ไทย-สปป.ลาวร่วมทุนก่อตั้งบริษัทค้าเม็ดไม้ Wood Pellet แห่งแรกในสปป.ลาว

บริษัท ราชกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ร่วมกับ บริษัท บุรีรัมย์กรีนเอนเนอร์จี จำกัด (BGE) และ บริษัท สีพันโทนโบลาเวนดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด ได้ร่วมกันจัดตั้งบริษัท สี่แผ่นดินราช – ลาว จำกัด เพื่อเปิดตัวโครงการ wood pellet ในสปป.ลาว ทุนจดทะเบียน 1.7 ล้านบาทหรือ 500 ล้านบาทตามรายงานของ RATCH Group โครงการดังกล่าวคาดว่าโรงงานเม็ดไม้จะเริ่มก่อสร้างในปี 2564 โดยจะเริ่มผลิตและจำหน่ายเชิงพาณิชย์ในต้นปี 2565 จะมีกำลังการผลิต 60,000 ตันต่อปี โครงการนี้จะครอบคลุมพื้นที่ 3,000 เฮกตาร์ในแขวงจำปาศักดิ์โดยมีแผนจะส่งออกเชื้อเพลิงชีวมวลให้กับลูกค้าอุตสาหกรรมในญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ภายใต้สัญญาระยะยาวปัจจุบันความต้องการเม็ดไม้ในภาคอุตสาหกรรมมีเพิ่มขึ้นทั่วโลกและยังใช้เม็ดไม้ในโรงไฟฟ้าชีวมวลอีกด้วย อุตสาหกรรมเม็ดไม้ยังคงมีแนวโน้มเติบโตได้ดีจากความต้องของประเทศที่กำลังพัฒนาและพัฒนาแล้วอย่างยุโรปที่มีความต้องการสูงและเป็นคู่ค้าคนสำคัญ

ที่มา : https://laotiantimes.com/2020/09/23/first-wood-pellet-project-to-be-launched-in-laos/

กัมพูชาหารือเกี่ยวกับศูนย์โลจิสติกส์ภายในประเทศ

กระทรวงโยธาธิการและการขนส่ง (MPWT) กำลังหารือเกี่ยวกับร่างกรอบข้อตกลงของกัมพูชาสำหรับการพัฒนาศูนย์โลจิสติกส์ภายในประเทศ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวง MPWT กล่าวว่า Phnom Penh Logistics Complex (PPLC) เป็นศูนย์กลางที่มีศักยภาพในการส่งเสริมภาคการขนส่งของกัมพูชาให้มีประสิทธิภาพและสามารถแข่งขันกับประเทศต่างๆในภูมิภาคและทั่วโลกได้ ทั้งในด้านต้นทุนและบริการ ซึ่งจะส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจของกัมพูชาให้บรรลุวิสัยทัศน์ของรัฐบาลในการพัฒนาประเทศสู่ประเทศที่มีรายได้ปานกลางภายในปี 2030 และเป็นประเทศที่มีรายได้สูงภายในปี 2050 โดยทำงานทำงานอย่างใกล้ชิดกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและบริษัทเพื่อให้แน่ใจว่าโครงการจะดำเนินไปอย่างราบรื่นตามกำหนดการที่วางไว้ ซึ่งประธานสมาคมโลจิสติกส์แห่งกัมพูชา (CLA) กล่าวว่าความท้าทายสำหรับภาคการขนส่งของกัมพูชาคือการขาดการเชื่อมต่อทางถนน ส่งผลให้มีค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น ใช้เวลามากขึ้น รวมไปถึงค่าธรรมเนียมที่ไม่เป็นทางการในการขนส่งสินค้าภายในประเทศ โดยมองว่าโครงสร้างพื้นฐานด้านโลจิสติกส์ของกัมพูชาถือเป็นอุปสรรคต่อการค้ามานานควรได้รับการปรับปรุงแก้ไข

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50765766/logistics-centre-under-discussion/

