฐานด้านการธนาคาร แต่เป้าหมายคือภาคการก่อสร้าง โดยอย่างยิ่งในด้านการเงินการธนาคารดิจิทัลและที่อยู่อาศัย นี่คือจุดแข็งของ KB Kookmin Bank ซึ่งข้าสู่เมียนมาในปี 56 ด้วยการเปิดตัวสำนักงานใหญ่ในย่างกุ้ง รัฐมนตรีประจำเขตย่างกุ้ง นี่เป็นหนึ่งในหลาย ๆ ด้านของความร่วมมือระหว่างเมียนมาและเกาหลี ศูนย์อุตสาหกรรมเกาหลี – เมียนมา (KMIC) มีโครงการที่อยู่อาศัยทโรงงานและการประชุมเชิงปฏิบัติการ โครงการ Dala Myothit ซึ่งลงนามร่วมกันระหว่างเมียนมากับเกาหลีใต้สามารถสร้างความแข็งแกร่งให้กับตลาดอสังหาริมทรัพย์ KB Kookmin Bank เป็นหนึ่งในธนาคารต่างประเทศอีก 7 แห่งที่ได้รับการอนุมัติให้ดำเนินการในประเทศ ณ ตอนนี้เป็นธนาคารต่างชาติแห่งแรกที่ตั้งบริษัทลูกในเมียนมาร์และจะได้รับใบอนุญาตให้เปิดสาขา 10 แห่งทั่วประเทศ

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/kb-bank-focus-myanmars-construction-sector.html

รัฐบาลสปป.ลาวให้คำมั่นที่จะลดภาระหนี้

รัฐบาลตั้งใจที่จะลดการขาดดุลการคลังให้เหลือเฉลี่ยร้อยละ 2 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ทุกปีตั้งแต่ปี 2564 ถึง 2568 คำมั่นสัญญาดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อรัฐบาลพยายามลดหนี้สาธารณะเพื่อให้ประเทศสามารถปรับปรุงสภาพคล่องทางการเงินได้ การแพร่ระบาดของโรคโควิด -19 ทำให้ภาระหนี้สาธารณะของสปป.ลาวเพิ่มสูงขึ้นทำให้เกิดความท้าทายสำหรับประเทศเล็ก ๆ ในการชำระหนี้ ในช่วงห้าปีที่ผ่านมารัฐบาลได้นำเทคโนโลยีมาใช้ในการวิเคราะห์โครงการลงทุนให้มีประสิทธิภาพส่งผลให้รายได้ประชาชาติเพิ่มขึ้นร้อยละ 20 อย่างไรก็ตามรายจ่ายก็เพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 20 ส่งผลให้ขาดดุลงบประมาณประจำปีเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.73 การขาดดุลการคลังแบบเรื้อรังทำให้รัฐบาลต้องออกพันธบัตรและกู้ยืมมากขึ้นจากแหล่งต่างๆเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนงบประมาณรวมถึงมาตรการด่านอื่นๆ เช่น การแปลงหนี้เป็นทุนการขายทรัพย์สินของรัฐและการขายหุ้นในรัฐวิสาหกิจเพื่อหวังว่าจะจัดการกับภาระผูกพันทางการเงินของประเทศ เป็นต้นนักเศรษฐศาสตร์แนะนำให้รัฐบาลดำเนินการเพิ่มเติมเพื่อปรับปรุงบรรยากาศการลงทุนและช่วยเหลือภาคเอกชนโดยเฉพาะ SMEs ในการลดต้นทุนการผลิตเพื่อเพิ่มปริมาณสินค้าที่ผลิตเพื่อการส่งออกซึ่งจะเป็นช่องทางรายได้อีกทางของรัฐบาล

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Govt20.php

สปป.ลาวจะมีรายได้จากการขายคาร์บอนเครดิตในปีหน้า

รัฐบาลคาดว่าจะมีรายได้ก้อนแรกจากการขายคาร์บอนเครดิตในปีหน้าหลังจากลงนามในข้อตกลงกับธนาคารโลก รองอธิบดีกรมป่าไม้กล่าวเมื่อวันพฤหัสบดีว่า “รัฐบาลได้ลงนามในข้อตกลงกับธนาคารโลกในการขายคาร์บอนเครดิตจากพื้นที่ป่าที่กำหนดใน 6 แขวงทางตอนเหนือของสปป.ลาว และคาดว่าจะได้รับเงินประมาณ 15 ล้านเหรียญสหรัฐจากการขายคาร์บอนเครดิตในปี 2565” ธนาคารโลกระบุว่าสถาบันการเงินระหว่างประเทศได้กำหนดงบประมาณภายใต้ Forest Carbon Partnership Facility ประมาณ 42 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพื่อซื้อคาร์บอนเครดิตจากสปป.ลาวในปี 2563 ถึง 2568 ความคิดริเริ่มของธนาคารโลกมีวัตถุประสงค์เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนที่ปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของภาวะโลกร้อนและรูปแบบสภาพอากาศที่รุนแรงทั่วโลก ซึ่งประเทศกำลังพัฒนาประเทศที่พัฒนาแล้วและ บริษัท รายใหญ่ได้ตกลงที่จะซื้อคาร์บอนเครดิตจากประเทศต่างๆเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของความรับผิดชอบทางธุรกิจเพื่อสังคมของตน

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Laos20.php

โครงการโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าแห่งใหม่คาดสร้างการจ้างงานในท้องถิ่นของกัมพูชา

โรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าแห่งใหม่มูลค่า 3.1 ล้านดอลลาร์ คาดจะถูกสร้างขึ้นในจังหวัดตาแก้วของกัมพูชา สร้างการจ้างงานกว่า 702 ตำแหน่ง ให้กับคนในท้องถิ่น ประชาสัมพันธ์โดยหน่วยงานส่งเสริมการลงทุนของประเทศกัมพูชา (CDC) หลังจากได้รับการอนุมัติโครงการลงทุนใหม่ ซึ่งโรงงานผลิตเสื้อผ้าที่เพิ่งได้รับการอนุมัติเป็นการลงทุนโดย Brightness (Cambodia) Garment Factory Co., Ltd. โดยตั้งแต่ต้นเดือนนี้ CDC ได้ให้ไฟเขียวแก่โครงการลงทุน 7 โครงการ รวมถึงโครงการข้างต้นด้วยเงินลงทุนรวมเกือบ 27.6 ล้านดอลลาร์ สร้างโอกาสในการจ้างงานถึง 4,000 ตำแหน่งในกัมพูชา ซึ่งการลงทุนดังกล่าวท่ามกลางการระบาดของ COVID-19 แสดงให้เห็นถึงความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่อเสถียรภาพเศรษฐกิจและสังคมของกัมพูชา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50807925/a-3-1-million-garment-factory-project-in-takeo-province-to-create-more-than-700-jobs/