ผลกระทบของ COVID-19 สู่การหยุดชะงักทางเศรษฐกิจของกัมพูชา

ผู้ประกอบการรายย่อย, ขนาดเล็กและขนาดกลาง (MSMEs) กำลังเผชิญกับการหยุดชะงักของการดำเนินกิจการและการหยุดชะงักของยอดขายรวมถึงการบริการที่ลดลงอันเป็นผลมาจาก COVID-19 โดย MSMEs ถือเป็นตัวขับเคลื่อนที่สำคัญของการเติบโตและการพัฒนาทางเศรษฐกิจมาอย่างยาวนานในกัมพูชา ซึ่งในกัมพูชา MSMEs ถูกระบุว่ามีบทบาทสำคัญในการสร้างงาน การสร้างรายได้ ให้กับประชากรที่อยู่ในช่วงผู้มีรายได้น้อย โดยเฉพาะ MSMEs ในกัมพูชามีสัดส่วนมากถึงร้อยละ 70 ของการจ้างงานทั้งหมด และมีสัดส่วนมากถึงร้อยละ 58 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ซึ่ง Angkor Research and Consulting. ได้เปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมโดยร่วมมือกับ Future Forum เพื่อทำการศึกษาผลกระทบทางเศรษฐกิจในปีนี้ โดยข้อมูลที่พบในการศึกษาชี้ให้เห็นว่ารายได้สุทธิเฉลี่ยของผู้ประกอบการในครัวเรือนลดลงร้อยละ 56 ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน ซึ่งในระดับจังหวัดผลสำรวจระบุว่ากรุงพนมเปญและกัมปงสปือได้รับผลกระทบเชิงลบมากที่สุดระหว่างเดือนมกราคมถึงเมษายน ในขณะที่กำปอตได้รับผลกระทบน้อยที่สุด ทั้งจากการขนส่งที่แย่ลงสู่การท่องเที่ยวที่ทรุดตัวอย่างหนัก

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50765790/economic-disruption-of-covid-19/

ส่งออก ส.ค.ฟื้นติดลบแค่ 7.94% มูลค่าทะลุ 2 หมื่นล้านเหรียญในรอบ 5 เดือน

“พาณิชย์” เผยการส่งออกเดือน ส.ค. 63 ฟื้นตัวต่อเนื่อง มูลค่าเกิน 2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ในรอบ 5 เดือนอัตราการขยายตัวติดลบเหลือ 7.94% ส่วนยอดรวม 8 เดือนลบเหลือ 7.75% คาดแนวโน้มยังเป็นขาขึ้นลักษณะเหมือนเครื่องหมายถูก มั่นใจทั้งปีลบไม่เกิน 2 หลัก น่าจะลบ 5% ถึงลบ 8% โดย น.ส.พิมพ์ชนก วอนขอพร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยว่า การส่งออกของไทยในเดือน ส.ค. 2563 มีมูลค่า 20,212.3 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 7.94% ซึ่งถือเป็นตัวเลขที่น่าพอใจ ทั้งในแง่มูลค่าที่กลับมาส่งออกเกิน 2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐในรอบ 5 เดือนนับจากเดือน เม.ย. 2563 และการขยายตัวติดลบน้อยลง จากที่เคยลบสูงสุดถึง 23.17% ในเดือน มิ.ย. 2563 ถือว่าพ้นจุดต่ำสุดแล้ว ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 15,863.0 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 19.68% ทำให้เกินดุลการค้ามูลค่า 4,349.4 ล้านเหรียญสหรัฐ และยอดรวม 8 เดือนปี 2563 (ม.ค.-ส.ค.) มีมูลค่า 153,374.8 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 7.75% นำเข้ามูลค่า 134,981.2 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 15.31% เกินดุลการค้ามูลค่า 18,393.6 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนในต่างประเทศก็มีการส่งออกที่ลดลง เช่น ญี่ปุ่น ลด 16.6% สหภาพยุโรป 15 ประเทศ ลด 16.9% อาเซียน 5 ประเทศ ลด 16.5% CLMV ลด 9.3% เป็นต้น ทั้งนี้ มองว่าการส่งออกของไทยทั้งปีจะไม่ติดลบในระดับ 2 หลักอย่างที่หลายๆ ฝ่ายได้ประเมินเอาไว้ น่าจะติดลบ 5% ถึงลบ 8% โดยการส่งออกลบ 5% ต้องส่งออกให้ได้เดือนละ 20,145 ล้านเหรียญสหรัฐ และลบ 8% ต้องส่งออกให้ได้เดือนละ 18,298 ล้านเหรียญสหรัฐ

ที่มา : https://mgronline.com/business/detail/9630000097477